NOTE:
– สถานีท่าพระ เป็น Interchange Station ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
– รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ–ท่าพระ และ ช่วงหัวลำโพง–บางแค ปัจจุบันโครงการมีการก่อสร้างเสร็จไปแล้วกว่า 92.39% หากการก่อสร้างเป็นไปตามแผน เส้นทางหัวลำโพง–บางแคจะสามารถเปิดให้บริการได้จริงภายในเดือนกันยายน 2562 ส่วนเส้นทางบางซื่อ–ท่าพระ จะเปิดให้บริการได้ภายในเดือนมีนาคม 2563
ในขณะที่แผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ กำลังรุดหน้าไป เราอยากจะพาย้อนกลับไปดูรถไฟฟ้าสายแรกๆ กันสักหน่อย กับความคืบหน้าในการพัฒนาทั้งความเจริญ ความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการจากสายสีน้ำเงินหรือที่เรารู้จัก “รถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เริ่มมีการสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 แล้วเปิดให้บริการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบัน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง หัวลำโพง – บางซื่อ มีสถานีทั้งหมด 18 สถานี รวมระยะทางกว่า 21 กิโลเมตร
และ 3 สถานีที่คนใช้บริการมากที่สุดคือ
สถานีหัวลำโพง
เนื่องจากสถานีนี้เป็นสถานีต้นสายของเส้นรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ทั้งยังเป็นสถานีที่อยู่ท่ามกลางแหล่งที่พักอาศัยของผู้คนจำนวนมาก ประกอบกับตั้งอยู่ไม่ไกลจากย่านการค้าดังๆ อย่าง เยาวราช สำเพ็ง พาหุรัด ทำให้มีการเปลี่ยนถ่ายการคมนาคมจากรถไฟไปรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือจากรถเมล์มาขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีหัวลำโพงเกือบตลอดทั้งวัน
สถานีพระราม 9
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินพระรามเก้า
อีกหนึ่งสถานีที่มีคนใช้เยอะไม่แพ้กัน เนื่องจาก สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน พระราม 9 อยู่กึ่งกลางของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บวกกับเป็นทำเล New CBD ย่านเศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร จึงมีทั้งห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อย่างเซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9 , ศูนย์การค้าฟอร์จูน ทาวน์ หรือ ห้างเปิดใหม่ Show DC ทั้งยังมีอาคารพาณิชย์ อาคารเช่าสำนักงานต่างๆ จึงทำให้ สถานีพระราม 9 กลายเป็นสถานีสำคัญ จุดรวมตัวกันของคนทำงาน
สถานีพหลโยธิน :ห้าแยกลาดพร้าวพหลโยธิน
สถานีพหลโยธินมีทางออกติดห้าแยกลาดพร้าวและห้างสรรพสินค้าดัง เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว และ ยูเนี่ยน มอลล์ ไหนจะมีโรงเรียน สถานที่ราชการ และคอนโดมิเนียมมากมายที่แข่งกันขึ้นในทำเลนี้ จึงไม่แปลกที่จะมีคนมาใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินแน่นขึ้นทุกวัน
อนาคตของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สู่จุดเปลี่ยนการคมนาคม
สถานีอินเตอร์เชนจ์ สถานีเชื่อมต่อความเจริญ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง – บางซื่อ) มีการพัฒนาไปจากเมื่อ 10 ปีก่อนมาก จากเดิมที่มีเพียง 18 สถานี ก็เกิดจากขยายเส้นทางความเจริญไปสู่ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ–ท่าพระ และ หัวลำโพง–บางแค ที่มีระยะทางรวมกว่า 27 กม. โดยมีสถานีเชื่อมต่อ (Interchange) กระจายอยู่ตามสถานีต่างๆ มากมาย ได้แก่
สถานีเตาปูน–บางซื่อ
สถานีบางซื่อ จะเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน หรือ สายสีแดงเข้ม และ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นโครงการรถไฟฟ้าที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง อีกทั้งสถานีบางซื่อ ก็ยังเชื่อมกับ รถไฟฟ้าสายสีม่วง สายฉลองรัชธรรม ที่ สถานีเตาปูน เพื่อเป็นจุดเปลี่ยนเส้นทางไปยังนนทบุรี บางใหญ่ ไล่ยาวตั้งแต่ สถานีเตาปูน ไปจนถึง สถานีบางไผ่ ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: https://www.estopolis.com