ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย คืออะไร ใครได้ใช้บ้าง?

นโยบาย ค่าโดยสาร 20 บาท ถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญจาก พรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร นายกคนที่ 31 โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชน และเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะ รถไฟฟ้า ซึ่งเป็นการเดินทางที่ได้รับความนิยมสูงอย่างมากในเมือง 

ซึ่งถือเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานและอาศัยในเมืองจำนวนมาก ดังนั้นวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความเข้าใจว่า นโยบายนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ค่าโดยสาร 20 บาท หมายความว่าอะไร และจะเริ่มต้นที่สายไหนบ้าง รวมถึงผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการดำเนินนโยบายนี้เป็นอย่างไรมาดูกัน 

คำว่า ค่าโดยสาร 20 บาท ตามนโยบายนี้ หมายถึงการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า ‘ตลอดสาย’ โดยไม่เกี่ยงระยะทาง ซึ่งต่างจากปัจจุบันที่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามระยะการเดินทาง ตัวอย่างเช่น หากคุณเดินทางจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทาง ไม่ว่าจะไกลแค่ไหน ราคาค่าโดยสารก็จะอยู่ที่ 20 บาทตลอดสาย เท่านั้น นโยบายนี้ช่วยให้ประชาชนวางแผนการเดินทางได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนสถานีหรือระยะทาง

การดำเนินการนโยบายอาจจะเริ่มนำร่องจาก 2 สายหลัก เพื่อทดสอบและสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบาย ค่าโดยสาร 20 บาท จะเริ่มต้นจาก 2 เส้นทางหลัก ได้แก่

รถไฟฟ้าสายสีม่วง

  • เส้นทาง: คลองบางไผ่ – เตาปูน
  • จำนวนสถานี: 16 สถานี
  • เนื่องจาก เป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินที่เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางได้

รถไฟฟ้าสายสีแดง

  • เส้นทาง: บางซื่อ – รังสิต (สายสีแดงเข้ม) และ ตลิ่งชัน – บางซื่อ (สายสีแดงอ่อน)
  • จำนวนสถานี: 13 สถานี (สายเข้ม) และ 6 สถานี (สายอ่อน)
  • เป็นเส้นทางที่ช่วยเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมาะแก่การมุ่งลดภาระค่าเดินทางของประชาชนที่เดินทางเข้าเมืองเป็นประจำ

ซึ่งในอนาคตหากดำเนินการมีผลลัพธ์ที่ดี เราอาจจะเห็นการขยายผลไปสู่รถไฟฟ้าทุกเส้นทางในเมือง 

การดำเนินนโยบายค่าโดยสาร 20 บาท ไม่ได้เป็นเพียงการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายและผลลัพธ์ที่คาดหวังหลายด้าน เช่น

  • ช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน การเดินทางในราคาที่ถูกลงทำให้ประชาชนสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้มากขึ้น
  • เพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ เมื่อค่าโดยสารไม่เป็นภาระ ประชาชนจะหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น ช่วยลดปัญหาการจราจรและการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ การเดินทางที่สะดวกและประหยัดทำให้ประชาชนเข้าถึงโอกาสในการทำงานและการใช้บริการในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น
  • ลดปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน เมื่อมีการใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ส่วนตัว

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top