โรคหัดแมว อีกหนึ่งโรคร้าย ที่ทาสแมวต้องเข้าใจให้มากที่สุด

แมวเป็นสัตว์น่ารัก มีเสน่ห์ ฉลาด และใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย จึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับการเลี้ยงบนคอนโด ที่มีพื้นที่จำกัด แต่ไม่แคบมาก ซึ่งที่อนันดาเป็นศูนย์รวมคอนโดสำหรับคนเมือง ที่ออกแบบมาให้พร้อมสำหรับการอยู่อาศัยของคุณและสัตว์เลี้ยงแสนรักอย่างน้องแมว เพราะเรารู้ดีว่าแมวคือสิ่งสำคัญของคนรักแมวทุกคน สำหรับทาสแมวทุกคนรู้ดีว่าการเลี้ยงแมวนั้นไม่ยากแต่ต้องระวังโรคบางชนิดที่ทำให้แมวเสียชีวิตได้ อย่าง โรคหัดแมว หรือโรคไข้หัดแมวที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในแมวสูงในแต่ละปี และเพื่อป้องกันไม่ให้แมวห่างไกลจาก โรคหัดแมว  วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคนี้กัน

โรคหัดแมวเกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคหัดแมว หรือโรคไข้หัดแมว (Cat Distemper) หรือโรคลำไส้อักเสบในแมว (Feline Parvovirus Enteritis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัส (Feline Parvovirus) ซึ่งเชื้อไวรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกายของแมวจะเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับระบบทางเดินอาหารของแมว อาการของโรคนี้จะรุนแรงในแมวที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยเฉพาะแมวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนจะมีความรุนแรงสูงมากและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าแมวที่ได้รับวัคซีน สำหรับแมวที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ความรุนแรงของโรคจะน้อยและมีอัตราการเสียน้อยมากกว่าแมวอายุน้อย และโรคนี้สามารถแพร่ติดต่อจากแมวที่ป่วยไปยังแมวตัวอื่นได้ โดยผ่านทางการใช้สิ่งของร่วมกันระหว่างแมว เช่น เสื้อผ้า ชามอาหาร ชามน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ขับถ่าย เนื่องจากเชื้อโรคจะติดมากับอุจจาระของแมว ดังนั้นอุจจาระของแมวไปสัมผัสกับสิ่งไหนเชื้อโรคก็จะติดและแพร่กระจายออกไปได้

โรคหัดแมวมีอาการอย่างไร

แมวที่ป่วยเป็น โรคหัดแมว จะมีอาการคล้ายแมวที่เป็นหวัดและท้องเสียเกิดขึ้นพร้อมกันเพราะเชื้อไวรัสกลุ่มพาร์โวไวรัส (Feline Parvovirus) เมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะทำให้เสียสมดุล คอนโดอนันดาทีผู้อยู่อาศัยสามารถเลี้ยงแมวได้ เพราะแมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและอนันดามีพื้นที่เหมาะสมกับการเลี้ยงแมว หากแมวที่ท่านเลี้ยงในคอนโดมีอาการป่วยเป็น โรคหัดแมว จะมีอาการ ดังนี้

  • ไม่อยากอาหาร กินอาหารได้น้อยลงหรือไม่กินอาหารเลย ซึ่งอาการนี้จะเกิดขึ้นเป็นอย่างแรกประมาณ 34 วันจึงจะมีอาการอื่นตามมา
  • แมวมีไข้สูงอย่างเฉียบพลันคล้ายกับแมวที่ป่วยเป็นหวัด
  • มีอาการเซื่องซึม นอนไม่ร่าเริง ไม่เล่นกับแมวตัวอื่นหรือเจ้าของ
  • มีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเหลว ถ่ายมีเลือดมีกลิ่นเหม็น อาการท้องเสียนี้จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำเฉียบพลันได้และเกิดอาการช็อกได้
  • อาเจียนอาหารที่กินเข้าไปหรืออาเจียนเป็นน้ำเหลือง
  • มีอาการปวดเกร็งช่องท้อง
  • เมื่อแพทย์ทำการตรวจจะพบว่าต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณช่องท้องมีการขยายตัว
  • ปริมาณเม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำกว่าปกติ สำหรับแมวที่มีอาการหนักพบว่าปริมาณเม็ดเลือดขาวจะอยู่ที่ 50-3,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร สำหรับแมวที่อยู่ในอาการโคม่าหรือมีอาการติดเชื้อในภาวะรุนแรงจะไม่สามารถนับจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือดได้

ซึ่งอาการป่วยของแมวที่มีอายุ 3 เดือนถึง 1 ปีพบว่ามีความรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก ดังนั้นหากลูกแมวมีอาการคล้ายไข้หวัดและมีภาวะท้องเสียเกิดขึ้นควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่าปล่อยทิ้งไว้อาการมีความรุนแรง เพราะอาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ทัน สำหรับแมวที่มีอายุมากกว่า 1 ปีและได้รับการฉีดวัคซีนไข้หัดแมวมาแล้ว หากป่วยเป็น โรคหัดแมว จะมีอาการไม่รุนแรง แต่เจ้าของก็ควรสังเกตอาการและพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษาและป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่แมวตัวอื่นด้วย

โรคหัดแมวกับการดูแลรักษา

โรคหัดแมว เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส ที่ไม่มียาสำหรับกำจัดเชื้อได้โดยเฉพาะ ดังนั้นการรักษาแมวที่เป็นโรคนี้แพทย์จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อประคองให้แมวสามารถสร้างภูมิต้านทาน จนร่างกายแข็งแรงและสามารถทำลายเชื้อไวรัสออกไปได้ สำหรับผู้ที่พักอาศัยในอนันดา ไม่ต้องกังวลเพราะที่นี่รายล้อมไปด้วยโรงพยาบาลสัตว์และคลีนิกรักษาสัตว์ โดยสัตวแพทย์ชื่อดัง พร้อมให้ทำการรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งการรักษามีดังนี้

  • ให้น้ำและสารอาหารหรืออาหารเหลวสำหรับแมวทางหลอดเลือด (Fluid Therapy) เพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียและเพิ่มพลังงานให้กับแมว
  • ให้ยาแก้อาเจียน สำหรับแมวที่อาเจียนร่วมกับอาการท้องเสียจะต้องให้ยาแก้อาเจียนร่วมด้วยเพื่อลดภาวะเสียน้ำและสารอาหารให้น้อยลง
  • ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะผ่านทางหลอดเลือด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องจากแมวที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีภูมิต้านทานที่ต่ำทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคชนิดอื่นได้ ดังนั้นการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันไม่แมวติดเชื้ออื่นจนมีอาการทรุดหนักและเสียชีวิตได้

ขั้นตอนการรักษา โรคหัดแมว จะเป็นไปตามอาการที่เกิดขึ้นกับแมว ดังนั้นการให้ยาและแนวการรักษา จึงต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการ ดังนั้นหากเห็นแมวมีอาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย เป็นไข้ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะอนันดาตั้งอยู่ใจกลางเมืองสามารถพาแมวที่รักไปรักษาได้ทันที ดังนั้นหากแมวมีอาการน่าสงสัยคุณสามารถพาน้องแมวไปทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีแน่นอน เพราะยิ่งทำการรักษาเร็วโอกาสที่แมวจะรอดชีวิตย่อมสูงขึ้น

โรคหัดแมวสามารถแพร่เชื้อมาสู่คนได้หรือไม่

โรคหัดแมว เป็นโรคติดต่อที่ สามารถติดจากแมวตัวหนึ่งไปสู่แมวอีกตัวหนึ่ง ซึ่งอันตรายของโรคมีความรุนแรงสูงมาก โดยเฉพาะในลูกแมวที่มีอายุไม่เกิน 1 ปีที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือยังฉีดวัคซีนไม่ครบจำนวน แต่ โรคหัดแมว นี้ไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่คนได้ ดังนั้นโรคนี้จึงไม่เป็นอันตรายกับเจ้าของ ทว่าเชื้อหัดแมวอาจจะติดเชื้อผ้า ผิวหนังของคนและแพร่เชื้อไปยังแมวตัวอื่นที่มาสัมผัสกับเสื้อผ้าหรือผิวหนังบริเวณที่มีเชื้อติดอยู่ได้ นั่นคือเราไม่ได้รับอันตรายจากเชื้อหัดแมวแต่เราเป็นพาหะนำเชื้อไปสู่แมวตัวอื่นได้

โรคหัดแมวกับวิธีการป้องกัน

โรคหัดแมว ถึงแม้จะเป็นโรคที่มีสถิติทำให้แมวเสียชีวิตต่อปีสูงมาก สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่บนคอนโดการดูแลป้องกันไม่ให้น้องแมวเป็นโรคนี้ทำได้ไม่ยาก โดยเฉพาะที่อนันดาคอนโดหรูระดับพรีเมี่ยมที่ออกแบบมาให้เป็นที่อยู่อาศัยแบบครอบครัวที่สามารถเลี้ยงแมวได้อย่างเหมาะสม ซึ่งแนวทางในการป้องกันมีดังนี้

1.ฉีดวัคซีน

โรคหัดแมว มีวัคซีนที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้ โดยการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จะฉีดให้กับลูกแมวที่มีอายุ 6 สัปดาห์ เข็มที่ 2 ฉีดให้กับลูกแมวที่มีอายุ 2 -12 เดือนและทำการฉีดเข็มกระตุ้นทุกปีปีละ 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นการให้ร่างกายของแมวมีภูมิต้านทานโรคสูงขึ้น สำหรับลูกแมวที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 เข็มไม่ควรพานอกไปนอกเดินเล่นด้านนอกหรือปล่อยให้เล่นกับแมวตัวอื่นที่ไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคหัด เนื่องจากลูกแมวที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหากมีป่วยเป็นโรคหัดจะมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก การฉีดวัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของแมวจากการป่วยโรคหัดได้มากถึง 6.5 เท่า

2.เลี้ยงในระบบปิด

การเลี้ยงแมวควรเลี้ยงในระบบปิดเพื่อป้องกันไม่ให้แมวไปติดเชื้อ โรคหัดแมว จากแมวตัวอื่น เพราะโรคนี้แพร่กระจายได้ง่ายเพียงแมวสัมผัสกับสิ่งของหรือพื้นที่ที่แมวป่วยเป็นโรคแมวนี้ก็สามารถติดเชื้อ โรคหัดแมว ได้แล้ว เมื่อแมวไม่ออกไปนอกบ้านก็ย่อมเสี่ยงติดเชื้อโรคน้อยลง ซึ่งที่คอนโดอนันดาที่เป็นคอนโดหรูที่มีการดูแลความสะอาดและมีพื้นที่เพียงพอกับการเลี้ยงแมวในระบบปิดอย่างเหมาะสม ทำให้แมวมีความสุขและอยู่อย่างปลอดภัยจากโรคร้าย

3.กักตัวแมวใหม่

การนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยงร่วมกับแมวที่บ้าน ควรทำการแยกแมวตัวใหม่เพื่อดูอาการอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ว่ามีอาการของ โรคหัดแมว หรือไม่ โดยเฉพาะลูกแมวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนหัดแมวมาก่อน เพราะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคสูงมากและควรนำแมวตัวใหม่ไปตรวจสุขภาพกับแพทย์อย่างละเอียดและฉีดวัคซีนให้ครบก่อนที่จะนำมาเลี้ยงร่วมกับแมวตัวอื่นด้วย

4.ทำความสะอาดพื้นและของใช้แมว

เจ้าของควรทำความสะอาดเป็นประจำทุกสัปดาห์ด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคผสมน้ำเช็ดพื้นและของใช้สำหรับแมวเป็นประจำ โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรด์ เพราะสารนี้จะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อไวรัสอย่างได้ผล ทำให้เชื้อโรคไม่สามารถแพร่เข้าสู่แมวตัวอื่นได้

5.แยกแมวป่วย

สำหรับบ้านที่มีแมวป่วยควรแยกแมวและของใช้ของแมวที่ป่วยออกจากแมวตัวอื่น เพราะโรคนี้สามารถแพร่เชื้อระหว่างแมวกับแมวผ่านเครื่องใช้และพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันได้ และเจ้าของไม่ควรไปสัมผัสกับแมวป่วยแล้วมาจับแมวตัวอื่น เพราะเจ้าของอาจจะมีเชื้อโรคหัดติดเสื้อผ้ามาแพร่เชื้อให้กับแมวที่ยังไม่ป่วยได้

6.ไม่จับแมวนอกบ้าน

เชื่อว่าคนเลี้ยงแมวทุกคนย่อมรักแมว ดังนั้นเมื่อเห็นแมวตัวอื่นย่อมต้องการเข้าไปจับ ลูบเพื่อแสดงความเอ็นดู ซึ่งเราไม่รู้ว่าแมวตัวนั้นมีเป็นหัดแมวหรือมีเชื้อหัดแมวติดตัวหรือไม่ เจ้าของจึงไม่ควรไปจับแมวนอกบ้านหรือสัมผัสกับสิ่งของแมวตัวอื่น เพราะเชื้อโรคสามารถติดมากับเสื้อผ้าหรือของใช้ที่สัมผัสกับเชื้อติดมาสู่แมวที่บ้าน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงต้องจับแมวตัวอื่นให้ทำอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนที่จะเข้าไปเล่นกับแมวที่บ้านก่อนทุกครั้งก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อติดมายังแมวที่บ้านได้

การป้องกันน้องแมวไม่ให้ติด โรคหัดแมว  สามารถทำได้โดยเริ่มตั้งแต่การวัคซีนกับลูกแมวตั้งแต่ยังเล็ก และดูแลด้านความสะอาดพื้นที่และเครื่องใช้ หากเป็นไปได้ควรเลี้ยงแมวในระบบปิด ไม่เลี้ยงร่วมกับแมวที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือปล่อยให้แมวไปเล่นกับแมวจร ซึ่งที่อนันดาเป็นคอนโดที่มีพื้นที่กว้างขวางเป็นระบบปิดมีการรักษาความปลอดภัยและความสะอาดทุกวันเหมาะการเลี้ยงแมวให้ปลอดภัยจาก โรคหัดแมว

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top