The era of global boiling has arrived คำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติ (United Nations) ที่ประกาศสื่อสารให้ทั่วโลกเข้าใจตรงกันว่าปัจจุบันโลกของเราได้สิ้นสุด ‘ยุคโลกร้อน’ (Global Warming) และกำลังเข้าสู่ ‘ยุคโลกเดือด’ (Global Boiling) แล้วนั่นเอง ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่น่ากลัว อุณหภูมิที่เพิ่มสูงจนทำให้เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมากลายเป็นเดือนที่ร้อนสุดในประวัติการณ์ สถานการณ์ไฟป่าที่รุนแรง และนั่นกำลังทำให้มนุษย์กำลังตกที่นั่งลำบากได้
ยุคโลกเดือด (Global Boiling) ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็หมายถึงน้ำที่เดือดปุดๆ เหมือนถูกตั้งอยู่บนไฟตลอดเวลา ซึ่งถ้าเราไม่หยุดภาวะการเดือดนี้ก็อาจส่งผลให้อุณหภูมิโลกทะลุสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้ และมีปรากฏการณ์ที่เป็นผลกระทบชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น
- อุณหภูมิของมหาสมุทรและน้ำทะเลสูงที่สุดและร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกได้
- ฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงสุดเป็นปรากฏการณ์ เช่น สหรัฐฯ อุณหภูมิสูง 46.6 องศา หรือภูมิภาคแอฟริกาเหนือมีอุณหภูมิสูงสุดแตะ 50 องศา
- สถานการณ์ไฟป่าที่รุนแรงหลายภูมิภาคทั่วโลก
แน่นอนว่าผลกระทบของ โลกเดือด (Global Boiling) มีผลกระทบแบบโดมิโน่ เรียกง่ายๆ ว่าทุกภาคส่วนของโลกไม่ว่าจะ มนุษย์, สัตว์ หรือธรรมชาติ จะมีผลกระทบอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
- อุณหภูมิความร้อนสูง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ, กลุ่มเปราะบาง หรือกลุ่มทำงานกลางแจ้ง ที่อาจเจ็บป่วยจากอากาศร้อนได้
- แล้งนาน อากาศแปรปรวน ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ทำให้ต้องวางแผนการจัดการน้ำ การดูแลปศุสัตว์ รวมถึงการวิจัยพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น
และด้วยเหตุนี้ Ananda จึงอยากชวนเพื่อนชาว Gen C มาร่วมมือกันเพื่อบรรเทาภาวะโลกเดือดที่กำลังเกิดขึ้น และควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสด้วยกัน
วางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ นอกจากในภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันช่วยลดการปล่อยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่อากาศ ในภาคประชาชนอย่างเราก็มีส่วนช่วยได้เช่นกัน เราลองมาดูกันว่าในชีวิตประจำวันเราจะสร้าง Mission ให้เราช่วยกันปล่อย Zero Emission ได้รูปแบบไหนบ้าง?
- ประหยัดไฟหรือใช้พลังงานสะอาด
เป็นรูปแบบการช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ที่ง่ายและใกล้ตัวเรามากที่สุด อ้างอิงจากกิจกรรมรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมงทั่วกรุงเทพฯ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ถึงหนึ่งพันตันเลยทีเดียว - ใช้รถขนส่งสาธารณะ
สำหรับเพื่อนๆ ที่เดินทางในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑลเป็นหลัก สามารถเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรือหากเดินทางระยะทางใกล้ๆ ก็สามารถเลือกใช้จักรยาน, การเดินแทนการขับรถ ก็จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้เช่นกัน - ลดขยะให้โลก
ไม่ว่าจะเป็น Plastic Single Use, Fast Fashion หรือ Food Waste เราควรเลี่ยงพฤติกรรมที่จะมีแนวโน้มสร้างขยะให้โลกมากขึ้น หันมาใช้ถุงผ้า พกกล่องอาหาร รวมถึงใส่เสื้อผ้าให้นานยิ่งขึ้น แน่นอนว่ามีส่วนช่วยลดการผลิตใหม่นั่นเอง - เปลี่ยนที่ว่างเป็นลานปลูก
ปลูกต้นไม้กันคนละ 1 – 2 ต้นต่อห้อง หรือเติมพืชพรรณสีเขียวให้กับมุมบ้านเพื่อมุ่งหวังให้ต้นไม้ช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์อีกแรงหนึ่ง
และสำหรับเพื่อนๆ คนไหนมีทริคการดูแลโลกที่น่าสนใจ มีแนวทาง Sustainability ที่อยากแชร์กับชาว Gen C ในบล็อกนี้ก็เปิดพื้นที่ให้มาคอมเมนต์ส่งต่อทริคกันได้เลย