เพื่อนๆ เคยสงสัยไหมว่า ‘ทำไม?’ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีเพียง 28 หรือ 29 วันเท่านั้น ในขณะที่เดือนอื่นๆ มีจำนวนวันได้มากถึง 31 วันต่อเดือนเลยทีเดียว หากทุกคนมีข้อสงสัยเหมือนกัน วันนี้ Ananda จะพาทุกคนมารู้ถึงที่มาที่ไปของจำนวนวันที่ไม่เหมือนใครใน ‘เดือนกุมภาพันธ์’ (February)
เดือนกุมภาพันธ์เคยมี 30 วัน แต่ถูกแบ่งวันให้กับเดือนอื่น
ก่อนจะเข้าไปสู่ความซับซ้อนของการแบ่งวัน มาทำความรู้จัก ปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ที่สร้างโดย จูเลียส ซีซาร์ เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการนับเดือนใหม่ มกราคม และ กุมภาพันธ์ เป็นครั้งแรก เพราะในปฏิทินโรมันมีการนับเดือนเพียง 10 เดือนเท่านั้นนั่นคือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบเป็น มีนาคม จนถึง ธันวาคมนั่นเอง
โดย จูเลียน ให้เหตุผลว่าปฏิทินโรมันมีการนับข้างขึ้น-ข้างแรมไม่เหมาะสม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น July ตามชื่อของตัวเอง ซึ่งปฏิทินจูเลียน (Julian Calendar) ในแต่ละเดือนจะมีจำนวน 30 – 31 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มีเพียง 29 วัน และจะมี 30 วันได้ต่อเมื่อเข้าสู่ปีอธิกสุรทิน (Leap Year) ที่มี 366 วัน นั่นเอง
แต่ยังไม่จบเท่านั้น! เพราะในช่วงเปลี่ยนยุคที่ ออกัสตุา ซีซาร์ ลูกของจูเลียนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีการเปลี่ยนชื่อเดือนจาก Sextilis เป็น August เพื่อเป็นเกียรติแก่ตัวเขาเช่นเดียวกับจูเลียนผู้เป็นพ่อ และเห็นว่าการที่เดือนสิงหาคม มีจำนวน 30 วันเป็นเรื่องไม่มงคลโชคร้าย จึงไปหยิบวันจากเดือนใหม่อย่างกุมภาพันธ์ ทำให้เดือนสิงหาคมมีจำนวน 31 วัน จึงเป็นที่มาของ เดือนกุมภาพันธ์ ที่มีเพียง 28 วัน และมี 29 ในปีอธิกสุรทินแทน
29 กุมภาพันธ์ ทำไมถึง 4 ปีมีครั้ง?
มาทำความเข้าใจกันต่อว่า 29 กุมภาพันธ์ ในปีอธิกสุรทิน (Leap Year) เกิดขึ้นจากการอ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคติหรือตำแหน่งดวงอาทิตย์จะพบว่า โลก ใช้เวลาทั้งหมด 365.24224 วันในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเมื่อครบ 4 ปีจะทำให้เศษเกินมา 1 วัน จึงให้นับเป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์นั่นเอง