NOTE:
– จากผลการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นพบว่า การงดไม่ให้คนหนุ่มสาวเหล่านี้ไม่ให้ใช้สมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง กลุ่มคนส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 จะเริ่มแสดงออกทางร่างกายและเกิดความเครียดขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว
– จากผลการสำรวจเรื่องโรค “Phantom Vibration Syndrome” (อาการคิดไปเองว่าสมาร์ทโฟนสั่น) กับกลุ่มตัวอย่างพบว่า ร้อยละ 90 เคยคิดว่าสมาร์ทโฟนสั่นเองทั้งๆที่ไม่ได้มีคนโทรเข้ามาหรือการแจ้งเตือนใดๆ
– จากรายงานของ “มหาวิทยาลัย Michigan State” ในสหรัฐฯพบว่า ร้อยละ 80 ของกลุ่มทดลองที่เล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอนมักจะติดลมจนเลยเวลาเข้านอนจนรู้สึกนอนไม่พอในเช้าของวันต่อมา
ในยุคที่การเชื่อมต่อระหว่างซีกโลกสามารถทำได้ผ่านปลายนิ้วแบบนี้ ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็คงจะเห็นแต่ผู้คนจดจ่ออยู่กับเจ้าเครื่องสี่เหลี่ยมตรงหน้ากันอยู่ไม่น้อย จนในบางครั้งผู้คนที่อยู่ตรงหน้าอาจจะรู้สึกว่าตนเองดูไม่สำคัญมากพอที่จะทำให้เราละสายตาออกจากสมาร์ทโฟนเพื่อเงยหน้าขึ้นมาคุย
และก่อนที่การติดสมาร์ทโฟนจะทำให้เราสูญเสียความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างไปนั้น วันนี้เรามี 6 ข้อบ่งชี้ว่าคุณกำลังติดสมาร์ทโฟนมาฝากกันครับ
1.เห็นNotifications เป็นไม่ได้
หากชาว Gen-C คนไหนมีอาการ เห็น Notifications เป็นไม่ได้ จะต้องหยิบมาอ่านแล้วพิมพ์ตอบกลับไปภายในทันทีนั้น ขอบอกว่าคุณมีอาการติดสมาร์ทโฟนในเบื้องต้นแล้วล่ะครับ เพราะเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่มักจะมีสัญชาตญาณของความอยากรู้อยากเห็น แต่อาการหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาเพื่อเช็คดูว่ามีใครโพสอะไรหรือใครคุยอะไรกันบ้างทั้งวันนั้น ย่อมเกินความพอดีไปสักหน่อย
2.คิดไปเองว่ามีคนโทรเข้า
ข้อนี้เชื่อว่าหลายคนย่อมเคยเป็นที่เมื่อเวลาเอาสมาร์ทโฟนใส่กระเป๋ากางเกงหรือกระเป๋าถือนั้น ต้องเคยรู้สึกว่าได้ยินเสียงเรียกเข้าแว่วๆหรือมีการสั่นจากคนโทรเข้า โดยอาการเหล่านี้มีชื่อทางการแพทย์ว่า “Phantom Vibration Syndrome” ซึ่งเกิดจากการเสพติดอยู่กับสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆจนทำให้ระบบประสาทในการรับรู้ของร่างกายตื่นตัวผิดปกตินั่นเอง
3.กังวลเรื่องยอดไลค์
การกังวลเกี่ยวกับยอดไลค์ของรูปภาพหรือสถานะบนโซเชียลเน็ตเวิร์กที่มากเกินไปนั้นก็สื่อถึงอาการติดสมาร์ทโฟนเบื้องต้นได้เช่นเดียวกัน โดยอาการกังวลเหล่านี้มีศัพท์ทางการแพทย์ว่า Fear to miss out (Fomo) ซึ่งเป็นอาการของโรคที่กลัวถูกทิ้งหรือถูกลืมจากผู้คนรอบข้าง
4.จำอะไรไม่ค่อยได้
การจดจ่ออยู่สมาร์ทโฟนจะทำให้ประสาทสัมผัสของเราทำงานด้อยลงโดยอัติโนมัติ ดังนั้นเรามักจะไม่รู้ตัวว่ามีใครเรียกหรือใครพูดอะไรกับเราขณะที่เล่นสมาร์ทโฟน ยกตัวอย่างที่เห็นอยู่บ่อยๆก็คือเหตุการณ์บน BTS ที่มักจะมีคนเล่นสมาร์ทโฟนเพลินจนเลยสถานีที่จะลง
5.กระวนกระวายเมื่อไม่ได้จับสมาร์ทโฟน
อาการกระวนกระวายเมื่อไม่ได้จับสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่การพกสมาร์ทโฟนไปทุกที่ภายในบ้านตั้งแต่ห้องครัว ห้องน้ำ หน้าบ้านหรือแม้กระทั่งวางไว้ใต้หมอน นั่นแสดงถึงอาการติดสมาร์ทโฟนแบบสุดๆที่คุณแทบจะห่างจากเจ้าจอสี่เหลี่ยมนี้ไม่ได้เลย
6.ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
จากที่เคยมาทำงานเช้ากลับต้องมาสาย ลืมนัดหมายสำคัญเล็กๆน้อยๆที่ต้องทำในแต่ละวัน จิตใจจดจ่ออยู่กับการกดถูกใจรูปภาพในอินสตาแกรมมากกว่าการตรวจทานเอกสาร ประสิทธิภาพในการทำงานต่างๆที่ลดลงเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงการที่เราจดจ่ออยู่กับสมาร์ทโฟนจนทำให้เสียสมาธินั่นเอง
ตรงกับชาว Gen-C คนไหนบ้างครับ อย่าลืมว่าถ้าไม่อยากสูญเสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไป ควรใช้สมาร์ทโฟนและโซเชียลแต่พอดีจะดีที่สุดครับ
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: siamphone.com