จัดการเงินให้ตรงอาชีพ ‘เมื่อวิถีต่างกัน’ วิธีการจัดการเงินก็ต่างกัน

ไม่มีบทเรียนไหนที่เหมาะกับทุกคน…ซึ่งคำๆ นี้อาจนิยามได้ถึง ‘บทเรียนทางการเงิน’ ด้วยเช่นกัน เพราะเราเชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนน่าจะเคยทดลองหยิบยกทฤษฎีการเงินมาใช้หลายรูปแบบ แต่บางครั้งก็ประสบความสำเร็จ บางครั้งก็ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ เพราะเหตุผลหลัก ๆ คือความแตกต่างของอาชีพ ช่วงวัย ซึ่งปัจจัยความต่างเหล่านี้ส่งผลให้ทุกคนต้องมีวิธีการวางแผนการเงินที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ‘พนักงานประจำ-พนักงานออฟฟิศ’ อาจต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ ซึ่งตรงข้ามกับอาชีพ ‘ข้าราชการ’ นั่นเอง 

และนี่เป็นเหตุผลที่วันนี้ Ananda จะขอรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการเงิน ‘แต่ละอาชีพ’ มาให้เพื่อน ๆ ได้ลองศึกษา หาวิธีจัดการเงินที่เข้ากับตัวเองมากที่สุด โดยมีหลักการสำคัญที่มาของรายได้ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวิธีการวางแผนด้วยเช่นกัน 

พนักงานออฟฟิศบริษัทเอกชน
การเป็นมนุษย์เงินเดือนแน่นอนว่าที่มาของรายได้หลัก ๆ คือ ‘เงินเดือน’ ซึ่งถือเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงพอสมควร และมีอัตราการเติบโตของรายได้ค่อนข้างสูง รวมไปถึงอาจมีโบนัสประจำปีเป็นแหล่งที่มาของรายได้อีกด้วย แต่ในทางกลับกัน ‘พนักงานออฟฟิศ’ จะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินสำรองฉุกเฉิน หรือ การเสียภาษี ซึ่งมีผลต่อสุขภาพทางการเงินได้ทันทีหากเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ดังนั้นสำหรับพนักงานออฟฟิศ หรือ มนุษย์เงินเดือน ควรเลือกวางแผนการเงินหลัก ๆ เกี่ยวกับการจัดการภาษี และ เงินสำรองฉุกเฉิน เป็นต้น 

  • จัดการรายได้ แบ่งสัดส่วนสำหรับไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เงินเก็บ และการลงทุน
  • ออมเงินฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อเข้าใช้จ่ายประจำ 6 เดือน
  • ออมในกองทุน แบ่งสัดส่วนออมเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและทำประกันบำนาญ
  • ลงทุนความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวม, กองทุน SSF, กองทุน RMF หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ทั้งนี้เรายังสามารถนำกองทุนที่เข้าข่ายมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
  • คำนวณภาษีให้ดี ประเมินรายได้และการลดหย่อน ลองคำนวณคร่าว ๆ ว่าคุณต้องเสียภาษีเพิ่มเท่าไหร่ และสะสมยอดไปจนครบกำหนด 

ข้าราชการ พนักงานรัฐฯ
อาชีพของข้าราชการเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับรายได้ประจำ หรือเรียกว่า เงินเดือน และมีความมั่นคงมากกว่าอาชีพอื่น ๆ แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าอาชีพอื่นเช่นกัน ดังนั้นการวางแผนทางการเงินของอาชีพข้าราชการจะเน้นการเพิ่มรายได้ และเพิ่มทักษะสำหรับอนาคตวัยเกษียณนั่นเอง 

  • จัดการรายได้ แบ่งสัดส่วนสำหรับไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เงินเก็บ และการลงทุน
  • หาช่องทางเพิ่มรายได้ เพิ่มเติมรายได้เพื่อสร้างความมั่นคงและสุขภาพทางการเงินที่ดี 
  • ออมเงินฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายประจำ 6 เดือน
  • จัดหาประกันชีวิต ลงทุนเผื่อคนข้างหลัง โดยสามารถเลือกแผนประกันชีวิตควบการลงทุนได้
  • ลงทุนให้หุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นการต่อยอดรายได้ และเพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ในอนาคตอีกด้วย 

ฟรีแลนซ์ทั่วไป
สำหรับอาชีพฟรีแลนซ์ ถือเป็นอาชีพที่มีรายได้ค่อนข้างไม่มั่นคง มีความเสี่ยงสูง ขึ้นอยู่กับผลงาน คอนเนคชันและการสื่อสารกับผู้จ้างงาน ทำให้เหล่าฟรีแลนซ์ต้องคำนึงถึงการ ออมเงินฉุกเฉินในระยะยาว และ วางแผนจัดการภาษี เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน

  • จัดการรายได้ แบ่งสัดส่วนสำหรับไว้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เงินเก็บ และการลงทุน
  • ออมเงินฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายประจำ 6 เดือน
  • ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นการวางแผนการลงทุนไว้เผื่ออนาคต 
  • ลงทุนพัฒนาทักษะ แบ่งเงินบางส่วนเพื่อนำไปศึกษาเกี่ยวกับอาชีพเพิ่มเติม เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง 

เจ้าของธุรกิจออนไลน์
สำหรับอาชีพเจ้าของธุรกิจออนไลน์ พ่อค้าแม่ค้าไลฟ์ขายของ มักเจอกับปัญหาทางการเงินเกี่ยวกับต้นทุน การตลาด การขึ้นลงของวัตถุดิบ ซึ่งเหล่าคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจจึงต้องเลือกวิธีการจัดการแบบ ลงทุนกระจาย และ เก็บออมเงินฉุกเฉิน 

  • จัดการรายได้ ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแยกสัดส่วนระหว่างบัญชีธุรกิจและบัญชีส่วนตัว
  • ออมเงินฉุกเฉิน ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายประจำเดือน ซึ่งต้องแบ่งไว้สำหรับธุรกิจ 6 เดือน และส่วนตัว 6 เดือน
  • กระจายเงินลงทุน กระจายทรัพย์สินไปยังการลงทุนต่าง ๆ เช่น พันธบัตร, อสังหาริมทรัพย์ หรือลงทุนกับกองทุนที่ถือครองระยะยาว
  • ลงทุนพัฒนาทักษะ แบ่งเงินบางส่วนเพื่อนำไปศึกษาเกี่ยวกับอาชีพเพิ่มเติม เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง 
  • ลงทุนประกันชีวิต วางแผนสำหรับอนาคตเผื่อคนข้างหลัง ซึ่งอาจรวมค่ารักษาพยาบาลและการลงทุนควบคู่กัน

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top