โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) คืออะไร? โรคระบาดใหม่อันตรายถึงชีวิต

ปัจจุบันพบว่าโรคติดต่อทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างล่าสุดที่สร้างความตื่นตระหนกและความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อย่างโรคโควิค-19 ที่ตอนนี้ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้เต็มร้อย ก็มีโรคติดต่อชนิดใหม่อย่างโรคฝีดาษลิงเกิดขึ้นมา  ซึ่งวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคฝีดาษชนิดนี้กันว่ามีความเป็นมาอย่างไร? และอันตรายมากแค่ไหน?

โรคฝีดาษลิงคืออะไร

โรคฝีดาษลิงหรือโรคฝีดาษวานร (Monnkeypox Virus) เป็นโรคที่พบการแพร่กระจายอยู่ในแถบสหรัฐอเมริกา, อิสราเอล,  สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Othopoxvirus ที่มีต้นกำเนิดอยู่ในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ สาเหตุที่เรียกว่า “โรคฝีดาษลิง” เนื่องจากครั้งแรกที่พบเป็นเชื้อที่อยู่ในลิงและแพร่กระจายมาสู่คน ซึ่งโรคนี้ถือเป็นโรคระบาดที่มีการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้โดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการใช้วัคซีนโรคฝีดาษ ที่สามารถควบคุมการแพร่กระจายได้มากถึง 85%

โรคฝีดาษลิงกับสายพันธุ์ที่มีอยู่

โรคฝีดาษลิงเป็นโรคที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งการระบาดในครั้งนั้นมีความรุนแรงที่น้อยกว่าการระบาดในครั้งนี้ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าเชื้อโรคนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ตามแหล่งกำเนิดที่พบเชื้อเป็นครั้งแรก โดยชนิดของโรคมี 2 สายพันธุ์คือ  

1.สายพันธุ์แอฟริกากลาง (Central African Clade)

เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง โดยผู้ป่วยสายพันธุ์นี้จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 10%  โดยพบเชื้อในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดกัดแทะที่มีขนาดเล็ก เช่น ลิง หนู กระรอก เป็นต้น ซึ่งสายพันธุ์นี้เคยมีการระบาดเมื่อ 20 ปีก่อน แต่ว่าความรุนแรงของโรคน้อยกว่าชนิดที่แพร่ระบาดในตอนนี้

2.สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (West African Clade)

เป็นสายพันธุ์ที่พบว่ามีการแพร่ระบาดอยู่ในตอนนี้ ระดับความรุนแรงของโรคน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกากลาง ผู้ป่วยจะมีอาการที่ไม่รุนแรงและรักษาตัวหายเร็ว จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคชนิดนี้มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1% เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นอัตราส่วนที่น้อยมาก ถึงแม้ว่าจะมีอัตราการเสียชีวิตน้อยแต่ก็สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโรคฝีดาษลิงสายพันธุ์ก็มีความอันตรายสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรอยู่ในห่างจากผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้ก็จะลดความเสี่ยงติดต่อโรคได้

ฝีดาษลิงกับการแพร่กระจายของเชื้อ

ฝีดาษลิงเป็นโรคชนิดหนึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ติดเชื้อที่ยังไม่รู้ตัวว่ามีเชื้อและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติ อาจทำให้เชื้อที่อยู่ในร่างกายแพร่กระจายไปในอากาศหรือติดอยู่ในของใช้ประจำวันแล้วแพร่ไปสู่บุคคลรอบข้างได้ เนื่องจากการแพร่กระจายของเชื้อสามารถแพร่ได้ 2 แบบ คือ

1.การแพร่จากสัตว์สู่คน

คือ การแพร่กระจายเชื้อจากสัตว์สู่คนจะสามารถแพร่กระจายได้ก็ต่อเมื่อคนจะต้องสัมผัสสารคัดหลั่ง เลือดหรือน้ำเหลืองของสัตว์ที่ติดเชื้อโดยตรง เช่น การโดนกัด การกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุก  เป็นต้น

2.การแพร่จากคนสู่คน

คือ การแพร่กระจายเชื้อแบบจากคนสู่คนเป็นการแพร่กระจายที่เกิดขึ้นได้น้อยมากแต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิดกับสารคัดหลั่ง เลือดหรือน้ำเหลือง และการแพร่กระจายผ่านทางระบบหายใจ เช่น การไอ การจามของผู้ป่วยที่มีเชื้อโดยตรง เมื่อทำการสูดดมเข้าไปก็สามารถรับเชื้อฝีดาษลิงได้

การแพร่กระจายที่พบในปัจจุบันนี้เป็นการแพร่กระจายจากคนสู่คน ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและคนใกล้ชิดควรระวังอย่าใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคฝีดาษย่อมช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

ฝีดาษลิงกับอาการของผู้ติดเชื้อ

ผู้ที่ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงจะมีลักษณะของอาการคล้ายกับโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ ซึ่งอาการของโรคนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกันคือ

1.ระยะฟักตัว (Invasion Phase) 

คือ ระยะที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อมาแล้ว แต่ยังไม่แสดงตุ่มหนองออกมาให้เห็นแต่มีอาการที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงในการเป็นโรคฝีดาษลิง นั่นคือ ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยเนื้อตัวโดยเฉพาะบริเวณหลัง อ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายจะมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอหอบ โดยเฉพาะอาการต่อมน้ำเหลืองโตถือเป็นอาการสำคัญที่บ่งบอกว่าเป็นโรคฝีดาษลิง เพราะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษธรรมดาจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโตเกิดขึ้น

2.ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)

คือ ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีผื่นนูนแดง (Maculopapular) ขนาดประมาณ 2-10 มิลลิเมตรขึ้นตามผิวหนัง โดยผื่นนูนแดงจะมีการเติบโตดังนี้

  • ระยะแรก ตอนแรกผิวหนังจะมีจุดกลมสีแดงเกิดขึ้น ซึ่งจุดแดงนี้จะค่อย ๆ ขยายขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นตุ่มน้ำใส(Vesicles) ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร
  • ระยะสอง เป็นตุ่มหนองขนาดเล็ก (Pustules) ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร
  • ระยะสาม เป็นตุ่มหนองที่มีรอยบุ๋มตรงกลาง (Umbilicated Pustules) เกิดจากตุ่มหนองขนาดเล็กมีการพองตัวขึ้นอย่างเต็มที่และตรงกลางของตุ่มหนองมีการยุบตัวลง ขนาดของตุ่มประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
  • ระยะสี่ บริเวณรอบ ๆ ตุ่มแผลจะเกิดการเปื่อยโดยแผลจะมีขนาดประมาณ 5 มิลลิเมตร
  • ระยะห้า รอบ ๆ แผลของตุ่มหนองจะค่อยแห้งและเกิดการตกสะเก็ด (Crusted) ออกมา
  • ระยะหก แผลที่ตกสะเก็ดมีการหลุดลอกออกบางส่วนก่อนละจะค่อย ๆ หลุดออกทั้งหมดในภายหลัง

ตุ่มของโรคฝีดาษลิงนี้ส่วนมากจะขึ้นที่บริเวณใบหน้าและแขนขานอกร่มผ้าและตุ่มแผลนะระยะที่ 2- 5 เป็นระยะที่สามารถแผลเชื้อได้ดีที่สุด ดังนั้นหากเห็นผู้ป่วยมีตุ่มหนองไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดควรหลีเลี่ยงการเข้าไปใกล้ชิดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยโดยหลังจากที่ได้รับเชื้อมา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการป่วยทั้ง 2 ระยะในเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ซึ่งอาการของโรคนี้ไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ แต่ว่าโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในขณะที่ป่วยด้วยโรคฝีดาษลิงต่างหากที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต เพราะในช่วงที่ป่วยร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำนั่นเอง

การรักษาโรคฝีดาษลิง

การรักษาโรคฝีดาษลิงในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายได้โดยตรง  ทำให้การรักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นได้เพียงรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นของผู้ป่วย เช่น เมื่อมีไข้ให้ยาลดไข้ เป็นต้น ซึ่งเป็นเพียงการควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตและเสริมความแข็งแรงของร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน เพราะจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากมีสาเหตุมากจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการป่วยเป็นโรคฝีดาษลิง ไม่ได้เสียชีวิตเพราะการติดเชื้อโรคนี้

 การป้องกันโรคฝีดาษลิง

ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงยังไม่มียาที่สามารถรักษาได้โดยตรงให้หายได้ทันที แต่เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองการป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้จึงถือเป็นทางรอดที่ดีที่สุด ซึ่งการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อมีแนวทางในการป้องกันโรค ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย

การแพร่เชื้อของโรคฝีดาษจะแพร่ผ่านการสัมผัสทางสารคัดหลั่ง เลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นคนป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวและสิ่งของที่ผู้ป่วยใช้งาน เพราะเชื้อสามารถติดอยู่ตามเสื้อผ้าและของใช้ของผู้ป่วยได้ หากทำการสัมผัสเชื้อก็จะติดอยู่ที่มือเราและเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยง่ายนั่นเอง

2.รักษาความสะอาด

หมั่นล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือหรือเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนที่จะรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อติดมือเข้าไปในปาก การเดินทางหรือต้องอยู่ในคนกลุ่มใหญ่ควรใส่ผ้าปิดจมูกให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้สูดดมเอาเชื้อเข้ามาสู่ภายในร่างกายได้

3.ฉีดวัคซีนโรคฝีดาษ

ถึงแม้ว่าวัคซีนจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงนี้ได้เต็มร้อย แต่ก็สามารถลดความรุนแรงของโรคในกรณีที่ติดเชื้อได้ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงและไม่อันตรายถึงชีวิต ดังนั้นจึงควรทำการวัคซีนโรคฝีดาษตามที่แพทย์กำหนด

4.ไม่กินเนื้อดิบ

เชื้อโรคฝีดาษสามารถทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นหากต้องการรับประทานเนื้อควรเลือกเมนูที่ปรุงสุก ๆ เท่านั้น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ป่าที่จับมาจากธรรมชาติ เพราะสัตว์ป่าตามธรรมชาติมีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อโรคนี้ติดอยู่ในเนื้อได้ หากนำมาปรุงอาหารแบบไม่สุกหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เชื้อนี้จะยังไม่ตายยังเข้ามาแพร่เชื้อทำให้เป็นโรคนี้ได้  

5.งดเลี้ยงสัตว์ป่า

ปัจจุบันนี้มีการนำสัตว์ป่าตามธรรมชาติมาเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งสัตว์ป่าเหล่านี้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างถูกต้อง ทำให้ในตัวสัตว์อาจมีเชื้อฝีดาษลิงติดมาด้วย เมื่อนำมาเลี้ยงเชื้อดังกล่าวอาจจะแพร่กระจายมาสู่คนเลี้ยงหรือคนใกล้ชิดได้ ผ่านทางสารคัดหลั่ง เลือดหรือน้ำเหลืองของสัตว์ได้

6.ใส่ผ้าปิดจมูกและปาก

นอกจากการสัมผัสกับผู้ป่วยหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยให้แล้วจะเป็นการรับเชื้อโรคเข้าสู่ตัวเองได้ การหายใจก็สามารถรับเชื้อเข้าสู่ภายในร่างกายของเราได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจได้ เราจะต้องใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้หายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายและเมื่อกลับเข้าบ้านควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ทันที

7.ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย

สำหรับคนที่อยู่ในคอนโด ห้องชุดหรือใช้พื้นที่ส่วนรวมร่วมกับผู้อื่น ควรทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางเป็นประจำด้วยการฉีดยาฆ่าเชื้อ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดอยู่ตามสิ่งของและพื้นผิวให้สะอาด เมื่อเข้าไปสัมผัสก็จะไม่มีเชื้อโรคติดมือ

จะเห็นว่าการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงนี้มีวิธีการป้องกันที่ไม่ยากและสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและคนรอบข้างควรทำการป้องกันไม่ให้ติดโรคฝีดาษลิงจะดีกว่า

ถึงแม้ว่าเราจะยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อโรคฝีดาษลิงในประเทศไทยตอนนี้ แต่ก็ไม่แน่ว่าในอนาคตจะไม่มี ดังนั้นทุกคนควรป้องกันตัวเองด้วยการใส่ผ้าปิดจมูกที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคและรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นมากว่า 70% เป็นประจำก่อนที่จะใช้มือสัมผัสอาหารหรืออวัยต่าง ๆ ของร่างกาย เพียงเท่านี้คุณก็จะห่างไกลและไม่มีความเสี่ยงในการติดโรคฝีดาษลิงแน่นอน

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top