NOTE:
– ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากสถานีมักกะสัน–พัทยา อยู่ที่ 270 บาท ส่วนค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากสถานีมักกะสัน–อู่ตะเภา อยู่ที่ 330 บาท
– สถานีมักกะสันและสถานีศรีราชา ถือเป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงและมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์
ไม่ว่าจะเดินทางไปสนามบินไหนก็สะดวกสบายรวดเร็วไม่มีตกเครื่องอีกต่อไป เมื่อคณะกรรมการ EEC ได้มีมติเห็นชอบโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทาง 220 กิโลเมตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลังจากที่เป็นโครงการในอนาคตมาหลาย 10 ปี ก็ถึงวันที่ประเทศไทยรุดหน้าไปอีกขั้น ด้วยการครอบคลุมเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินดอนเมือง–สนามบินอู่ตะเภา รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้แก่
1. รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง–พญาไท (กำลังสร้าง) วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
2. รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท–สนามบินสุวรรณภูมิ (เสร็จสิ้นแล้ว) วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง
3. รถไฟความเร็วสูง สนามบินสุวรรณภูมิ–สนามบินอู่ตะเภา (ปรับจากแผนเดิมของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก (ลาดกระบัง–ระยอง วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
ซึ่งสถานีรถไฟความเร็วสูงจุดจอดจะมีทั้งหมดจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
ถ้าโครงการแล้วเสร็จจะสะดวกสบายแค่ไหน
– โดยปกติถ้าเราขับรถจากสุวรรณภูมิไปพัทยาจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 27 นาที แต่ถ้าเรานั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปจะใช้เวลาประมาณแค่ 30 นาทีเท่านั้น สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการเดินทางเมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่น
– สามารถเดินทางเชื่อมต่อสนามบินได้ถึง 3 ท่าอากาศยาน คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา สมมุตว่าเกิดเหตุฉุกเฉินคุณไปผิดสนามบิน ก็ยังสามารถกลับตัวกลับใจไปขึ้นเครื่องได้ทัน (ในกรณีที่คุณเผื่อเวลาเดินทางเยอะ)
– ไม่ได้เอื้อเฉพาะผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังสนามบิน แต่ยังใช้ได้กับบุคคลที่จะเดินทางไปพื้นที่ใกล้เคียงได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย ในทางอ้อม ก็เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนอยากออกไปเที่ยวต่างจังหวัดมากขึ้น
– บริเวณพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันจะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานาครกับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา
– เมื่อคนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น ถือเป็นการลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลทางอ้อม ลดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมและลดอุบัติเหตุบนถนน เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีระบบควบคุมที่มีความปลอดภัยสูง จึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยมาก
แผนปฏิการณ์ทั้งหมดจะเริ่มต้นขึ้น
– เมษายน 2561- ประกาศเชิญชวนนักลงทุน
– เมษายน–สิงหาคม 2561 – ให้เอกชนเตรียมเอกสารยื่นข้อเสนอ
– ตุลาคม 2561 – ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก
– ธันวาคม 2561- ลงนามในสัญญา
– พ.ศ. 2566 – เปิดให้บริการ
แม้จะต้องใช้เวลาถึง 5 ปีในการสร้างนับจากวันนี้ แต่อย่างน้อยการอดทนรอก็คุ้มค่าเมื่อเสร็จสิ้น เพราะรถไฟความเร็วสูงจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และลดมลพิษ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้มากทีเดียวครับ
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development