เส้นทางสายสีชมพู มีกี่สถานี และเปิดบริการเมื่อไหร่มาอัปเดต!

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นอีกหนึ่งสายที่หลายคนจับตามอง เพราะเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมจากศูนย์ราชการนนทบุรี – มีนบุรี ระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตร มีจำนวน 30 สถานีหลัก + 2 สถานีต่อขยาย และเชื่อมรถไฟฟ้าเปลี่ยนสายได้ถึง 4 สายเลยทีเดียว ซึ่งก่อนจะได้ใช้งานจริงเรามาทำความรู้จักกับ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ในหลายๆ ด้านกันก่อนดีกว่า

เริ่มจาก รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรูปแบบรถไฟฟ้าแบบ ‘โมโนเรล’ หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว เหมือนกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยข้อดีของรถไฟฟ้าแบบ ‘โมโนเรล’ คือการรองรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก ประมาณ 28,000 คน/ทิศทาง แต่ก็มีข้อเสียสำหรับการใช้งานในเมืองอยู่ตรงความเร็วของการเดินรถสูงสุดอยู่ที่ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ถ้าต้องนั่งจนสุดสายอาจใช้เวลานาน แต่หากเทียบกับเวลาบนผิวจราจรที่ติดขัด การเลือกขึ้นรถไฟฟ้าอาจใช้เวลาน้อยกว่า และสะดวกสบายกว่านั่นเอง

รถไฟฟ้าสายสีชมพูจะพร้อมเปิดใช้งานได้เมื่อไหร่?

คำตอบนี้ยังไม่มีการระบุที่แน่ชัด แต่จากข้อมูลจะมีการแบ่งช่วงเปิดใช้งานออกเป็น 3 ช่วงดังนี้

  • ช่วงที่ 1 หลักสี่ – มีนบุรี แบ่งเป็น 17 สถานี กำหนดเปิด Q1/ปี 66
  • ช่วงที่ 2 ศูนย์ราชการนนทบุรี – ทีโอที แบ่งเป็น 13 สถานี กำหนดเปิด Q2/ปี 66
  • ช่วงที่ 3 ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี แบ่งเป็น 2 สถานี กำหนดเปิดปี 68

โดยช่วงเวลาการเปิดใช้บริการอาจมีการเปลี่ยนแปลง ติดตามข้อมูลได้ที่ www.mrta-pinkline.com

เส้นทางการเดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 1  หลักสี่ – มีนบุรี แบ่งเป็น 17 สถานี คาดจะเปิดให้บริการในช่วง Q1 ของปี 2566 มีรายละเอียดดังนี้

  • PK14 สถานีหลักสี่ ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
  • PK15 สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
  • PK17 สถานีรามอินทรา 3 สถานีแรกบนถนนรามอินทราตั้งอยู่บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก
  • PK18 สถานีลาดปลาเค้า ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า
  • PK19 สถานีรามอินทรา กม.4 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37
  • PK20 สถานีมัยลาภ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ
  • PK21 สถานีวัชรพล ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61
  • PK22 สถานีรามอินทรา กม.6 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42
  • PK23 สถานีคู้บอน ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46
  • PK24 สถานีรามอินทรา กม.9 ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56
  • PK25 สถานีวงแหวนรามอินทรา ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade
  • PK26 สถานีนพรัตน์ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์
  • PK27 สถานีบางชัน ตั้งอยู่บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115
  • PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ตั้งอยู่บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123
  • PK29 สถานีตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2
  • PK30 สถานีมีนบุรี ตั้งอยู่ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี

เส้นทางการเดิน รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 2 ศูนย์ราชการนนทบุรี – ทีโอที แบ่งเป็น 13 สถานี คาดจะเปิดให้บริการในปี 2566 มีรายละเอียดดังนี้

  • PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางตั้งอยู่ริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
  • PK02 สถานีแคราย ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก
  • PK03 สถานีสนามบินน้ำ ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ
  • PK04 สถานีสามัคคี ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี
  • PK05 สถานีกรมชลประทาน ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา
  • PK06 สถานีแยกปากเกร็ด ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
  • PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
  • PK08 สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
  • PK09 สถานีศรีรัช ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี
  • PK10 สถานีเมืองทองธานี ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโคร สาขาแจ้งวัฒนะ
  • PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14 ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะและซอยแจ้งวัฒนะ 14
  • PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
  • PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ ตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7

ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงที่ 3 แบ่งออกเป็น 2 สถานี คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 มีรายละเอียดดังนี้

  • MT01 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนบางปะอิน-ปากเกร็ด ใกล้กับชาเลนเจอร์ฮอลล์ ของอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยจะมีทางเชื่อมจากสถานีเข้าสู่ชาเลนเจอร์ฮอลล์ได้สะดวกเลย
  • MT02 สถานีทะเลสาปเมืองทอง สถานีส่วนต่อขยายตั้งอยู่บนถนนแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 บริเวณทางแยกไปทางพิเศษอุดรรัถยา โดยจะเชื่อมทางขึ้นลงไปที่ อิมแพ็ค ฟอรั่ม และทะเลสาบเมืองทองได้สะดวกเลย

โดยส่วนต่อขยายเมืองทองธานีของ รถไฟฟ้าสายสีชมพู ผู้โดยสารจะทำการเปลี่ยนได้ที่ PK09 สถานีศรีรัช นั่นเอง เรียกได้ว่าเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะขยายพื้นที่การเดินทางให้กับผู้โดยสารจำนวนมาก สามารถระบายผู้ใช้รถใช้ถนน อาจช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดบนถนนแคราย – มีนบุรีได้ในอนาคต

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top