NOTE:
– ภายหลังจากการเชื่อมต่อ 1 สถานีช่วงบางซื่อ–เตาปูน ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมาในรอบสองสัปดาห์พบว่าจำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงเพิ่มขึ้นถึง 50% หรืออยู่ที่จำนวนสูงสุดวันละ 50,000 คนจากเดิมเพียงวันละ 33,000 คน คิดเป็นค่าเฉลี่ยวันละ 47,000 คน ขณะที่ในวันหยุดเสาร์และอาทิตย์นั้นจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 32% จากเดิมเฉลี่ยวันละ 22,000 คนเพิ่มขึ้นเป็น 29,000 คน โดย รฟม. จะคงโปรโมชั่นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงจนถึงสิ้นปี 2560
หลังจากปีที่แล้วรถไฟฟ้าสายสีม่วงเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ของการหายไป 1 สถานีที่เชื่อมต่อกันระหว่างสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน จนทำให้ในระยะเวลาต่อมารฟม. เร่งทำ 1 สถานีเชื่อมต่อเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารมากขึ้น จนกระทั่งวันนี้หลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้สายสีม่วงมีจำนวนผู้โดยสารมากขึ้น
แต่แล้วก็เกรงว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกเมื่อรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดเส้นทางการเดินรถ แล้วหายไป 1 สถานีเชื่อมต่อเช่นกัน ร้อนถึง รฟม.ต้องออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีรถไฟฟ้าสายสีเหลืองซ้ำรอยสายสีม่วงเนื่องจากหายไป 1 สถานีเหมือนกัน ระบุว่าจะมีการทำทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายอื่น และประชาชนสามารถเดินได้ในระยะสั้นๆ
ตามที่มีกระแสข่าวปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ประเด็นเรื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีแนวเส้นทางไม่เชื่อมต่อกับแนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ทำให้ผู้ใช้บริการต้องเดินทางหลายต่อ ซึ่งอาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะขาดทุนเมื่อเปิดให้บริการเช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (รถไฟฟ้าสายสีม่วง) เนื่องจากการเดินทางไม่สะดวก นั้น
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ชี้แจงว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เป็นโครงการตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำหนดแนวเส้นทางและศึกษาออกแบบเบื้องต้นไว้เมื่อปี 2552
โดยออกแบบให้เส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเป็นขนส่งมวลชนขนาดรอง (Feeder Line) ทำหน้าที่ป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนหลัก (Main Line) 4 สาย เข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ได้แก่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ส่วนตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี (สายสีส้มฯ) Airport Rail Link และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ (สายสีเขียวฯ)
ต่อมาเมื่อ รฟม. ในฐานะหน่วยงานปฏิบัติ ได้รับมอบผลการศึกษาออกแบบจาก สนข. มาแล้ว รฟม.ได้ศึกษาทบทวนในรายละเอียดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ในปัจจุบันที่แตกต่างไปจากเมื่อครั้งที่ สนข. ศึกษาฯ อีกครั้งหนึ่ง ผลการศึกษาทบทวนฯ พบว่า ผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ส่วนใหญ่จะเดินทางด้วยระยะทางสั้นๆ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายหลักสอดคล้องกับคุณลักษณะของแนวเส้นทางที่ออกแบบให้เป็น Feeder Line ในการนี้ รฟม. จึงได้ออกแบบให้ผู้โดยสารสายสีเหลือง สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายหลักได้อย่างสะดวก ดังนี้
1) สถานีรัชดา เชื่อมต่อโดยตรงกับอาคารจอดรถ 9 ชั้น และสถานีลาดพร้าวของสายเฉลิมรัชมงคล
2) สถานีลำสาลี มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีลำสาลีของสายสีส้ม
3) สถานีพัฒนาการ มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีหัวหมากของ Airport Rail Link
4) สถานีสำโรง มีทางเดินยกระดับเชื่อมต่อโดยตรงกับสถานีสำโรงของสายสีเขียว
ทั้งนี้ กรณีที่มีแนวคิดเสนอให้มีการต่อขยายแนวเส้นทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางเชื่อมต่อได้สะดวก โดยเสนอให้ต่อขยายไว้ 2 แนวทาง คือ
1. ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปตามแนวถนนลาดพร้าวและเชื่อมต่อกับสถานีห้าแยกลาดพร้าว
2. ให้ต่อขยายจากสถานีรัชดาไปตามแนวถนนรัชดาภิเษกและเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธิน นั้น ในทางด้านเทคนิคพบว่า ใต้แนวถนนลาดพร้าวจากแยกรัชดา–ลาดพร้าว ไปถึงแยกตัดกับถนนพหลโยธิน มีอุโมงค์รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลอยู่แล้ว การก่อสร้างโครงสร้างยกระดับบนถนนลาดพร้าวเหนือแนวอุโมงค์จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบต่อความปลอดภัยของโครงสร้างอุโมงค์
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลจาก https://news.thaipbs.or.th/