ศูนย์การค้าเมกาบางนา คือ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สถานที่พบปะของคนเมืองหลวงฝั่งตะวันออกย่านบางนา, พระโขนง หรือ ประเวศ เป็นห้างสรรพสินค้าที่มีร้านค้ากว่า 900 ร้าน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ครบทุกประเภทตั้งแต่เด็กถึงวัยชรา
เมกาบางนานั้นเป็นทั้งแหล่งช้อปปิ้ง ซื้อของใช้สอยภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น โรบินสันและบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน เช่น อิเกียและโฮมโปร , สินค้าด้านแฟชั่น ความงาม หลากหลายสไตล์, ให้บริการความบันเทิงต่าง ๆ อย่าง โรงภาพยนตร์เมกา ซีนีเพล็กซ์, บลูโอโบว์ลิ่งและซับซีโร่ไอซ์สเกต
นอกจากนี้ยังมีสถาบันการศึกษา, ร้านอาหารมากกว่า 165 ร้าน และหากต้องการพักผ่อนเมกาบางนา ยังมีสวนเมกา พาร์ค ให้ได้พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าในทุกโอกาส ทำให้เมกาบางนาเป็น ‘Meeting Place’ ของทุกคนในครอบครัว
พัฒนาการของเมกาบางนา
เมกาบางนานั้น เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2555 โดยเปิดให้บริการหลัง IKEA ที่เปิดสาขาแรกในไทยในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2554 เป็นศูนย์การค้าแบบ Low Rise หรือศูนย์การค้าแนวราบ แห่งแรกในไทย ซึ่งมีแค่ 2 ชั้น เพราะศูนย์การค้าในไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบ High Rise ที่มีประมาณ 4-7 ชั้น
เมกาบางนาคือศูนย์การค้าแห่งแรกที่อยู่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ ที่ยึดกลุ่มเป้าหมายเป็นคนกรุงเทพฯโซนนอกเมืองฝั่งตะวันออก รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงอย่าง ฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี นอกจากนี้ เมกาบางนา ยังเป็นห้างสรรพสินค้าแนวราบที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีพื้นที่รวม 577,000 ตารางเมตร โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เห็นได้จากการที่เมกาบางนามีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยถึง 3.5 ล้านคนต่อเดือน และแต่ละครั้งมียอดใช้จ่ายเฉลี่ยถึง 3,500-4,000 บาทต่อคน
ต่อมาด้วยความที่เดอะมอลล์กรุ๊ปมีแผนการสร้างศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในไทย โดยมาพร้อมงบลงทุนระดับ 50,000 ล้านบาท ทำให้เมกาบางนาขยายตัวเองเป็น เมกาซิตี้ เริ่มเปิดตัวใน พ.ศ. 2560 ด้วยงบลงทุนกว่า 60,000 ล้านบาทเช่นกัน และในปีเดียวกันเมกาบางนาได้เพิ่มอาคารจอดรถ 8 ชั้น เพื่อเพิ่มพื้นที่จอดรถ รวมทั้งสร้างถนนวงแหวนภายในเมกาบางนาเพื่อเสริมสภาพคล่องของการจราจร ให้ลูกค้าใช้บริการได้สะดวกมากขึ้นอีกด้วย
โดยเมกาซิตี้ได้พัฒนาไปกว่า 40% แล้ว ดังนั้น
- ขยาย “เมกา ฟู้ดวอล์ค” โดยเพิ่มร้านอาหารกว่า 30 ร้าน พร้อมที่อีกจอดรถ 1,200 คัน
- สร้างอาคารจอดรถอิเกีย 8 ชั้น เชื่อมต่อกับตึกอิเกียเดิมที่รองรับรถได้เพิ่ม 2,000 คัน ทำให้สามารถรองรับรถได้รวม 12,000 คัน
- ขยายโซน เมกา สมาร์ท คิดส์ ที่รวมสถาบันสอนเสริมทักษะกว่า 20 แห่งไว้ด้วยกัน
- สร้าง Mega Harborland สนามเด็กเล่นในร่ม
- เปิดโรงเรียนประถมศึกษานานาชาติ ดิษยะศริน กรุงเทพ
- สร้างสวนสาธารณะ เมกา พาร์ค
- Topgolf Megacity สนามไดรฟ์กอล์ฟที่เปิดให้บริการแล้วกว่า 6 ประเทศ และเป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ยังคาดว่าในเมกาซิตี้ จะเพิ่มโรงแรมอีก 3 โรงแรม เพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันอีกด้วย โดยคาดการณ์ว่า เมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ในหนึ่งวัน จะมีคนใช้บริการไม่ต่ำกว่า 250,000 คน
ใครเป็นเจ้าของเมกาบางนา
เจ้าของเมกาบางนานั้นเป็นการรวมทุนกันระหว่าง
- บริษัท อิคาโน่ รีเทล เอเชีย จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์ IKEA ในประเทศไทย
- บริษัท เอส.พี.เอส โกลเบิลเทรด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ให้กับ IKEA
- บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SF” ผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า
โดยทั้ง 3 บริษัทร่วมกันบริหารเมกาบางนาในชื่อของ “บริษัท เอสเอฟ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด” และปัจจุบัน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “SF” จึงทำให้กลุ่ม เซ็นทรัลพัฒนา กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของเมกาบางนา เช่นกัน
ผู้เช่าของเมกาบางนา
ร้านค้าต่าง ๆ ในเมกาบางนาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ผู้เช่าหลัก
เมกาบางนา มีผู้เช่าหลัก 5 ราย ประกอบด้วย
- IKEA ศูนย์จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์จากประเทศสวีเดนซึ่งเป็นแม่เหล็กชั้นดี ในการดึงดูดลูกค้า
- HomePro ศูนย์รวมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและของแต่งบ้าน
- Big C Extra แหล่งช้อปปิ้งสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
- เซ็นทรัล @ เมกาบางนา ที่เดิมเป็นห้างโรบินสัน
- Mega Cineplex โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์
ร้านค้าทั่วไป
เมกาบางนา กลุ่มร้านค้าทั่วไปเป็นผู้เช่า มากกว่า 900 ร้านค้า เช่น High-end Fashion Brand อย่าง Dior, YSL และ CHANEL, ร้านขายเครื่องสำอางมัลติแบรนด์ เช่น Sephora และ EVEANDBOY โดยเฉพาะร้านอาหารที่มีกว่า 165 ร้าน
Header Tag 2: อาคารทั้งหมดของเมกาบางนา
กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้เมกาบางนาเป็นที่นิยมของลูกค้านั้นคือ การคัดเลือกและผสมผสานร้านค้าผู้เช่าหรือ Tenant Mix ที่อยู่ในเทรนด์เข้ามาเปิดที่เมกาบางนาได้อย่างลงตัว สอดคล้องกับความชอบของลูกค้า เช่น
ชานม Fire Tiger และโรงเตี๊ยมเสือพ่นไฟ ร้านอาหารจีนโมเดิร์น, ร้านอาหารสไตล์เกาหลีอย่าง Chicken Club, ก๋วยเตี๋ยวเรือ Premium อย่าง ทองสมิทธิ์ รวมถึง Sushiro ร้านซูชิชื่อดัง และ The Coffee Academics ที่จะมีร้านเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เมกาบางนาเท่านั้น
โดยอาคารทั้งหมดของเมกาบางนา จะมีทั้งหมด 3 อาคาร คือ
- อาคารเมกา บางนา อาคารเมกา บางนา คือตัวศูนย์การค้า มีพื้นที่ทั้งหมด 3 ชั้น ยกเว้นอาคารอิเกียที่มี4ชั้น และอาคารจอดรถอิเกียที่มี 8 ชั้น โดยมีพื้นที่สำคัญ ๆ คือ อิเกีย สาขาแรกในไทย, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ออฟฟิศเมท, บิ๊กซี, ฟิตเนส เฟิร์สท์ และ โรงภาพยนตร์เมกา ซีนีเพล็กซ์ 15 โรง ซึ่งจะมีโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์เลเซอร์, โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก และโรงภาพยนตร์ระบบ 4DX อย่างละ 1 โรง
- อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ อาคารเมกาสมาร์ทคิดส์ ของเมกา บางนา คืออาคารศูนย์การค้าสามชั้นที่ขยายจากอาคารโฮมโปรออกมาเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจรสำหรับเด็ก โดยมีพื้นที่สำคัญ ๆ คือ โฮมโปร, สวนสนุก เมกา ฮาร์เบอร์แลนด์, ไบค์ เอ็กซ์เพรส และ สวนสาธารณะ เมกาพาร์ค
- อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา อาคารฟู้ดวอล์คพลาซา ของเมกา บางนา คือ อาคารศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ 3 ชั้นmujขยายจาก โซนฟู้ดวอล์คเดิม ที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์การค้า โดยมีพื้นที่สำคัญ ๆ คือ ท็อปส์ ฟู้ด ฮอลล์, สตาร์บัคส์ รีเซิฟ คอนเซปท์สโตร์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมกา บางนา, ท็อปกอล์ฟ เมกาซิตี้ รวมทั้ง อู่เมกาบางนา กลุ่มปฏิบัติการเดินรถที่ 3 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และ โรงเรียนนานาชาติดิษยะศริน กรุงเทพ อีกด้วย
นอกจากนี้อาคารนี้ในอนาคตยังจะมี อาคารสำนักงาน เมกา ออฟฟิศเศส, โรงแรม 3 โรงแรม, อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย เอ สเปซ เมกา และ เอ สเปซ เมกา 2 โดย เรียลแอสเสท และ อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย นาวว์ เมกา โดย อารียา พรอพเพอร์ตี้ ที่กำลังก่อสร้างอยู่อีกด้วย
นอกจากนี้ เมกาบางนา ยังมีพื้นที่สำหรับ Pop-Up Store ไว้สำหรับเปิดโอกาสให้แบรนด์ใหม่ ๆ มาหมุนเวียนกันมาเสนอผลิตภัณฑ์ที่อินเทรนด์เพื่อสร้างสีสัน รวมถึงมีพื้นที่สำหรับงานอีเวนต์ ที่จะเปลี่ยนธีมสินค้าตามเทรนด์และเทศกาลต่าง ๆ