Connection Information

To perform the requested action, WordPress needs to access your web server. Please enter your FTP credentials to proceed. If you do not remember your credentials, you should contact your web host.

Connection Type

“เงินเฟ้อ” คืออะไร? เมื่อไหร่คือเวลาที่คุณต้องกังวลมากที่สุด! – The Gen C Blog

“เงินเฟ้อ” คืออะไร? เมื่อไหร่คือเวลาที่คุณต้องกังวลมากที่สุด!

ช่วงนี้เรามักได้ยินคำว่า “เงินเฟ้อ” อยู่บ่อยครั้ง มีนักวิชาการหรือนักวิเคราะห์เศรษฐกิจออกมาพูดถึงผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อเป็นจำนวนมาก แต่เจ้าเงินเฟ้อมันคืออะไร แล้วมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราหรือไม่อย่างไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับภาวะเงินเฟ้อและผลกระทบของเงินเฟ้อกับชีวิตประจำวันของเรากัน

ทำความรู้จักกับเงินเฟ้อและเงินฝืด คืออะไร

เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่สินค้าและบริการมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีปริมาณหรือคุณค่าเท่าเดิม นั่นหมายความว่า เมื่อเราใช้เงินเท่าเดิมในการซื้อสินค้าหรือบริการ เราจะได้สินค้าและบริการที่มีปริมาณลดลง เรียกง่าย ๆ ว่าเงินของเรามีมูลค่าที่ลดลงนั้นเอง ซึ่งสาเหตุของเงินเฟ้อมี 2 สาเหตุหลัก คือ

1.ประชาชนมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการที่สูงขึ้น (Demand-Pull Inflation)

การที่ความต้องการของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นจะไม่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้ หากสินค้าและบริการดังกล่าวมีปริมาณที่เพียงพอ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่สินค้าและบริการมีปริมาณน้อยลงหรือคงที่ แต่ความต้องการของประชาชนมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ขายต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้น ซึ่งการเกิดภาวะเงินเฟ้อแบบนี้ส่วนมากจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือการพัฒนาโครงสร้างของสังคมและการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้มีการความต้องการสินค้าและบริการบางอย่างเพิ่มขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ

2.ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost-Push Inflation)

ภาวะที่ผู้ผลิตมีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่สูงขึ้นจนไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนนี้ได้ จึงต้องทำการขึ้นราคาสินค้าเพื่อให้เหมาะสมกับราคาต้นทุนที่ใช้ในการผลิต ซึ่งต้นทุนสินค้าที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่พบได้คือ  การรับอัตราค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น การปรับอัตราค่าขนส่งสินค้าเนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่ม วิกฤตการณ์ทางธรรมชาติทำให้วัตถุดิบในการผลิตมีราคาเพิ่มสูงขึ้น

จะเห็นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อมีโอกาสเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนต้องใช้เงินมากกว่าเดิมในการซื้อสินค้าและบริการจำนวนเท่าเดิม ทำให้ค่าครองชีพมีมูลค่าที่สูงขึ้นนั่นเอง

เงินฝืด (Deflation) คือ ภาวะที่สินค้าและบริการมีราคาหรือความต้องการที่ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากราคาของสินค้าและบริการมีปริมาณหรือมูลค่าที่สูงขึ้นและเงินในกระเป๋าของประชาชนมีมูลค่าลดลงจากภาวะเงินเฟ้อนั่นเอง ซึ่งสาเหตุของภาวะเงินฝืดเกิดจาก

3.ความผิดพลาดของนโยบายการเงินและการคลัง

การดำเนินการที่ผิดพลาดของนโยบายทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้สถาบันการเงินมีปัญหาด้านการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าและมีการจัดเก็บภาษีจากประชาชนมากเกินไป ทำให้ประชาชนมีเงินเหลือใช้จ่ายน้อย รวมถึงการที่รัฐบาลพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ไม่เพียงพอกับต้องการของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น

4.การลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน

รวมถึงการปรับลดภาษีของรัฐบาลที่ส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนต่อระบบเศรษฐกิจไม่เพียงพอ รวมถึงประชาชนมีอัตราการออมเงินลดน้อยลง เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้เงินในระบบของสถาบันการเงินไม่เพียงพอต่อการหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจนั่นเอง

5.ลงทุนออกนอกประเทศมากเกินไป

การสนับสนุนให้มีการลงทุนออกนอกประเทศมากเกินไป ทำให้เงินทุนหมุนเวียนภายในประเทศลดลงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่องนานเกินไป ย่อมทำให้มีการใช้เงินน้อยลง การลงทุนลดลง ความต้องการสินค้าและบริการลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืดตามมาได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะเงินฝืดจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อก่อน

ข้อดีข้อเสียของภาวะเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงเวลา ซึ่งบางครั้งเราอาจไม่รับรู้อย่างชัดเจนถึงภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น เพราะภาวะนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเราได้รับประโยชน์ก็จะเป็นข้อดี แต่ถ้าเราได้รับความเสียหายย่อมถือเป็นข้อเสีย ซึ่งข้อดีและข้อเสียของภาวะเงินเฟ้อมีดังนี้

1.ข้อดี

สำหรับข้อดีของเงินเฟ้อ คือ การส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจ เพราะว่าเจ้าของธุรกิจสามารถขายสินค้าและบริการได้ในราคาที่สูงขึ้น จึงมีอัตราการขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอัตราการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น นั่นหมายความว่า ภาวะเงินเฟ้ออัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนมีงานทำมากขึ้น มีเงินรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการหมุนเวียนของเงินในระบบเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง

2.ข้อเสียของเงินเฟ้อ  

ถึงแม้ว่าภาวะเงินเฟ้อจะมีด้านดีอยู่ แต่การปล่อยให้เงินเฟ้อไปตลอดจะไม่ส่งผลดีแน่นอน เพราะหากเงินเฟ้อถึงจุดที่เรียกว่า “Hyper Inflation” หรือการที่เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหรือพุ่งสูงขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น และส่งผลให้ผู้ซื้อทำการซื้อสินค้าได้น้อยลง แบบนี้ก็จะทำให้ผู้ผลิตสามารถขายสินค้าได้น้อยลง จึงมีรายได้ลดลง ทำให้อัตราการผลิตลดลง แบบนี้ย่อมส่งผลให้มีการลดจำนวนพนักงานหรือมีการเลิกจ้างงานเพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งภาวะ Hyper Inflation จะมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “ภาวะเงินฝืด” หรือภาวะที่ผู้คนมีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง มีการประหยัดเพิ่มขึ้น ทำให้เจ้าของกิจการขายสินค้าได้น้อยลงและบางรายอาจต้องปิดกิจการไปเลยก็มี

ภาวะเงินเฟ้อมีทั้งผลกระทบด้านดีและด้านไม่ดี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ หากอยู่ในระดับที่เหมาะแล้ว ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้นได้

ผลกระทบของเงินเฟ้อในระดับต่าง ๆ

ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบให้กับทุกระดับที่อยู่รวมกัน เพราะการดำรงอยู่ของประเทศมีองค์ประกอบหลายระดับ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1.ผลกระทบต่อประชาชน

ผลกระทบแรกที่จะกล่าวถึงก็คือ ผลกระทบต่อประชาชน ซึ่งเป็นคนส่วนมากที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเงินเฟ้อ โดยกระทบที่เห็นได้ชัดเจน คือ ราคาสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันนั้นมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และผลกระทบจะยิ่งหนักขึ้น หากรายได้ที่ได้รับมีค่าเท่าเดิม แบบนี้จะทำให้เงินออมต่อครอบครัวลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้นอัตราเงินเฟ้อยังส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยอีกด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจะมีมูลค่าที่น้อยลงนั่นเอง

2.ผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินค้าและบริการให้กับประชาชนย่อมได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการที่ประชาชนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เพราะราคาสินค้าและบริการมีราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดขายน้อยลง ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจหลายรายมียอดขายที่น้อยลงจนต้องลดปริมาณการผลิตและพนักงานลง เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่ต้องแบกรับหรือรุนแรงที่สุดก็คือต้องปิดกิจการทิ้งไป ทำให้ประชาชนตกงาน ไม่มีเงินรายได้นั่นเอง

3.ผลกระทบต่อชาติ

อัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจในช่วงเงินเฟ้อจะมีอัตราที่น้อยจนบางครั้งถึงขั้นติดลบกันเลยทีเดียว ดังนั้นหากเกิดภาวะเงินเฟ้อต่อเนื่องนาน ๆ จะทำให้ชาติขาดสภาพคล่องทางการเงิน เกิดภาวะฟองสบู่และภาระหนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น ทำให้ประเทศต้องแบกรับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านอสังหาริมทรัพย์ที่จะมีราคาที่สูงขึ้นเกินความเป็นจริง ถึงแม้จะฟังดูเหมือนเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ แต่สำหรับคนที่ทำการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรจะมีความเสี่ยงสูงมาก เพราะเมื่อราคาสูงขึ้นความต้องการในการซื้อย่อมลดลงนั่นเอง

แนวทางการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ

ผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดการภาวะเงินเฟ้อของประเทศไทยคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงพาณิชย์ ธปท. ซึ่งทั้งสองหน่วยงานนี้จะทำงานประสานกันเพื่อวางแผนนโยบายการเงินและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลและรักษาอัตราเงินเฟ้อมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

  • การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงิน (Reserve Requirement)
  • การทำธุรกรรมปรับสภาพคล่องผ่านการตลาดการเงิน (Open Market Operations)
  • หน้าต่างปรับสภาพคล่อง ณ สิ้นวัน (Standing Facilities)

ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการเงินจะทำการประชุม 8 ครั้งต่อปีหรือประชุมกันทุก ๆ 6-8 สัปดาห์ เพื่อทำการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันของสภาวะเงินที่เกิดขึ้น

ภาวะเงินเฟ้อที่ต้องกังวล

อย่างที่รู้กันว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งหากอยู่ในระดับที่เหมาะสม ภาวะเงินเฟ้อนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการเติบโตมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าภาวะนี้เกิดมากเกินไปจึงจะสร้างความเสียหายและผลกระทบต่อระบบทั้งหมด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องระวัง คือ

  • อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในภาวะติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาดังกล่าว
  • อัตราเงินเฟ้อติดลบแบบกระจายตัวไปในหมวดสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทำให้เกิดผลกระทบในหลายหมวดหมู่ธุรกิจ
  • แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว (ปกติดูที่ระยะ 5 ปี) มีอัตราต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ
  • อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะติดลบ รวมถึงอัตราการว่างงานของแรงงานมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราการจ้างงานที่ลดลง

หากภาวะเงินเฟ้อเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แสดงความภาวะนี้เริ่มส่งผลกระทบอย่างมาก สำหรับประชาชนอาจจะสังเกตเห็นได้ชัดจากเงินรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แม้จะมีรายได้เท่าเดิมก็ตาม หรือมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น หากคุณอยู่ในสภาวะแบบนี้แสดงว่าคุณจะต้องเริ่มวางแผนและกังวลกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นได้แล้ว

การวางแผนรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ

เมื่อเรารู้แล้วว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นภาวะที่ส่งผลกระทบกับตัวเราและครอบครัวได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรเตรียมวางแผนรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไว้ก่อน เพื่อที่เราจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งขั้นตอนการเตรียมรับมือมีดังนี้

1.ออมเงิน

การออมเงินเป็นการเตรียมเงินสำรองสำหรับชีวิตที่ดีที่สุด เพราะหากเกิดภาวะเงินเฟ้อแล้ว สินค้าและบริการมีราคาที่สูงขึ้น หากเรามีเงินออมแสดงว่าเราจะมีเงินสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยไม่เป็นหนี้

2.วางแผนการเงิน

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ชีวิตมีความมั่นคง เพราะเราจะรู้ว่าเงินที่มีอยู่จะต้องใช้จ่ายส่วนใดบ้าง และทำให้จัดสรรชีวิตให้เป็นระบบได้

3.หาแหล่งรายได้เพิ่ม

แหล่งรายได้ไม่ควรมีเพียงอย่างเดียว เพื่อความมั่นคงของชีวิตควรมีแหล่งรายได้อย่างน้อย 2-3 ช่องทาง เพื่อเหตุฉุกเฉินหากช่องทางใดช่องทางหนึ่งหายไป เรายังมีรายได้จากช่องทางหนึ่งมาสำรองอยู่ ดังนั้นคุณควรหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองด้วย

สำหรับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันยังไม่อยู่ในระดับที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตของใครหลายคน แต่ทางที่ดีทุกคนควรเตรียมความพร้อมด้วยการวางแผนการเงิน เก็บออมและหารายได้เสริม เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อย่อมดีกว่าได้รับผลกระทบแล้วค่อยทำการแก้ไขย่อมดีที่สุด

Related Posts

Leave a Comment

Scroll to Top