ถอดความหมายบทเพลง “สรรเสริญพระบารมี”

ถอดความหมายบทเพลง “สรรเสริญพระบารมี”

NOTE:
– “สรรเสริญพระบารมี เคยถูกใช้เป็นเพลงชาติของประเทศไทยในระหว่างปี .. 2431 – 2475
– ก่อนหน้าที่จะมีเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น ประเทศไทยได้ใช้เพลง “God Save the King” ของสหราชอาณาจักร เป็นบทเพลงบรรเลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์
– “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องประกอบทำนองของเพลงสรรเสริญพระบารมีขึ้นในปี .. 2431

ถือเป็นอีกหนึ่งเพลงที่พสกนิกรทุกคนในประเทศต้องร้องได้สำหรับ เพลงสรรเสริญพระบารมี บทเพลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ของไทย แต่ใครจะรู้ว่าในอดีตเพลงนี้เคยถูกใช้แทนเพลงชาติไทยในช่วงปี .. 2431 – 2475 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นต้นมา

1710TR09-03พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยจุดเริ่มต้นของบทเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้น สืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการใช้เพลง “God Save the King” ในการบรรเลงถวายความเคารพแด่องค์กษัตริย์ตามแบบอย่างธรรมเนียมการฝึกทหารจากทางฝั่งสหราชอาณาจักร ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” (รัชกาลที่ 5) ที่มีการเดินทางติดต่อกับต่างแดน เช่นการเสด็จประพาสเกาะชวาและเมืองสิงคโปร์ในช่วงปี .. 2414 ทหารที่นั่นก็ได้ใช้เพลง God Save the King บรรเลงเป็นเพลงพระเกียรติเพื่อรับเสด็จเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำซ้อนกันนี้ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงรับเสด็จขึ้นใหม่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

1710TR09-01พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร)

ซึ่งในช่วงเริ่มของเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นใช้ เพลงบุหลันลอยเลื่อน ที่มีการเรียบเรียบทำนองดนตรีขึ้นใหม่ในปี .. 2414 ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ พระประดิษฐไพเราะ” (มี ดุริยางกูร) ได้ดัดแปลงมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่าแล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในปี .. 2416 แทน โดยในปี 2431 ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ นักประพันธ์ดนตรีชาวรัสเซียได้นำมาเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตก และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบทำนองพร้อมออกบรรเลงต่อหน้าสาธารณะชนครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการ

1710TR09-02สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

ทั้งนี้เนื้อร้องของเพลงสรรเสริญพระบารมีในปัจจุบันนั้น พระองค์ได้ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และได้มีการดัดแปลงเนื้อความตอนท้ายจากคำว่า ฉะนี้ เป็น ชโย ในสมัยรัชกาลที่ 6

ภายหลังการปฏิวัติสยาม .. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีจึงไม่ได้ถูกใช้ในฐานะเพลงชาติไทยอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นเพลงที่แสดงถึงการสรรเสริญพระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทยจวบจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งในหนังสือ คุณานุคุณไตรภาค ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ถอดความหมายของเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้งหมดไว้ดังต่อไปนี้

ข้าพระพุทธเจ้า ขอกราบถวายบังคมด้วยหัวใจและด้วยเศียรเกล้า

[ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน]

แด่พระผู้อภิบาลรักษาแผ่นดิน ผู้เพียบพร้อมด้วยบุญคือคุณความดีอันรุ่งเรือง

[นบพระภูมิบาล บุญดิเรก]

ทรงเป็นที่หนึ่ง และทรงเป็นที่สุดในบรรดาผู้มีจักรคือพระราชาทั้งปวง ทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในสยาม มีพระเกียรติยศอย่างยอดยิ่งและยั่งยืน

[เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง]

ความร่มเย็นที่อยู่เหนือหัว(ราษฏร)ก็เพราะพระองค์ทรงดูแลรักษา

[เย็นศิระเพราะพระบริบาล]

ผลแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้รักษาป้องกัน

[ผลพระคุณ รักษา]

ประชาราษฎร์ทั้งปวงให้เป็นสุขและสันติ

[ปวงประชาเป็นสุขศานต์]

ขอจงดลบันดาลให้สิ่งที่พระองค์ต้องพระราชประสงค์ สำเร็จผลสมดังที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย

[ขอบันดาล ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย]

เหมือนชัยมงคลที่ถวายมานี้เทอญ

[ดุจจะถวายชัย ชโย]

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: https://th.wikipedia.org/wiki/สรรเสริญพระบารมี , http://www.majorcineplex.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top