จะปล่อยคอนโดให้ชาวต่างชาติเช่าหรือซื้อขาย ต้องรู้อะไรบ้าง

ในปัจจุบันอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้รับความนิยมสูงมากจากชาวต่างชาติ ด้วยเหตุผลของราคาและทำเลที่สร้างโอกาสได้มากกว่าประเทศของเขาเอง ทำให้กลายเป็นที่สนใจและเปิดโอกาสให้คนไทยทำกำไรจากการโอนกรรมสิทธิ์หรือขายต่อในราคาที่คุ้มค่า แต่ทว่าในเรื่องของการเช่าอาจมีกำหนดกฏที่ต้องควรรู้เล็กๆ น้อยๆ แม้จะไม่มีข้อห้ามใดๆ ในทางกลับกันการซื้อคอนโดเพื่อถือกรรมสิทธิ์ กลับมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนที่คุณควรจะต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนทำการซื้อขายครับ

ตามกฎหมายแล้วให้ชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดแต่ละโครงการได้ไม่เกิน 49% ของพื้นที่อาคารชุดทั้งหมด รวมถึงข้อจำกัดเรื่องการนำเงินเข้าออกประเทศในเรื่องการโอนเงินที่สามารถทำได้มีจำนวนจำกัด ซึ่งทางออกของลูกค้าต่างชาติส่วนใหญ่คือซื้อคอนโดในราคาที่ไม่แพงนักด้วยเงินสดหรือเลือกเช่าคอนโดมากกว่าครอบครองกรรมสิทธิ์ ถือเป็นโอกาสให้คนในประเทศอย่างเราเพิ่มช่องการในการทำธุรกิจตรงจุดนี้

การถือครองอาคารชุดของคนต่างด้าว

จากพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 4) ..2551 มาตรา 19 ทวิ บัญญัติไว้ว่า  “อาคารชุดแต่ละอาคารชุดจะมีคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๙ ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ของห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้นในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา ๖”

อาคารชุดหมายถึง อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วน โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด ..2551 มาตรา 4

ข้อควรรู้ในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

  • เช่าระยะสั้น
  • เช่าระยะยาว

การเช่าระยะสั้น

กฎหมายกำหนดว่า ชาวต่างชาติสามารถเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี ซึ่งเป็นการเช่าที่ไม่ต้องมีการจดทะเบียนการเช่าต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ มีเพียงสัญญาเช่าระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าเท่านั้น

การเช่าระยะยาว

การเช่าระยะยาว ตามกฎหมายคือการเช่าที่มีกำหนดมากกว่า 3 ปีขึ้นไป โดยการเช่าระยะยาวนอกเหนือจากสัญญาเช่าแล้วจะต้องไปจดทะเบียนการเช่า สำนักงานที่ดินที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ด้วย เพราะตามกฏหมายแล้วสัญญาเช่าจะมีผลแค่ 3 ปีเท่านั้น โดยตาม .. เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม .. 2542 กำหนดระยะเวลาไว้ว่าสามารถเช่าได้ไม่เกิน 30 ปี และเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงสามารถต่อสัญญาได้อีกไม่เกิน 30 ปีนับแต่วันต่อสัญญา

เมื่อรู้ข้อกฎหมายในเบื้องต้นแล้ว ก่อนที่เราจะทำการซื้อขายหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อทำกำไร ก็อย่าลืมศึกษาตรงจุดนี้ให้ละเอียดก่อนด้วยครับ เพื่อจะได้ไม่ผิดข้อกฎหมายหรือเกิดความเสียหายขึ้นภายหลัง

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top