อาการท้องไม่รู้ตัว เรื่องที่มีอยู่จริง และผู้หญิงหลายคนอาจยังไม่เข้าใจ
อาการท้องไม่รู้ตัวอาจแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน เนื่องจากร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่แตกต่างกัน ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการแพ้ท้องหนักระหว่างตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย การเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการขึ้นของน้ำหนักตามปกติ ส่วนอาการท้องอืดก็เกิดได้จากหลายปัจจัย ทำให้กลายเป็นปัญหาทั่วไปที่ไม่น่าคิดมาก แล้วพาให้ผู้หญิงหลายคนที่ยังไม่เคยท้องมาก่อน เข้าใจผิดได้ง่าย
8 ปัจจัยที่ทำให้ว่าที่คุณแม่มีอาการคนท้องไม่รู้ตัว ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
ความกังวลอย่างหนึ่งที่มักเกิดขึ้นกับผู้หญิง โดยเฉพาะว่าที่คุณแม่มือใหม่ คือ อาการท้องไม่รู้ตัว ในความเป็นจริง การไม่รู้ว่าตัวเองท้องในช่วงแรก ๆ ถือเป็นเรื่องปกติมาก ซึ่งผู้หญิงบางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองท้องจนกระทั่งใกล้คลอด เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพียงเล็กน้อย อาการคนท้องออกไม่ชัด จึงไม่สามารถระบุได้ในช่วงแรก อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจึงถูกมองข้ามไป ทำให้เกิดคำถามท้อง 1 สัปดาห์ ตรวจเจอ ไหม ซึ่งถ้ารับการตรวจที่ไม่เหมาะสมผลก็อาจออกมาเป็นผลหลอกที่พาให้เข้าใจผิดมากขึ้น โดยปัจจัยที่ทำให้ว่าที่คุณแม่มือใหม่มีปัญหาอาการท้องไม่รู้ตัว คือ
1.ไม่มีอาการแพ้ท้อง
ถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงบางคนจะมีอาการท้องไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกและไม่เคยรับรู้อาการใด ๆ ของคนท้องมาก่อน ทั้งยังไม่มีอาการแพ้ท้องอีกด้วย จึงขาดความรู้ ความเข้าใจ จากการที่ไม่เคยมีอาการท้องมาก่อน จึงไม่รู้ว่าจริง ๆ ว่าอาการเตือนแบบจริงจัง เป็นอย่างไร?
2.ประจำเดือนขาดแทบทุกเดือนมาอยู่แล้ว
ผู้หญิงหลายคนประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติอยู่แล้ว ทำให้กลายเป็นอาการท้องไม่รู้ตัว ทั้ง ๆ ที่ประจำเดือนไม่มา สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าประจำเดือนไม่มา เกิดได้จากสาเหตุหลายประการ และไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป จึงทำให้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนี้ยิ่งเข้าใจผิดว่าไม่ได้ท้องมากขึ้น
3.ชุดทดสอบออกผลไม่ชัดเจน
ผลการทดสอบการตั้งครรภ์เป็นลบ ถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวพอสมควร ซึ่งเป็นไปได้ว่าแม้ใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์แล้ว สาเหตุที่ตรวจไม่พบก็อาจเกิดจากการทดสอบเร็วเกินไป แนะนำให้รอสัก 1-2 สัปดาห์ก่อนทดสอบซ้ำ ผู้หญิงหลายคนประสบปัญหาการเลือกซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาใช้เองที่บ้าน แต่ดำเนินการอไม่ถูกต้อง ไม่ทำตามคำแนะนำ หรือทำพลาด ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ไม่แม่นยำ กลายเป็นผลลวง จึงทำให้คิดว่าไม่ได้ท้องไปในที่สุด
4.การคุมกำเนิดไม่ดีเพียงพอ
ใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ดีพอ จึงไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% เช่น การใช้ถุงยางอนามัยไม่ได้มาตรฐาน การใช้ถุงยางซ้ำ หรือการกินยาคุมผิดวัน เป็นต้น ดังนั้น การตระหนักถึงข้อจำกัดของวิธีคุมกำเนิดและพิจารณาการใช้ให้ดี จะป้องกันอาการท้องไม่รู้ตัวได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว
5.ไม่รู้การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้หญิงแต่ละคน ช่วงระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจแตกต่างกันมาก ทำให้ยากต่อการสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจการเปลี่ยนแปลงร่างกายอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งแม่และลูกจะมีสุขภาพแข็งแรง การคอยระวังและสังเกตอยู่เสมอ จะช่วยให้เข้าใจและจัดการกับปัญหาอาการท้องไม่รู้ตัวได้ดีขึ้น
6.ท้องสาวไม่ใหญ่จนไม่ทันรู้
ขนาดของหน้าท้องมีขนาดเล็กมาก แม้ว่าจะตั้งครรภ์มาหลายเดือนแล้วก็ตาม มักเกิดกับท้องสาวหรือท้องแรกของผู้หญิงโดยส่วนใหญ่ ยิ่งถ้าว่าที่คุณแม่ไม่รู้ว่ามีลูกในท้อง แล้วยังคงกินเท่าเดิมหรือกินน้อยลง ยิ่งทำให้ทารกในครรภ์ตัวเล็ก ท้องก็ยิ่งเล็กลงไปอีก จึงนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าแค่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่านั้น
7.ไม่คิดว่าจะตั้งครรภ์
โดยทั่วไปเชื่อกันว่าโอกาสตั้งครรภ์จะยากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสตั้งครรภ์ลดลงมากในผู้หญิงวัย 35-40 ปีขึ้นไป ทำให้ขาดความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แล้วกลายมาเป็นอาการท้องไม่รู้ตัวในที่สุด
8.เข้าใจว่าเป็นโรคกระเพาะ
การแพ้ท้องที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียมาก ท้องอืด และหงุดหงิด มักเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน ความเครียดสะสม ท้องผูก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ อาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น ว่าที่คุณแม่บางคนจึงอาจไม่รู้ว่าเป็นการตั้งครรภ์
5 วิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ ด้วยอาการเริ่มต้นของว่าที่คุณแม่ รู้แล้วควรรีบพบแพทย์
อาการคนท้องแรกๆ แตกต่างกันไปในแต่ละคน และอาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง บางคนอาจไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเลย ส่วนอาการแพ้ท้องเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ หลังการปฏิสนธิ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายประการ ดังนั้น จึงขอแนะนำวิธีสังเกตว่าท้อง หรือไม่ แบบเบื้องต้นให้ได้นำไปลองตรวจสอบร่างกาย ก่อนจะเกิดอาการท้องไม่รู้ตัว ดังนี้
1.มีเลือดออกเล็กน้อย คล้ายประจำเดือน
เลือดที่ออกจากช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์ เป็นอาการทั่วไปที่ผู้หญิงอาจพบในช่วงไตรมาสแรก หลังจากการปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะฝังตัวในผนังมดลูก ทำให้เกิดเลือดออกจากช่องคลอด โดยไม่มีอาการปวดท้องหรือตะคริวร่วมด้วย สิ่งสำคัญคือไม่ใช่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทุกคนที่จะพบเลือดออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน แต่หากเลือดออกจากช่องคลอดไม่หยุดและมีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง อาจบ่งชี้ถึงภาวะที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก เลือดออกใต้เยื่อหุ้มรก หรือการแท้งบุตร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
2.ปวดและเวียนศีรษะง่าย
อาการปวดหัวและเวียนศีรษะ เป็นอาการทั่วไปของอาการแพ้ท้อง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ร่วมกับการไหลเวียนโลหิตที่เพิ่มขึ้น ความรุนแรงของอาการปวดหัวในระหว่างตั้งครรภ์ อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน สาเหตุที่ทำให้อาการปวดและเวียนศีรษะรุนแรงขึ้นแบบไม่เคยเป็นมาก่อน คือ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการเลิกคาเฟอีน หากยังคงมีอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
3.ปวดหน่วงท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เป็นอาการทั่วไปที่ผู้หญิงหลายคนประสบ มักเป็นอาการเตือน คน เริ่ม ท้อง 1 สัปดาห์ หลังการปฏิสนธิ และอาจแสดงอาการปวดปวดจี๊ดหรือปวดเกร็งที่ท้องน้อย คล้ายกับอาการปวดประจำเดือน อาการเหล่านี้เกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการขยายตัวของมดลูกเมื่อทารกเติบโต โดยจะเป็นต่อเนื่อง 2-3 วันแล้วจึงค่อยเบาลง แต่อาการปวดเกร็งที่ช่องท้องอย่างรุนแรงหรือปวดเกร็งที่ด้านใดด้านหนึ่ง อาจบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอย่างละเอียด
4.มีตกขาวออกมาจำนวนมาก
ตกขาวคนท้องระยะแรกจะมีมากกว่าปกติ ถือเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงตั้งครรภ์ เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป ส่งผลให้มีการหลั่งสารต่าง ๆ มากขึ้นผ่านช่องคลอด ทำให้มีความชื้นสะสมและอาจทำให้แบคทีเรียหรือเชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไปในช่องคลอด ตกขาวที่ผิดปกติอาจเกิดขึ้นแทนที่รอบเดือน ตกขาวที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์จะมีลักษณะเป็นมูกใส ไม่มีกลิ่น เป็นสีขาว หรือขุ่นเล็กน้อย โดยไม่มีอาการคัน หากตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือมีอาการคันร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ทันที
5.เริ่มคัดเต้านม
อาการเต้านมคัดตึงหรือที่เรียกว่าการไหลของน้ำนมเหลือง เป็นอาการที่พบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด แต่ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ก็สามารถประสบปัญหานี้ได้เช่นกัน โดยอาการตั้งครรภ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการก่อนมีประจำเดือน เช่น รู้สึกว่าเต้านมคัดตึง เต้านมเจ็บ เต้านมขยายใหญ่ขึ้น จนทำให้ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นไม่ได้ ลานนมคล้ำขึ้น และผิวหนังรอบเต้านมตึงขึ้นจนมองเห็นเส้นเลือด
อาการท้องไม่รู้ตัว ไม่ใช่เรื่องผิด แต่เมื่อรู้แล้วควรรีบตรวจสอบให้ชัดเจน
หากคุณไม่อยากมีอาการท้องไม่รู้ตัว ขอแนะนำให้ทำการทดสอบการตั้งครรภ์เบื้องต้น เนื่องจากผู้หญิงกำลังท้องจะมีฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) ซึ่งสามารถระบุได้ว่าตั้งครรภ์จริงหรือไม่ เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินไปเกิน 12 สัปดาห์ ระดับของ HCG จะเพิ่มขึ้น ทำให้ตรวจพบได้ง่ายขึ้น มีความแม่นยำ แต่การทดสอบภายใน 6 วันหลังมีเพศสัมพันธ์อาจทำได้ยาก เนื่องจากระดับฮอร์โมน HCG ยังคงต่ำอยู่ เวลาที่แม่นยำที่สุดในการทดสอบ คือ ระหว่าง 8-14 วันหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยแนะนำให้ตรวจปัสสาวะทันทีในตอนเช้า
แต่หากต้องการผลที่แม่นยำและชัดเจน ไม่ต้องเสี่ยงอาการท้องไม่รู้ตัว ขอแนะนำให้เข้ารับการทดสอบการตั้งครรภ์อีกครั้งโดยแพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาล จะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่าเมื่อเทียบกับการทดสอบเองที่บ้าน มีวิธีการทดสอบต่าง ๆ ให้เลือก เช่น การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ และการอัลตราซาวนด์ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ