“พัฒนาตนเองสู่นักสะสมความมั่งคั่ง ทำอย่างไรนะ”

“พัฒนาตนเองสู่นักสะสมความมั่งคั่ง ทำอย่างไรนะ”

 Article by คุณนายแว่น

เหมาะสำหรับคนทำงานอยากมีความมั่งคั่ง ต้องรู้จักพัฒนาให้เป็นนักสะสมความมั่งคั่ง หรือ Wealth Accumulator
อยากมั่งคั่งอยากร่ำรวยต้องทำอย่างไร คนรวยเขามี “เคล็ดลับ” อะไรที่ทำให้พัฒนาตนเองไปสู่ความมั่งคั่งและร่ำรวย อยากรู้เคล็ดลับติดตามได้ในบทความนี้ครับ ไปดูกันเลย

อัตราการสะสมความมั่งคั่งเมื่อเทียบกับอายุ

(ที่มาภาพประกอบ : University of Wyoming Cooperative Extension Service) ภาพประกอบมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกันกับเนื้อหาเท่านั้น

(ที่มาภาพประกอบ : University of Wyoming Cooperative Extension Service) ภาพประกอบมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกันกับเนื้อหาเท่านั้น

 

ความมั่งคั่ง คือ สูตรสำเร็จทางการเงินที่ใครๆ ก็ต้องการกันทั้งนั้น มีบางคนที่ไปถึงจุดหมายปลายทางอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ แต่หลายคนก็ไปไม่ถึงฝั่งฝัน สิ่งหนึ่งที่อาจจะมา “ปั่นทอน” ความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Personal Wealth Accumulation) จากภาพเราจะเห็นขั้นตอนของการสะสมความมั่งคั่งดังต่อไปนี้

ขั้นตอนแรก ขั้นของการปกป้องความมั่งคั่งส่วนบุคคล หรือ Protection against risk

ในขั้นนี้ “ความเสี่ยง” หรือ Risk จะเป็นตัวแปรสำคัญ ความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนบุคคลต่างๆ กิเลสของเราที่อยากได้สิ่งของ (กิเลสในความคิดของผมก็คือ Bug ชนิดหนึ่งที่จะทำให้เราไปไม่ถึงฝั่งฝัน) อยากมีเหมือนคนอื่น จะเหนี่ยวนำให้เราก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น

ขั้นตอนที่สอง ขั้นที่การออมเป็นเรื่องจำเป็น

ในขั้นตอนนี้นักสะสมความมั่งคั่งต้องใช้สูตร เงินที่ใช้จ่าย = รายรับ – เงินออม ในขั้นนี้เราจะเริ่มใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อมีรายรับจึงควรแบ่งเงินมาออมก่อนค่อยจับจ่ายทีหลัง การสะสมความมั่งคั่งจะเริ่มต้นในช่วงนี้อายุ 30-35 เป็นช่วงที่สำคัญที่จะเป็นรากฐานของความมั่งคั่งในอนาคต

ขั้นตอนที่สาม ขั้นการรักษาระดับคุณภาพชีวิต

ในขั้นนี้หากเราผ่านขั้นที่สองมาด้วยดี นักสะสมความมั่งคั่งจะเริ่มมีเงินเก็บเป็นฐาน และกระจายการลงทุนไปในรูปแบบต่างๆ (กองทุนรวม หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ) สิ่งที่ท้าทายก็คือ “การรักษาระดับคุณภาพชีวิต” ให้คงเดิม เพราะค่าใช้จ่ายจะเริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีครอบครัว จะต้องมีค่าใช้จ่ายสารพัด ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ส่งลูกเรียนโรงเรียนดีๆ การบริหารจัดการความมั่งคั่งจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เคล็ดลับก็คือ ต้องสร้างสินทรัพย์ที่สามารถผลิตกระแสเงินสดได้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่สี่ เริ่มวางแผนการเกษียณ

หากเราผ่านขั้นตอนที่สามมาได้ “ความมั่งคั่ง” ของเราเองก็จะพอกพูนสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จากสินทรัพย์ที่สามารถผลิตกระแสเงินสดได้ด้วยตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าจากอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผลจากกองทุนและหุ้น หรือส่วนต่างจากราคาทองคำ เมื่อมาถึงจุดนี้โดยส่วนใหญ่อายุราวๆ 40-50 ปี เราต้องเริ่มวางแผนเกษียณ ต้องประมาณการเงินก้อนที่เราจะใช้จ่ายได้อย่างไม่ยากลำบาก จากสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดได้ด้วยตนเอง

ขั้นตอนสุดท้าย ขั้นสุดของการสะสมความมั่งคั่ง

ในขั้นนี้เราเดินทางมาถึงจุดที่เราทำงานหาเงินได้มากที่สุด คือ ช่วงวัยเกษียณ สำหรับคนที่ทำงานประจำกระแสเงินสดที่เคยมีทุกเดือนจากงานประจำจะหมดไป แต่สำหรับคนที่ซื้อสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดเอาไว้ ก็จะยังคงมีกระแสเงินสดไหลเข้ามาอยู่

ยกตัวอย่างเช่น

ซื้อหุ้นปันผล 2-3% ต่อปี แต่ต้องเติบโตด้วย ถ้าคุณซื้อแค่พันหุ้นมันยังไม่ส่งผลอะไร แต่ถ้าซื้อได้ครบแสนหุ้นสมมติหุ้นละ 5 บาท ปันผลหุ้นละ 0.20 บาทต่อหุ้น มีแสนหุ้น = ปันผลปีละ 20,000 บาท ตกเดือนละเกือบพัน

ต่อจากนั้นมา… หากเราใช้เวลา 5 ปีสะสมไปเรื่อยๆ ให้ได้ 3-5 แสนหุ้น ถ้ามีห้าแสนหุ้น ปันผลเพิ่มขึ้นจากการเติบโตเป็นปีละ 0.30 บาทต่อหุ้น มีห้าแสนหุ้น = ปันผลปีละ 1.5 แสนบาท ตกเดือนละเกินหมื่นบาท แต่คุณต้องอดทน แบ่งเงินมาซื้อ “สินทรัพย์” เก็บไว้บ้าง

สินทรัพย์ในความหมายของผมก็คือ สิ่งที่สร้างกระแสเงินสดเองได้โดยเราไม่ต้องทำอะไรกับมัน หรือที่ใครหลายคนเรียกว่า Passive Income  (เงินปันผล ค่าเช่าที่เราเก็บได้ ลิขสิทธิ์จากงาน เป็นต้น)

การที่คนๆ หนึ่งจะสะสมความมั่งคั่งเอาไว้ได้ต้องใช้ความอดทน และกำจัดกิเลสส่วนเกินออกไป คือ ความโลภ ความกลัว ความหลง เพราะกิเลสส่วนเกินเหล่านี้เป็นเหมือน “Bug” ที่จะคอยก่อกวนความสำเร็จของเรานั่นเองครับ

 

ติดตามบทความอัพเดตสุดคูลสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog
#Anandaurbancash

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top