Article by Terrabkk
เป็นอีกหนึ่งโครงการระดับชาติที่คนทั้งประเทศต้องจับตามองและไม่ควรมองข้าม สำหรับ PPP Fast Track หรือ มาตรการเร่งรัดโครงการร่วมลงทุนระหว่างกิจการในรัฐกับเอกชน ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานการเดินทางลดระยะเวลาการดำเนินลดลงกว่า 1 ปี
เป็นที่เข้าใจดีว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ของภาครัฐ ถือเป็นปัจจัยการลงทุนสำคัญที่สุดอันหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ส่งผลระยะยาวให้เกิดการเติบโตของรายได้ประชาชาติในอนาคต (GDP) ซึ่งผู้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากสิ่งเหล่านี้ ก็คือ “ประชาชน”
สำหรับมาตรการเร่งรัดโครงการร่วมลงทุนระหว่างกิจการในรัฐกับเอกชน (PPP Fast Track) อีกแนวคิดหนึ่งที่ถูกเลือกเป็นเครื่องมือในการกำหนดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัวในช่วงปี 2558 – 2559 นี้ เพราะไม่เพียงจะก่อให้เกิดความรวดเร็วในการอนุมัติโครงการ แต่ยังสร้างการกระจายเม็ดเงินลงทุนได้รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย
สำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์นั้น มองว่าโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประชาชน ซึ่งเป็นผู้บริโภคและผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะผู้ที่เลือกใช้ชีวิตในคอนโดฯ ตามแนวรถไฟฟ้า จากการเดินทางที่สะดวกสบาย เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมที่ไร้รอยต่อยิ่งกว่า อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งบนถนนที่มีพื้นที่จํากัด และไม่อาจขยายออกไปได้ในเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานครที่นับวันจะมีแต่แออัดเพิ่มมากขึ้นแล้ว ตลอดจนช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมันจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลอีกด้วย
นอกจากนี้เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังจะสามารถลดปริมาณรถยนต์จากชานเมืองเข้ามาในเขตกลางเมือง ช่วยปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ตามแนวเส้นทาง และพื้นที่ข้างเคียงโดยช่วยลดปริมาณมลพิษในอากาศและเสียงจากการจราจรบนถนน เรียกว่าได้ประโยชน์หลายต่อจากหลายทาง
สำหรับมาตรการ PPP Fast Track ได้อนุมัติโครงการเร่งด่วนแล้วจำนวน 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 334,207 ล้านบาท ประกอบด้วย 5 เมกะโปรเจ็คต์
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี มีมูลค่าโครงการ 56,725 ล้านบาท
มีจุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ บริเวณใกล้แยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์จนถึงห้าแยกปากเกร็ด และไปสิ้นสุดสถานีปลายทางบริเวณใกล้แยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งจะบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางกะปิ-มีนบุรี รวม 30 สถานี ระยะทางทั้งสิ้น 34.5 กิโลเมตร
ขอบคุณรูปภาพ จาก www.mrta.co.th
https://www.mrta.co.th/th/publicat/brochure/ARTWORK_PINK_BROCHURE%202.pdf
2. โครงรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง มีมูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
แบ่งเส้นทางโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว–พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ–สำโรง เส้นทาง โดยทั้ง 2 ช่วงได้รวมเป็นเส้นทางเดียวกันตลอดทั้งสายทางและระบบที่ใช้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail)
ขอบคุณรูปภาพ จาก www.mrta.co.th
https://www.mrta.co.th/th/publicat/brochure/ARTWORK_YELLOW_BROCHURE.pdf
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มูลค่าโครงการ 82,600 ล้านบาท ซึ่งก่อสร้างไปแล้วกว่า 70% คาดว่าแล้วเสร็จ ปี 2562
ซึ่งก่อสร้างไปแล้วกว่า 70% คาดว่าแล้วเสร็จ ปี 2562 รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค
ภาพปัจจุบันการก่อสร้าง รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีวัดมังกร ณ 2 เม.ย. 59
ภาพจำลองบรรยากาศภายในสถานีวัดมังกร เป็นสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปตุเกริซ โดยนำสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับรูปแบบยุโรป
ขอบคุณรูปภาพ จาก ประชาสัมพันธ์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
https://www.facebook.com/prpmc.blueline/photos/pb.802468283107715.-2207520000.1459781845./1041168252571049/?type=3&theater
ภาพปัจจุบันการก่อสร้าง รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน บริเวณสถานีสนามไชย ณ 2 เม.ย. 59
ภาพจำลองบรรยากาศภายในสถานีสนามไชย ภายในออกแบบลักษณะท้องพระโรง สมัยรัตนโกสินทร์ ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมไทยวิจิตรตระการตา
ขอบคุณรูปภาพ จาก ประชาสัมพันธ์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
https://www.facebook.com/prpmc.blueline/photos/pb.802468283107715.-2207520000.1459781564./1061262060561668/?type=3&theater
รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ
ภาพจำลองแนวรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ
ช่วงข้ามแม่น้ำเข้าพระยา ระหว่างสถานีบางโพ – สถานีบางอ้อ
ขอบคุณรูปภาพ จาก www.mrta-blueline.com
http://www.mrta-blueline.com/pages/5052c36fd0fc7ac072000008
4. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางประอิน – นครราชสีมา มูลค่าโครงการ 84,600 ล้านบาท
เป็นทางหลวงพิเศษที่สามารถแบ่งเบาการจราจรทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) โดยโครงสร้างพื้นฐานสำคัญนี้จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างฐานการผลิตและส่งออกของประเทศไทยเข้ากับสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดจีน
5. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี มีมูลค่าโครงการ 55,620 ล้านบาท
เป็นการก่อสร้างทางแนวใหม่ตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษ มีจุดเริ่มต้นที่แยกต่างระดับบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ผ่านพื้นที่นครปฐม ราชบุรี สิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลข 324 อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร
ทั้งนี้ส่วนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 โครงการ จะมีการประกวดราคาให้ทันในช่วงไตรมาสที่ 3 – 4 ของปี 2559 นี้
แต่ข่าวที่ดียิ่งกว่า คือ ในการประชุม “คจร.-คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก” นัดแรก 15 มี.ค.ที่ผ่านมา สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ สั่งให้ รฟม.เร่งรัดประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองโดยเร็ว ให้เลื่อนจากแผนเดิมที่ รฟม.กำหนดไว้ในเดือน พ.ค. เป็นเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้แทน
นั่นหมายความว่า เราจะได้โอกาสใช้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่นี้เร็วขึ้น ทั้งหมดนี้ย่อมนำมาสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นอีกด้วย
ติดตามบทความอัพเดตสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog #Anandamasstransit
สมัครสมาชิกเพื่อติดตามและรับข่าวสารหรือร่วมกิจกรรมดีๆกับเราทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog ได้ที่ http://bit.ly/2aEMxIJ