ทางรอด! เมื่อเกิดอุบัติเหตุพลัดตกรางรถไฟฟ้า

ทางรอด! เมื่อเกิดอุบัติเหตุพลัดตกรางรถไฟฟ้า

NOTE:
– แอร์พอร์ตลิงก์กระแสไฟฟ้าจะอยู่เหนือหัว โดยจะจ่ายผ่านสาลี่ซึ่งเป็นคันเหล็กยันกับสายไฟฟ้าเปลือย ขบวนรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จะยกสาลี่ซึ่งเป็นคันเหล็กยันกับสายไฟฟ้าเปลือย ขบวนรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จะยกสาลี่ขึ้นติดสาย เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ระบบขับเคลื่อน จากนั้นจึงจะไหลลงรางกลับไปยังสถานีจ่ายไฟ หรือลงดินต่อไป ซึ่งการจ่ายไฟฟ้าด้วยวิธีเหนือศีรษะ จะทำให้บำรุงทางได้ง่าย โดยไม่ต้องพะวงกับการไปเหยียบกับราวจ่ายไฟฟ้าที่พื้น

ทำไมต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยเป่านกหวีดกรณีเรายืนล้ำเข้าไปในเส้นเหลืองบนสถานีรถไฟฟ้า วันนี้น่าจะตอบทุกคำถามได้ในเรื่องความปลอดภัย จากกรณีหญิงสาวคนหนึ่งพลัดตกรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีบ้านทับช้าง จนถูกรถไฟทับเสียชีวิต แม้เธอจะไม่ได้ตั้งใจเพราะเกิดอาการหน้ามืดกะทันหัน แต่ก็นำมายังเหตุการณ์เศร้าสลด ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ ได้แก่นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเดินรถไฟฟ้า บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จึงมาให้ข้อมูลถึงการปฏิบัติตัวอย่างไร หากเกิดสถานการณ์นี้ขึ้นกับตัวเรา

ข้อแรก หากผู้โดยสารที่ตกลงไปบนรางรถไฟฟ้ายังมีสติอยู่ ไม่ควรอยู่บริเวณรางที่รถไฟฟ้าวิ่งผ่าน เนื่องจากความสูงของท้องรางกับตัวรถมีพื้นที่แคบและอันตรายอย่างมาก ส่วนผู้โดยสารหากปีนขึ้นมาไม่ทัน จะสามารถหลบรถไฟฟ้าตรงส่วนไหนได้บ้างนั้น

แอร์พอร์ตลิงก์ – ให้หลบข้างใต้ชานชาลา หรือตรงกลางระหว่างทั้งสองราง บีทีเอส รถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง – ให้หลบข้างใต้ชานชาลาเพียงอย่างเดียว เพราะตรงกลางมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง

ข้อสอง หากผู้โดยสารที่ตกลงไปหมดสตินั้น ผู้ที่พบเห็นหรือเจ้าหน้าที่สามารถกดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินนี้ได้ตลอด โดยทุบและกดได้ทันที แต่โดยปกติจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอยู่ที่จุดนี้อยู่แล้ว จากนั้น จึงมีการช่วยเหลือต่อไป อย่างเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ก็กดปุ่มหยุดรถฉุกเฉินทันที
ทั้งนี้ สถานีรถไฟฟ้าแต่ละแห่งจะมีปุ่มหยุดรถฉุกเฉินเป็นกล่องสีเหลือง ติดอยู่ที่ชานชาลา ฝั่งละ 5 ตัว โดยปุ่มหยุดรถฉุกเฉินจะส่งสัญญาณไปที่ตัวขบวนรถ โดยจะไม่ให้รถเข้าสถานี หากรถอยู่ไกลก็จะเบรกและหยุด โดยที่ไม่เคลื่อนเข้าสถานีทั้งสองฝั่งไปและกลับ แต่หากรถเข้ามาใกล้สถานีแล้วก็จะกดปุ่มเบรกฉุกเฉินเท่าที่ความสามารถจะหยุดรถได้

อย่างไรก็ตาม อันตรายของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ก็คือ รถวิ่งด้วยความเร็วสูง หากเห็นคนตกลงไปการที่พลเมืองดีจะกระโดดไปช่วยในทันที ถือว่าเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากทั้งพลเมืองดีที่จะกระโดดลงไปช่วยและผู้ประสบเหตุ ดังนั้น อันดับแรกที่ควรปฏิบัติคือการหยุดรถไฟฟ้าไม่ให้เข้าสถานีก่อน

คำถามก็คือ เมื่อรถไฟฟ้าต้องการจะเบรกฉุกเฉิน ต้องใช้ระยะทางกี่เมตร?

การที่รถไฟฟ้าจะเบรกฉุกเฉินต้องใช้ระยะทางกี่เมตรนั้น ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถไฟฟ้า ซึ่งความเร็วสูงสุดของรถไฟฟ้าอยู่ที่ 160 กม.ต่อชม. ต้องใช้ระยะเบรก 800 เมตร ขณะที่โดยปกติเมื่อรถไฟฟ้าเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชานชาลา จะวิ่งด้วยความเร็วประมาณ 60 กม.ต่อชม. ซึ่งจะต้องใช้ระยะเบรก 100 กว่าเมตร ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขบวนรถอยู่ห่างจากชานชาลาไม่ถึง 100 เมตรเท่านั้น ทำให้รถมีระยะการเบรกไม่ทัน จึงเกิดเหตุน่าสลดใจขึ้นครับ

อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้โดยสารปฏิบัติตามกฎระเบียบและป้องกันตัวเองส่วนหนึ่งในการใช้งานนึ้น ลงรถไฟฟ้า ก็อาจจะไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ทว่าหากพลัดตกลงไปให้มีสติและช่วยเหลือตัวเองก่อนจะดีที่สุดครับ

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก https://www.thairath.co.th

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top