คลายข้อสงสัย! อุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของไทย

คลายข้อสงสัย! อุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของไทย

ขณะที่รถไฟฟ้าหลายสายกำลังดำเนินการสร้าง เรากลับรู้สึกสะดุดกับ 1 โครงการใหญ่ที่ต้องก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาตามเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพงถึงบางแค มีกำหนดเปิดให้บริการราวปลาย ปี 2562 แต่เขาจะทำกันอย่างไร สร้างแบบไหน วันนี้เราจะพาชาว Gen C Blog ไปคลายข้อสงสัยกันครับ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

อุโมงค์นี้จะเชื่อมระหว่างสถานีสนามไชยฝั่งพระนครไปสู่สถานีอิสรภาพที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีมีความยาวทั้งสิ้น 1.254 เมตร และติดตั้งปล่องระบายอากาศระหว่างทาง ที่สามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้

โดยการขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้ามีความลึกลงไปจากระดับผิวแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 34 เมตร จุดกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ความลึก 30.86 เมตร

02

ทำไมเราถึงเจาะอุโมงค์ลงไปได้

เพราะตัวอุโมงค์ที่เจาะจะอยู่ในชั้นดินใต้แม่น้ำ ความลึกจากใต้ท้องน้ำถึงหลังอุโมงค์ 9.71 เมตร ที่จุดกึ่งกลางแม่น้ำ ซึ่งแน่นอนว่าอุโมงค์ไม่ได้อยู่ในน้ำหรือใกล้กับแม่น้ำ แต่กลับทะลุผ่านชั้นดินด้านล่างแม่น้ำลงไปอีก ฉะนั้นวางใจเรื่องความปลอดภัยในการอพยพผู้โดยสารออกจากอุโมงค์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้เลย เพราะเมื่อเกิดกรณีเช่นนั้น จะสามารถอพยพผู้โดยสารไปที่ สถานีสนามไชย ที่ฝั่งพระนคร และปล่องระบายอากาศที่ฝั่งธนบุรี หากนับจากจุดกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาไปที่สถานีสนามไชย ระยะทาง 323.92 เมตร และจากจุดกึ่งกลางไปที่ปล่องระบายอากาศระยะทาง 320.75 เมตร ซึ่งอยู่ในมาตรฐานความปลอดภัย โดยการขุดเจาะจะใช้หัวเจาะอุโมงค์ TBM

รู้จักหัวเจาะอุโมงค์ Tunnel Boring Machine (TBM)

หัวเจาะอุโมงค์ TBM มีประสิทธิภาพในการขุดเจาะเฉลี่ยวันละ 14 เมตร โดยจะทำการขุดเจาะด้วยระบบ Earth Pressure Balance ซึ่งเป็นระบบที่คงแรงดันดินขณะขุดเจาะไว้เพื่อป้องกันความเสียหายจากการทรุดตัวของอาคารรอบข้างได้เป็นอย่างดี สามารถประกอบชิ้นส่วนอุโมงค์ได้ภายในส่วนท้ายหัวเจาะและเคลื่อนที่ด้วยแรงถีบของ Hydraulic Jack ถีบอุโมงค์ท้ายหัวเจาะ

สถานีสนามไชย 1 ในสถานีที่สวยที่สุด

นอกจากสถานีนี้จะมีเส้นทางพาดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา การออกแบบภายในยังสะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว

เมื่อแล้วเสร็จเส้นทางรถไฟฟ้า ได้วางแผนเปิดเดินรถเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เปิดเดินรถสายใต้ (Southern Line) ช่วงหัวลำโพงหลักสอง ภายในวันที่ 1 กันยายน 2561 และระยะที่ 2 เปิดเดินรถสายเหนือ (Northern Line) ช่วงเตาปูนท่าพระ ภายในวันที่ 1 เมษายน 2562 คือทั้งโครงการเปิดให้บริการตลอดสาย ทุกสถานีเปิดให้ประชาชนเข้าใช้บริการรถไฟฟ้าได้ ยกเว้นสถานีแยกไฟฉาย เพราะจะแล้วเสร็จภายหลังในปีเดียวกัน

อดใจรออีก 2 ปี ในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของไทย เมื่อแล้วเสร็จนอกจากความสะดวกสบายที่มากขึ้น ในสถานียังถือเป็นพื้นที่ unseen ที่ควรแวะมาเก็บภาพความงดงามไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วยครับ

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top