เช็คลิสต์สิทธิ์ลดหย่อนภาษีฉบับมนุษย์เงินเดือน

หนึ่งในหน้าที่ของคนที่มีรายได้หรือมนุษย์เงินเดือนแบบเราทุกคนก็คือ เมื่อมีรายได้แล้วต้องมีการจ่ายภาษีให้รัฐ แต่ส่วนที่โดนหักภาษีไปเราสามารถประหยัดภาษีเพิ่มได้โดยตรวจสอบการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ซึ่งยังมีสิทธิ์ลดหย่อนที่มาในรูปแบบลักษณะการออมหรือการลงทุนที่สามารถเอื้อประโยชน์ให้เราได้เก็บเงินเพิ่ม และอาจได้ผลกำไรจากการลงทุนเช่นกัน และช่วงปลายปีแบบนี้ใกล้เข้าสู่เทศกาลลดหย่อนภาษีอีกครั้ง อนันดาอยากชวนมนุษย์เงินเดือนทุกคนเตรียมตัวเพื่อประหยัดภาษีกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ไม่พลาดสิทธิ์ มาเช็คดูกันเลยว่าจะมีสิทธิ์อะไรบ้าง

ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  • คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรรวมสูงสุดไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนภาษีบุตร คนละ 30,000 บาท (บุตรที่เรียนอยู่และอายุไม่เกิน25ปีคนละ30,000 / บุตรตั้งแต่คนที่ 2 และเกิดปี 2561 เป็นต้นไป คนละ 60,000 บาท
  • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรสคนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
  • ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพ คนละ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกันสะสมทรัพย์และการลงทุน

  • เงินประกันสังคม สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ (ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป) ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทและเมื่อรวมกับประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF : Retirement Mutual Fund)* สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF : Super Saving Funds)* สามารถนำมาลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)* / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน* สามารถนำมาลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)* ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)* ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) * สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นหรือธุรกิจ Social Enterprise ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

* ลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
  • เงินบริจาคให้กับพรรคการเมือง นำมาลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

  • โครงการช้อปดีมีคืน 2566 สามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับค่าซื้อสินค้าและบริการในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566 ตามที่จ่ายจริง
  • ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด และอาคาร เป็นต้น สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top