NOTE:
– นับถอยหลังไปเมื่อปี 2542 จนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 15 ปีที่กรุงเทพฯ เริ่มมีการใช้รถไฟฟ้า แม้ในปัจจุบันจะมีเพียง 4 เส้นทาง 60 สถานีและมีระยะทางเพียง 86.52 กิโลเมตร ก็ตาม
– ถ้าเส้นทางรถไฟฟ้าเสร็จตามกำหนด คาดว่ากรุงเทพมหานครจะมีรถไฟฟ้า-รถไฟฟ้าใต้ดินเชื่อมโยงทั่วทุกพื้นที่ภายในปี 2572
จากเดิมนั้นที่รถไฟฟ้าหลายเส้นทางดูจะแล้วเสร็จในปี 2572 แต่เนื่องจากมีแผนเร่งรัดการดำเนินการพยายามให้เสร็จภายในปี 2562 ซึ่งจะเร็วกว่ากำหนดเดิม 10 ปี เราจึงอยากพาไปดูแผนที่ฉบับเต็มอีก 15 ปีข้างหน้า หากรถไฟฟ้าครบทั่วพื้นที่กรุงเทพฯจะเป็นอย่างไร
1. สายสีแดงเข้ม (ธรรมศาสตร์-มหาชัย) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 80.8 กิโลเมตร
– ธรรมศาสตร์-บางซื่อ
– บางซื่อ-หัวลำโพง
– หัวลำโพง-บางบอน
– บางบอน-มหาชัย
2. สายสีแดงอ่อน (ศิริราช-ศาลายา-ตลิ่งชัน-หัวหมาก) รถไฟฟ้าชานเมือง ระยะทาง 54 กิโลเมตร
– ศิริราช-ตลิ่งชัน
– ตลิ่งชัน-บางซื่อ
– บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน
– มักกะสัน-หัวหมาก
– มักกะสัน-บางบำหรุ
3. สายท่าอากาศยาน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 50.3 กิโลเมตร
– สุวรรณภูมิ-พญาไท
– พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง
4. สายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา-สมุทรปราการ) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 66.5 กิโลเมตร
– ลำลูกกา-คูคต
– คูคต-สะพานใหม่
– สะพานใหม่-หมอชิต
– หมอชิต-อ่อนนุช
– อ่อนนุช-แบริ่ง
– อุดมสุข-สุวรรณภูมิ
– ธนาซิตี้-วัดศรีวาน้อย
– แบริ่ง-สมุทรปราการ
– สมุทรปราการ-บางปู
5. สายสีเขียวอ่อน (ยศเส-บางหว้า) รถไฟฟ้ายกระดับ ระยะทาง 15.5 กิโลเมตร
– ตลิ่งชัน-บางหว้า
– บางหว้า-วงเวียนใหญ่
– วงเวียนใหญ่-สะพานตากสิน
– สะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ
– สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส
6. สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ-พุทธมณฑลสาย 4) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 55 กิโลเมตร
– ท่าพระ-บางซื่อ
– บางซื่อ-หัวลำโพง
– หัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค
– บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
7. สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 42.8 กิโลเมตร
– บางใหญ่-บางซื่อ
– บางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ
8. สายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) รถไฟฟ้าใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร
– ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
– ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางกะปิ
– บางกะปิ-มีนบุรี
9. สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กิโลเมตร
– แคราย-ปากเกร็ด
– ปากเกร็ด-หลักสี่
– หลักสี่-วงแหวนรอบนอก
– วงแหวนรอบนอก-มีนบุรี
10. สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กิโลเมตร
– ลาดพร้าว-พัฒนาการ
– พัฒนาการ-สำโรง
11. สายสีเทา (วัชรพล-สะพานพระราม 9) ระยะทาง 26 กิโลเมตร
– วัชรพล-ลาดพร้าว
– ลาดพร้าว-พระราม 4
– พระราม 4-สะพานพระราม 9
12. สายสีฟ้า (ช่องอินทรีย์-ประชาสงเคราะห์)
– ช่องอินทรี – ลุมพินี
– ลุมพินี – มักกะสัน
– มักกะสัน – ประชาสงเคราะห์
13. สายสีน้ำตาล (แคราย-บึงกุ่ม) ระยะทาง 21 กิโลเมตร
– แคราย-บึงกุ่ม
อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์ว่าหากรถไฟฟ้าเสร็จครบหมดทุกสายก็ช่วยแก้ไขปัญหาจราจรได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหวังว่าคนจะมาใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนตัว นอกจากนี้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บ้านและคอนโดที่ตั้งโครงการใกล้กับเส้นทางดังกล่าวก็ได้รับอานิสงส์ไปด้วยเพราะจะกลายเป็นทำเลทองที่ราคาดีมากขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งเราก็ได้แต่นับวันรออีกไม่เกิน 15 ปีข้างหน้า รถไฟฟ้าจะเสร็จครบจริงหรือไม่?
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development