กรุงเทพมหานคร เชื่อม “รถ เรือ ราง”

กรุงเทพมหานคร เชื่อม “รถ เรือ ราง”

Article by Terrabkk

กรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไทย คือ ศูนย์กลางการค้า การลงทุน ของหน่วยธุรกิจทั้งระดับเล็ก กลาง ใหญ่ กรุงเทพฯ มีความพร้อมสูงสุดในด้านโครงข่ายคมนาคมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งระบบขนส่ง “รถ เรือ ราง” การเชื่อมโยงการเดินทางก่อเกิดประโยชน์สูงสุดทั้ง ความสะดวก รวดเร็ว และการบริหารต้นทุนการขนส่ง

เราขอพาท่านมาทำความรู้จักกับ แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของกรุงเทพฯ ตามนโยบายของภาครัฐ ที่มีมากกว่า “รถไฟฟ้า BTS และ MRT” แล้วท่านจะรักกรุงเทพฯ “I LOVE BANGKOK” มากยิ่งขึ้น โครงข่ายการคมนาคมของแต่ละโครงการจะเป็นอย่างไร จุดไหนเป็นบริเวณที่มีความน่าสนใจ? อย่างไร? มีรายละเอียดดังนี้

รถหรือทางถนน

สำหรับการคมนาคมทางถนนนั้นมีด้วยกันหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น ทางถนนปกติ หรือไม่ก็ทางด่วน โดยทางด่วนในกรุงเทพมหานครมีด้วยกัน 5 สาย แต่ละสายสามารถเชื่อมเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพมหานครได้ทั้งหมด ทำให้การคมนาคมระหว่าง คนที่อยู่นอกเมืองแล้วต้องการจะเข้าเมือง กับ คนที่อยู่ในเมืองจะออกนอกเมือง สามารถทำได้อย่างสะดวกสบาย ประหยัดเวลา และสามารถใช้เป็นทางเลี่ยงได้ในช่วงรถติด โดยทางด่วนในกรุงเทพมหานครมีดังต่อไปนี้

 

  • ทางพิเศษมหานคร (ระบบทางด่วนขั้นที่ 1) ช่วยลดปริมาณการจราจรที่คับคั่งบนถนนสายหลัก รวมทั้งช่วยให้การขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือคลองเตยกับภาคต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว รวมระยะทางทั้งสิ้น1 กิโลเมตร มีด้วยกันทั้งหมด 3 เส้นทางได้แก่
    • สายดินแดง – ท่าเรือ ปลายถนนวิภาวดี-รังสิต มุ่งไปทางทิศใต้ ถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ เชื่อมต่อกับทางพิเศษสายดาวคะนอง – ท่าเรือ
    • สายบางนา – ท่าเรือ แนวสายทางเริ่มจากปลายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ทางแยกต่างระดับบางนาไปถึงทางแยกต่างระดับท่าเรือ
    • ทางแยกต่างระดับท่าเรือ แนวสายทางเริ่มจากทางแยกต่างระดับท่าเรือ สิ้นสุดที่ถนนพระราม 2

 

  • ทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) เป็นทางพิเศษที่แบ่งเบาการจราจรบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร มีระยะทางรวม4 กิโลเมตร ผ่านถนนศรีนครินทร์ พระราม 9 รัชดาภิเษก มักกะสัน ศรีอยุธยา พญาไท ถนนประชาชื่น ถนนแจ้งวัฒนะ

 

  • ทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนรามอินทรา อาจณรงค์) เป็นเส้นทางที่ช่วยแบ่งเบาการจราจรบนถนนรามอินทรา และทางพิเศษเฉลิมมหานคร ระยะทางรวม 2 กิโลเมตร

 

  • ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนบางนา – ชลบุรี) มีจุดเริ่มต้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี ระยะทางทั้งสิ้น 55 กิโลเมตร

 

  • ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลล์เวย์) มีแนวสายทางเริ่มจากบริเวณเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น10 กิโลเมตร

 

  • ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอินปากเกร็ด) หรือ ทางด่วน 2 (ส่วนนอกเมือง) เป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร เริ่มต้นที่ปลายทางพิเศษศรีรัช ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด ผ่านถนนเชียงราก เชื่อมต่อกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สิ้นสุดปลายทางที่ถนนกาญจนาภิเษก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

แนวทางด่วนสายหลักของกรุงเทพฯ

 

66C62D1-2B45-496D-BC60-8B170D7CC9C1

เรือหรือทางน้ำ

สำหรับคนที่สัญจรทางบกบ่อยๆ อาจจะลืมนึกไปว่ายังมีทางคมนาคมอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสะดวกรวดเร็วไม่แพ้ทางรางหรือทางถนน และยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาประเทศไหนจะเทียบเคียงได้ยากนั่นก็คือ การสัญจรผ่านทางระบบเรือ ในแม่น้ำเจ้าพระยา จากเอกลักษณ์ของกรุงเทพมหานครที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านทำให้แม่น้ำเจ้าพระยาเปรียบได้กับเป็นทางด่วนอีกหนึ่งสายที่ไม่มีการจราจรติดขัดเหมือนกับบนถนนปกติ และสามารถช่วยร่นระยะเวลาในการเดินทางได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแม่น้ำเจ้าพระยายังมีเสน่ห์ในเรื่องของศิลปวัฒนธรรมที่รายล้อมอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นพระบรมมหาราชวัง เจดีย์โบราณ วัดวาอาราม เป็นต้น สถาปัตยกรรมโบราณเหล่านี้ถือเป็น Landmark สำคัญของกรุงเทพมหานครและสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ปีละหลายล้านคน

สำหรับเส้นทางเดินเรือเจ้าพระยานั้นมีตั้งแต่ปากเกร็ด เกียกกาย ท่าช้าง สะพานพุทธ ไปจนถึงตากสิน และสุดที่ราษฎร์บูรณะ โดยมีศูนย์การการเชื่อมต่อของเรือเจ้าพระยาทุกสายอยู่ที่สถานีกลางตากสิน

แนวการสัญจรทางน้ำของเรือธงสีฟ้า-ส้ม-เหลือง-เขียว ซึ่งมีจุดจอด ณ ท่าเรือที่แตกต่างกัน ราคาของเรือแต่ละสีก็แตกต่างกันออกไป โดยมีท่าเรือสาทร (สะพานตากสิน เป็นจุดเชื่อมต่อของเรือธงสีต่างๆ)
แนวการสัญจรทางน้ำของเรือธงสีฟ้า-ส้ม-เหลือง-เขียว ซึ่งมีจุดจอด ณ ท่าเรือที่แตกต่างกัน ราคาของเรือแต่ละสีก็แตกต่างกันออกไป โดยมีท่าเรือสาทร (สะพานตากสิน เป็นจุดเชื่อมต่อของเรือธงสีต่างๆ)ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.chaophrayaexpressboat.com/th/services/

 

 

เส้นทางเดินเรือ ของเรือด่วนเจ้าพระยา นนทบุรี - กรุงเทพฯ - สมุทรปราการ

เส้นทางเดินเรือ ของเรือด่วนเจ้าพระยา นนทบุรี – กรุงเทพฯ – สมุทรปราการ

 

 

เรือด่วนเจ้าพระยา (ธงส้ม)
เรือด่วนเจ้าพระยา (ธงส้ม)

 

รถไฟฟ้าหรือระบบราง

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในบทความก่อนหน้าเกี่ยวกับ 13 เส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้า สำหรับระบบรางในตัวเมืองกรุงเทพมหานครทางภาครัฐมีแผนการพัฒนาโดยมุ่งเน้นไปที่ส่วนนี้เป็นหลักอยู่แล้ว เนื่องจากต้นทุนการขนส่งที่ค่อนข้างถูกสามารถเข้าถึงถนนสายสำคัญๆ ได้ทั่วทั้งเมือง และไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรจรติดขัด ทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถูกทุ่มงบมาที่ส่วนของรถไฟฟ้าเป็นหลัก และช่วยสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่รอคอยใช้รถไฟฟ้าได้ตลอดเวลาและเหล่านักพัฒนาที่พยายามจะสร้างอสังหาริมทรัพย์ให้ล้อไปกับการพัฒนาด้านคมนาคมที่สะดวกสบาย โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมา ครม.อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าไปแล้วหลายสายด้วยกัน

 

เมื่อเราจับทั้ง 3 ระบบการคมนาคมรวมเข้าด้วยกัน เราจะเห็นการเชื่อมโยงของโครงการระบบคมนาคมทั้ง 3 ทางเราจึงรวบรวม Node การเชื่อมต่อระหว่าง ระบบรางกับระบบขนส่งทางน้ำ กับ ระบบรางกับทางด่วน จุดไหนบ้าง มีดังต่อไปนี้

  • ระบบราง ทางด่วน และระบบขนส่งทางน้ำ (ครบทุกประเภท) คือ บริเวณทำเลสะพานตากสิน (BTS ตากสิน – ท่าเรือตากสิน – ทางพิเศษศรีรัช)
  • ระบบรางกับทางด่วน ได้แก่ ทำเล
    • ทำเลบางซื่อ (MRT บางซื่อ – ทางพิเศษศรีรัช)
    • ทำเลพหลโยธิน (MRT พหลโยธิน – ทางยกระดับอุตราภิมุข)
    • ทำเลพระราม 9 – เพชรบุรี (MRT พระราม9, เพชรบุรี – ทางพิเศษศรีรัช)
    • ทำเลมักกะสัน (Airport Link มักกะสัน – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร)
    • ทำเลนานา – เพลินจิต (ฺBTS นานา, เพลินจิต – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร)
    • ทำเลพญาไท (BTS พญาไท – ทางพิเศษศรีรัช)
    • ทำเลหัวลำโพง (MRT หัวลำโพง – ทางพิเศษศรีรัช)
    • ทำเลคลองเตย – พระราม 4 (ฺMRT คลองเตย – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร)
    • ทำเลอ่อนนุช (BTS พระโขนง, อ่อนนุช – ทางพิเศษฉลองรัช)
    • ทำเลบางนา (BTS อุดมสุข – ทางพิเศษเฉลิมมหานคร)
    • ทำเลหัวหมาก (Airport Link หัวหมาก – ทางพิเศษศรีรัช)

MG_2536 TS_taksin

ทำเลทั้งหมดที่นำเสนอข้างต้น ถือเป็นทำเลที่ใกล้ระบบคมนาคมขนส่งของกรุงเทพและมีข้อได้เปรียบกว่าทำเลอื่นๆ นอกจากนั้นถ้าหากมองไปในอนาคต โครงข่ายรถไฟจะครอบคลุมมากกว่าปัจจุบันหลายเท่า ระบบคมนาคมของกรุงเทพฯ จะก้าวไปอีกระดับหนึ่งเทียบเท่าประเทศชั้นนำของโลกหลายๆ ประเทศที่มีระบบรถไฟฟ้ารวมถึงขนส่งมวลชลของประเทศที่มีประสิทธิภาพมากๆ และสิ่งที่ตามมาก็คือ การกระจายตัวของเมืองออกไปรอบนอกมากขึ้นไม่ต้องกระจุกตัวเฉพาะย่านใจกลางเมืองเท่านั้นอย่างในปัจจุบัน

ติดตามบทความอัพเดตสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog #Anandamasstransit

สมัครสมาชิกเพื่อติดตามและรับข่าวสารหรือร่วมกิจกรรมดีๆกับเราทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog ได้ที่ http://bit.ly/2aEMxIJ

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top