วิธีเลือกลงทุนซื้อประกัน สำหรับมนุษย์เงินเดือน

แม้การเป็นมนุษย์เงินเดือนจะมีสิทธิประกันสังคมรองรับ หรือมีสวัสดิการประกันสุขภาพจากบริษัทแล้วก็ตาม แต่ชีวิตในทุกวันคือความไม่แน่นอน ดังนั้นเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านสุขภาพหรือความเสี่ยงกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การเลือกลงทุนกับประกันเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งที่ มนุษย์เงินเดือน ควรพิจารณาว่าต้องซื้อเพิ่มหรือไม่? และประกันแบบไหนที่ควรซื้อเพิ่ม มาเริ่มเช็กไปพร้อมๆ กัน

1. เช็กความคุ้มครองที่มีอยู่ในฐานะ ‘พนักงานบริษัท’ ยกตัวอย่างเช่น

  • ประกันสังคม เป็นหลักประกันในการดำรงชีวิตของกลุ่มที่มีรายได้ (พนักงานเงินเดือน) ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมร่วมกับเจ้าของบริษัทที่จ่ายเงินสมทบให้พนักงาน โดยเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน
  • ประกันกลุ่ม เป็นสวัสดิการที่บริษัททำให้แก่พนักงานบริษัท โดยไม่ได้มีข้อกฎหมายบังคับดังนั้นเพื่อนๆ ต้องเช็กสวัสดิการบริษัทตัวเองว่ามีประกันกลุ่มรองรับอยู่หรือไม่ และสิทธิของประกันกลุ่มจะหมดลงทันทีเมื่อเราพ้นสภาพจากพนักงานบริษัทนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการลาออก หรือเกษียณก็ตาม  

2. เช็กค่าเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลที่อาจมีอัตราสูงมากขึ้น 7-8% ต่อปี ดังนั้นไม่ว่าจะประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุที่ถืออยู่มาเป็นเวลา 8 ปีขึ้นไป วงเงินประกัน อาจไม่เพียงพอต่อค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน เช่น ค่าห้องพยาบาล, ยารักษาโรค รวมไปถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ จึงต้องพิจารณาวางแผนซื้อทุนประกันเพิ่มเติม

3. เช็กค่าใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อเจ็บป่วยแล้วไม่ได้ประกอบอาชีพ ลองมาทำลิสต์เล่นๆ ดูว่าหากต้องลาออก หรือเกษียณจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง เช่น คนเลี้ยงดู, ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งในประกันกลุ่มของบริษัทจะไม่ครอบคลุมนั่นเอง

และเมื่อเช็กสิทธิประกันพื้นฐานขณะเป็นพนักงานบริษัทแล้ว มาลองพิจารณาตามความเสี่ยงหรือวางแผนเพิ่มเติมตามนี้

  1. ประเมินความเสี่ยงจากรูปแบบการใช้ชีวิตของตัวเอง โดยดูจากการตรวจสุขภาพในทุกปี การเจ็บป่วยของตัวเอง และบุคคลในครอบครัว เพราะบางโรคอาจส่งต่อกันผ่านทางพันธุ์กรรมได้ ทั้งนี้ลองวิเคราะห์โรงพยาบาลที่ต้องการรักษาหรือโรงพยาบาลประจำเพื่อพิจารณารูปแบบการคุ้มครองและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันตามแต่ละโรงพยาบาลอีกด้วย
  2. พิจารณาความคุ้มครองเพิ่มเติมหากไม่มีประกันกลุ่ม เช่น ประกันสุขภาพแบบ OPD, ประกันโรคร้าย, ประกันโรคออฟฟิศซินโดรม หรือ ประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์เกี่ยวกับประกันที่ควรรู้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ผู้ป่วยนอก หรือ OPD เป็นศัพท์ที่หมายถึงการรักษาแบบผู้ป่วยนอก มาพบแพทย์ จ่ายยา จ่ายค่ารักษาพยาบาล และกลับบ้าน เกิดขึ้นบ่อยเมื่อเราเป็นไข้หวัดเล็กน้อยนั่นเอง
  • ผู้ป่วยใน หรือ IPD เป็นศัพท์ที่หมายถึง การรักษาแบบแอดมิดหรือค้างคืนที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ชดเชยรายได้ เป็นคำศัพท์ที่จะมาพร้อมกับ IPD (ผู้ป่วยใน) เป็นการชดเชยค่าเสียโอกาส ชดเชยรายได้ในขณะแอดมิดในโรงพยาบาล โดยจ่ายตามจำนวนวันที่แอดมิด ซึ่งนับจากระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลนานกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ระยะเวลาไม่คุ้มครอง หรือ Waiting Periods เป็นศัพท์ที่หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่ประกันไม่คุ้มครอง โดยกำหนดนับตั้งแต่วันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ครั้งแรก
  • ความรับผิดชอบส่วนแรก หรือ Deductible ความเสียหายส่วนแรก บางกรมธรรม์จะมีระบุให้ผู้เอาประกันร่วมแบ่งปันความเสี่ยง

ซึ่งการพิจารณาการซื้อประกันเพิ่มเติมนั้นต้องมีการวางแผนอย่างครบถ้วน ลองเปรียบเทียบความคุ้มค่าที่คุ้มครองครบ เพื่อผลประโยชน์ที่สูงสุดของเราในฐานะผู้เอาประกันนั้นเอง

 

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top