NOTE:
– นอกเหนือจากสิงคโปร์ รัฐบาลของเนเธอร์แลนด์มีแผนที่จะสร้างเมืองใต้ดิน ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ด้วยงบประมาณสูงถึง 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ด้วยเช่นกัน
– สาเหตุที่สิงคโปร์ต้องเร่งพัฒนาเมืองใต้ดิน อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยสิงคโปร์มีพื้นที่ทั้งหมดเพียง 719 ตารางกิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่ากรุงเทพฯของไทยเกือบเท่าตัว(กรุงเทพฯมีพื้นที่ทั้งหมด 1,569 กิโลเมตร)
– พื้นที่ของสิงคโปร์ไม่ได้เป็นเกาะใหญ่เกาะเดียวแบบที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจ โดยสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 63 หมู่เกาะ ซึ่ง เกาะที่ใหญ่และมีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “เกาะเซ็นโตซ่า” ที่นักท่องเที่ยวต่างคุ้นหูกันดี
ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ส่งผลให้ทรัพยากรบนโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ จะเห็นได้จากการเติบโตของอาคารประเภท “Vertical Living” ในสังคมเมืองที่รายล้อมไปด้วยตึกน้อยใหญ่ตั้งตระหง่านเพื่อรองรับทุกวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
“สิงคโปร์” ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาทางด้านทรัพยากรอันเนื่องจากการมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ความที่เป็นประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กเพียง 719 ตารางกิโลเมตร ซึ่งสวนทางกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องราวๆเกือบ 7 ล้านคน ทางภาครัฐจึงต้องเตรียมมาตรการรองรับการเพิ่มจำนวนของประชากรด้วยการจัดตั้งสำนักงานธรณีวิทยาขึ้นเพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่อยู่อาศัยลงไปในใต้ดิน
ด้วยเหตุนี้เอง “กองงานอาคารและการก่อสร้างแห่งสิงคโปร์” (The Building Construction Authority หรือ BCA) จึงได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อศึกษาองค์ประกอบของชั้นดินในพื้นที่ต่างๆรอบเกาะสิงคโปร์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 2010 โดยการขุดอุโมงค์ใต้ดินความลึกราวๆ 200 เมตร เพื่อหาชั้นดินที่เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยของประชากรในอนาคต
ซึ่งในปัจจุบันโครงการใต้ดินต่างๆในสิงคโปร์ส่วนใหญ่นั้นถูกใช้เป็นเพียงแค่คลังสินค้า เช่น “โครงการอุโมงค์ใต้มารีน่าเบย์” ที่เป็นโครงการอุโมงค์สำหรับสายเคเบิ้ลเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม สายไฟ ท่อปะปาและท่อน้ำทิ้ง หรือ “โครงการจูร่งร็อค แคเวิร์น” ที่เป็นโครงการอุโมงค์ใต้ทะเลลึก เพื่อใช้เก็บน้ำมันและเชื้อเพลิงต่างๆกว่า 9 ล้านบาร์เรล โดยรัฐบาลได้เตรียมแผนนำร่องที่จะพัฒนาโครงการใต้ดินอื่นๆที่มีอยู่ให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยนอกเหนือจากการถมทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่ตัวเมืองที่ได้ทำมาแล้วก่อนหน้า
โดยพื้นที่ใต้ดินส่วนใหญ่ที่สำรวจจะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนหลัก ดังนี้
– ชั้นแรกสุด (ความลึกจากผิวดินลงไป 20 เมตร) เหมาะแก่งานระบบ เช่นการวางท่อปะปาและท่อก๊าซ
– ชั้นที่สอง (ความลึก 15 – 40 เมตร) เหมาะแก่การอยู่อาศัยหรือสร้างสำนักงาน สถานีรถไฟ ศูนย์การค้า ที่จอดรถ
– ชั้นที่สาม (ความลึก 30-130 เมตร) เป็นส่วนที่ลึกที่สุดไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัย สามารถพัฒนาเป็นอุโมงค์สำหรับเก็บสินค้า น้ำมัน หรือสารเคมีอื่นๆ
อนึ่งโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในเมกะโปรเจคของสิงคโปร์ที่ถูกพัฒนาร่วมกับการป้องกันน้ำท่วมประเทศอันเนื่องมาจากปัญหาโลกร้อนที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: http://th.aectourismthai.com/tourismhub/1124