NOTE:
– บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร INRIX เผยรายงานการประเมินสภาพจราจรทั่วโลก ประจำปี 2016 หรือ Global Traffic Scorecard Report บ่งชี้ว่าไทยเป็นประเทศรถติดมากเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยคนไทยในแต่ละเมืองทั่วประเทศเสียเวลาเฉลี่ยราว 61 ชั่วโมงต่อปีไปกับรถติดบนถนน ตามด้วยประเทศโคลอมเบียและประเทศอินโดนีเซียซึ่งคนเสียเวลาไปกับรถติดประมาณ 47 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่รัสเซียและสหรัฐฯ เสียเวลากับรถติดประมาณ 42 ชั่วโมงต่อปี
เพื่ออนาคตที่การคมนาคมของเราจะสะดวกสบายมากขึ้น สำหรับคนเมืองแล้วปัญหาเรื่องรถติดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ถ้าเรารู้เส้นทางการก่อสร้างไว้ก่อน เราจะได้สามารถเตรียมรับมือให้พร้อมกับการหาเส้นทางหลีกเลี่ยงรถติด โดยเฉพาะวันทำงานและนี่คือถนนที่จะทำการปิดเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย ได้แก่ สายสีส้ม-สายสีชมพู และสายสีเหลือง
สายสีส้ม
เตรียมเปิดไซต์ภายใน พฤษภาคมนี้ ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 21.2 กม. จะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี มีกำหนดเสร็จเปิดบริการ มีนาคม 2566 แนวเส้นทางจะเริ่มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นมุ่งหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง แล้วเบี่ยงไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม.จากศูนย์วัฒนธรรม-คลองบ้านม้า จากนั้นเป็นโครงสร้างยกระดับจนถึงปลายทางที่สถานีสุวินทวงศ์ มีเวนคืน 594 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 222 หลัง
สำหรับ 17 สถานีที่จะสร้าง ได้แก่
1.สถานีศูนย์วัฒนธรรม 2.สถานี รฟม. 3.สถานีประดิษฐ์มนูธรรม 4.สถานีรามคำแหง 12 5.สถานีรามคำแหง 6.สถานีราชมังคลา 7.สถานีหัวหมาก 8.สถานีลำสาลี 9.สถานีศรีบูรพา 10.สถานีคลองบ้านม้า 11.สถานีสัมมากร 12.สถานีน้อมเกล้า 13.สถานีราษฎร์พัฒนา 14.สถานีมีนพัฒนา 15.สถานีเคหะรามคำแหง 16.สถานีมีนบุรี และ 17.สถานีสุวินทวงศ์
สายสีชมพู – เหลือง
เริ่มไม่เกินปลายปีนี้ ขณะที่ “สีชมพู” แคราย-มีนบุรี 34.5 กม.และ “สีเหลือง” ลาดพร้าว-สำโรง 30.4 กม. 51,931.15 การเริ่มงานก่อสร้างขึ้นอยู่กับความพร้อมเอกชน จะต้องออกแบบรายละเอียด รวมถึงขออนุญาตกรมทางหลวงและกทม.เข้าพื้นที่ก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มได้ปลายปีนี้ และสร้างเสร็จเปิดปี 2563
แนว “สีชมพู” จุดเริ่มต้นอยู่หน้าศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อกับสายสีม่วง วิ่งเข้าถนนติวานนท์ เลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่านถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา และมาปลายทางที่มีนบุรี
มี 30 สถานี ได้แก่
1.สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี 2.สถานีแคราย 3.สถานีสนามบินน้ำ 4.สถานีสามัคคี 5.สถานีกรมชลประทาน 6.สถานีปากเกร็ด 7.สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด 8.สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 9.สถานีเมืองทองธานี 10.สถานีศรีรัช 11.สถานีเมืองทอง 1 12.สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 13.สถานีทีโอที 14.สถานีหลักสี่ 15.สถานีราชภัฏพระนคร 16.สถานีวงเวียนหลักสี่ 17.สถานีรามอินทรา 18.สถานีลาดปลาเค้า 19.สถานีรามอินทรา 31 20.สถานีมัยลาภ 21.สถานีวัชรพล 22.สถานีรามอินทรา 40 23.สถานีคู้บอน 24.สถานีรามอินทรา 83 25.สถานีวงแหวนตะวันออก 26.สถานีนพรัตนราชธานี 27.สถานีบางชัน 28.สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ 29.สถานีตลาดมีนบุรี และ 30.สถานีมีนบุรี ใกล้แยกร่มเกล้า จะมีจุดจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงบนพื้นที่ 280 ไร่
ส่วน “สีเหลือง” แนวเริ่มต้นที่สถานีลาดพร้าวเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วไปตามถนนลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางด่วนฉลองรัชจนถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาเข้าถนนศรีนครินทร์ จากนั้นยกระดับข้ามทางแยกต่างระดับพระราม 9 แยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดมสุข ศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาเข้าถนนเทพารักษ์ และสิ้นสุดปลายทางที่ถนนปู่เจ้าสมิงพราย มีโรงจอดรถพร้อมศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่งและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่งที่แยกต่างระดับศรีเอี่ยม
มี 23 สถานี ได้แก่
1.สถานีรัชดา 2. สถานีภาวนา 3.สถานีโชคชัย 4 4.สถานีลาดพร้าว 71 5.สถานีลาดพร้าว 83 6.สถานีมหาดไทย 7. สถานีลาดพร้าว 101 8.สถานีบางกะปิ 9.สถานีลำสาลี 10.สถานีศรีกรีฑา 11.สถานีพัฒนาการ 12.สถานีกลันตัน 13.สถานีศรีนุช 14.สถานีศรีนครินทร์ 38 15.สถานีสวนหลวง ร.9 16.สถานีศรีอุดม 17.สถานีศรีเอี่ยม 18.สถานีศรีลาซาล 19.สถานีศรีแบริ่ง 20.สถานีศรีด่าน 21.สถานีศรีเทพา 22.สถานีทิพวัล และ 23.สถานีสำโรง
ขอบคุณข้อมูล http://www.prachachat.net
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development