ทำความรู้จักกับบิดาแห่ง Internet of Things เขาคือคนที่ทำให้โลกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนไป

ทำความรู้จักกับบิดาแห่ง Internet of Things เขาคือคนที่ทำให้โลกของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนไป

Article by Veedvil

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าคำว่า Internet of Things นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เพราะในยุคนี้ผู้คนคุ้นเคยกับอินเตอร์เน็ตกันอยู่แล้วโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือที่อยู่ติดตัวเราตลอด แล้วที่หลายคนพูดกันว่าเจ้าอุปกรณ์ที่เป็น Internet of Things มันจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคตนั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไรกัน

จากเทคโนโลยี RFID สู่โลกของ Internet of Things

ย้อนไปเมื่อปี 1999 นาย Kevin Ashton ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT เขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายเรื่องนี้ให้กับบริษัท Procter & Gamble หรือ P&G ที่เราคุ้นเคย ซึ่งการบรรยายในครั้งนั้นเขาได้นำเสนอโครงการที่ชื่อว่า  Auto-ID Center ซึ่งต่อยอดมาจากเทคโนโลยี RFID ที่ในขณะนั้นถือเป็นมาตรฐานโลกสำหรับการจับสัญญาณเซ็นเซอร์ต่างๆ( RFID Sensors) ว่าตัวเซ็นเซอร์เหล่านั้นสามารถทำให้มันพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ผ่านระบบ Auto-ID ของเขา โดยการบรรยายให้กับ P&G ในครั้งนั้นนาย Kevin Ashton ก็ได้ใช้คำว่า Internet of Things ในสไลด์การบรรยายของเขาเป็นครั้งแรก โดย Kevin นิยามเอาไว้ตอนนั้นว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่ายๆก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกับกับระบบอินเตอร์เน็ตนั้นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเหล่านั้น

ภาพนาย Kevin Ashton

ตู้ ATM ถือเป็นอุปกรณ์ Internet of Things ชิ้นแรก

จากคำนิยามที่นาย Kevin Ashton ได้บรรยายไว้ ก็ได้มีการยกตัวอย่างเจ้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้าข่ายถือเป็น Internet of Things ได้นั้นก็พบว่าเจ้าตู้ ATM ที่เราใช้กดเงินกันอยู่ทุกวันนี้นี่แหละถือเป็น Internet of Things ชิ้นแรกของโลก เพราะมันสามารถเชื่อมต่อสื่อสารหากันได้ผ่านเครือข่ายของธนาคารและสาขาต่างๆ ซึ่งเจ้า ATM นั้นถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1974 ก่อนที่จะมีการนิยามคำว่า Internet of Things เสียด้วยซ้ำ

2-26-nov-1974-liberty-ATM-photo

ภาพการสาธิตการใช้งานตู้ ATM ของ Liberty Bank ในวันที่ 26 พฤษจิกายน ปี ค.ศ. 1974

ต่อมาหลังปี 2000 โลกมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากและมีการใช้คำว่า Smart ซึ่งในที่นี้คือ smart device, smart grid, smart home, smart network, smart intelligent transportation ต่างๆเหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นเองก็เลยมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นก็ย่อมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเช่นกันโดยอาศัยตัว Sensor ในการสื่อสารถึงกัน นั่นแปลว่านอกจาก Smart devices ต่างๆจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นได้ด้วย

ในปี 2020 จะมีรถยนต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตถึง 250,000 คัน

และเมื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กๆที่เป็น Internet of Things สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้ว ทำไม Things อย่างรถยนต์ทั้งหลายจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับเขาบ้างไม่ได้ ตัวอย่างรถยนต์ที่ว่านั้นก็คือรถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla ที่เชื่อมต่อข้อมูลของตัวรถเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและศูนย์ข้อมูลของ Tesla motor ในการอัพเดทข้อมูลสำคัญๆต่างๆให้กับตัวรถยนต์และผู้ขับขี่ หรืออย่างโครงการ Google’s Self-Driving Car รถยนต์ไร้คนขับของกูเกิลที่นำระบบอินเตอร์เน็ตเข้ามาร่วมประมวลผลในการคำนวนเส้นทางต่าง (คล้ายกับที่เราเปิด Google Maps เพื่อค้นหาเส้นทาง) โดยกูเกิลได้นำข้อมูลของรถยนต์กว่า 10,000คันไปประมวลผลในแต่ละสัปดาห์เพื่อหาวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยที่สุดให้กับรถยนต์ไร้คนขับของกูเกิล และในปัจจุบันก็มีหลายค่ายรถยนต์ก็เริ่มพัฒนารถยนต์ให้มีความสามารถในลักษณะนี้เพิ่มขึ้น และอาจจะมีการต่อยอดแนวคิดนี้ขึ้นไปอีก โดยอาจจะไปถึงขั้นที่ในอนาคตเราจะได้เห็นรถยนต์แต่ละคันตามท้องถนนสามารถสื่อสารกันแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้เพื่อนำไปประมวลผลการเรื่องขับขี่ที่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นนั่นเอง

3

รถยนต์ไร้คนขับในโครงการของกูเกิล Google’s Self-Driving Car

ติดตามบทความน่ารู้สุดคูลสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog

#Anandaurbanconvenient

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top