ถ้าพูดถึง ‘พลังงานทดแทน’ หรือ ‘พลังงานทางเลือก’ ที่ใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิง จะเห็นว่าในปัจจุบันหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการศึกษา ค้นคว้าหาพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อนของโลกในอีกทางด้วย ซึ่งพลังงานทดแทนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- พลังงานจากแหล่งที่ใช้แล้วหมด เช่น ถ่านหิน, น้ำมันดิบ, ก๊าซธรรมชาติ, นิวเคลียร์, หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น
- พลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนใช้ได้อีก เช่น แสงอาทิตย์, ลม, น้ำ, ชีวมวล และไฮโดรเจน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งหัวข้อที่ Ananda จะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักก็คือ พลังงานไฮโดรเจน พลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ที่จะกลายเป็น The next Big Thing ในอนาคตของเราได้ จะด้วยเหตุผลอะไรนั้นมาไล่เรียงลำดับ ทำความรู้จักกับ พลังงานไฮโดรเจน กันได้เลย
สำหรับ ‘ไฮโดรเจน’ หรือ ‘พลังงานไฮโดรเจน’ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร เพราะมีการคิดค้นเพื่อใช้งานตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมากในจักรวาล มีองค์ประกอบของน้ำ (H₂O) สารประกอบที่มีมากสุดในโลก มีคุณสมบัติอยู่ได้ในทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง, ของเหลว และก๊าซ โดยจะเปลี่ยนสถานะไปตามอุณหภูมิและแรงดัน ซึ่งข้อดีของ พลังงานไฮโดรเจน ที่คือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีการเผาไหม้ที่สะอาด ไม่ปล่อยมลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แต่ถ้าจะให้เป็นพลังงานสะอาดแบบสุด ๆ ควรเลือกขั้นตอนการผลิตแบบ ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) ที่ผลิตจากการนำพลังงานหมุนเวียนอย่างแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม มาแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากน้ำ โดยไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้เองทำให้พลังงานไฮโดรเจนกลายเป็นหนึ่งในพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกที่ทั่วโลกให้ความสนใจอยู่ในขณะนี้ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ (Net Zero Commitment)
การใช้งานพลังงานไฮโดรเจน ส่วนใหญ่จะถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใน 2 รูปแบบหลักๆ เช่น
- จุดระเบิดเครื่องยนต์สันดาป
- ใช้งานในรูปแบบของเซลล์เชื้อเพลิง
หรือสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ หลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง, อาหาร, เภสัชภัณฑ์, โลหะ จนถึงอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ สำหรับในประเทศไทย พลังงานไฮโดรเจน มีการนำมาใช้งานในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฮโดรเจนจากพลังงานลมจะช่วยเพิ่มความเสถียรให้กับการผลิตไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งทิศทางของไฮโดรเจนจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามกันในอนาคตว่าจะสามารถขึ้นแท่นเป็น The next Big Things ของโลกได้หรือไม่
เพราะยังคงมีข้อจำกัดหลายข้อที่ ไฮโดรเจน หรือ พลังงานไฮโดรเจน ไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น
- ในปัจจุบันการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) มีต้นทุนสูง
- จัดเก็บและขนส่งยาก เนื่องจากไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติกัดกร่อน ทำให้ยากที่จะเก็บและขนส่ง
- มีคุณสมบัติติดไฟง่าย จึงต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับเครื่องยนต์ แต่ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจสำหรับผู้ใช้แต่อย่างไร
แต่หากเปรียบกับข้อจำกัดแล้ว พลังงานไฮโดรเจน มีข้อดีที่เพียงพอให้องค์กรทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและพัฒนาไฮโดรเจนให้เข้าถึงง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น
- เป็นพลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษขณะใช้งาน
- ประสิทธิภาพเทียบเท่าน้ำมันเชื้อเพลิง
- ประหยัดกว่าน้ำมัน 40 – 60%
- มีระบบระบายความร้อนที่ควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์
- ผลิตจากน้ำเปล่า เป็นธาตุที่ค้นพบได้ปริมาณมาก
ซึ่งถ้าโลกของเราก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้ โลกจะมีพลังงานทดแทน พลังงานทางเลือกใหม่ที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อโลก ช่วยลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก ลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงลดการปล่อยคาร์บอนฯ ให้กลายเป็นศูนย์