เรากระทบหรือไม่? ไขข้อสงสัย ลดเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท

เรากระทบหรือไม่? ไขข้อสงสัย ลดเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท

สร้างความฮือฮาครั้งใหญ่ หลังจากที่ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ออกมาประกาศว่าวันที่ 11 ส.ค. 64 นี้ สถาบันฯ จะเริ่มลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงจากจุดเริ่มต้น 15 ล้านบาทมาอยู่ที่ 5 ล้านบาท และจะลดลงเหลือ 1 ล้านบาทในปัจจุบัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น และเรื่องนี้กระทบเราหรือไม่ อย่างไรบ้าง?

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) ถูกเปิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 หลังจากเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งแล้วมีสถาบันทางการเงินหลายแห่งปิดตัวไป หลังจากนั้นบางคนยังกลัวว่าถ้าฝากเงินไว้ในบัญชีแล้วเงินเราจะหายไปไหม ภาครัฐจึงช่วยเสริมความมั่นใจให้คนไทยด้วยการเปิดสถาบันนี้ขึ้น

เรากระทบหรือไม่? ไขข้อสงสัย ลดเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท

หน้าที่ของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

คุ้มครองลูกค้าของสถาบันการเงินต่างๆ ช่วยให้ได้รับเงินคืน (ตามที่กฎหมายกำหนด) เมื่อสถาบันการเงินเหล่านั้นต้องปิดกิจการลง ซึ่งเมื่อก่อนใครที่ฝากเงินบาทกับธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ รวม 35 แห่งในไทย จะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 5 ล้านบาท การคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน จะไม่รวมเงินลงทุนในพันธบัตร และตราสารหนี้

กระบวนการหลักคือ สถาบันจะคุ้มครองประชาชนเมื่อสถาบันการเงินปิดตัวลง ประชาชนจะได้รับเงินคืนภายใน 30 วันโดยไม่ต้องทำอะไร ทางสถาบันฯ จะเป็นคนจ่ายคืนเงินให้ผู้ฝาก แล้วชำระบัญชี โดยเข้าไปจัดการทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ปิดตัว เช่น เอาทรัพย์ออกขาย ฯลฯ

เรากระทบหรือไม่? ไขข้อสงสัย ลดเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท

ทำไมต้องลดวงเงินคุ้มครองเงินฝาก ประชาชนจะได้อะไร?

การจะขยายหรือลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ รายได้ของคนไทยและ GDP ของประเทศ ซึ่งวงเงินคุ้มครองของไทยที่ 15 ล้านบาทในอดีตถือว่าสูงที่สุดในโลก

โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ 2 เรื่องหลัก คือ

  • การรักษาเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
  • การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งไม่ได้เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 และปรับลดวงเงินคุ้มครองแต่อย่างใด

“การลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลงมาอยู่ที่ 1 ล้านบาท จะทำให้ DPA สามารถคุ้มครองคนไทยที่มีเงินฝากถึง 98.19% หรือ ประมาณ 98 จาก 100 คน จะได้รับเงินฝากคืนทันทีภายใน 30 วัน แต่ส่วนที่เหลือคือคนที่วงเงินเกิน ทางสถาบันก็จะบริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารนั้นๆ ให้เครียร์เงินคืนให้ในภายหลังแต่อาจจะได้ไม่ครบ ต้องดูที่ทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นๆ” ซึ่งปัจจุบันเมื่อวงเงินคุ้มครองเงินฝากลดลงเหลือ 1 ล้านบาท ก็สามารถปรับเปลี่ยนแปลงเพิ่มได้อีกในอนาคต ตามมนโยบายภาครัฐ หากมีการปรับขยายขึ้น วงเงินคุ้มครองก็สามารถขยับขึ้นได้นั่นเอง

ดังนั้น ผู้ฝากเงินรายย่อยไม่ต้องตกใจ เนื่องจากการคุ้มครองวงเงินจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ หรือโดนเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งหากดูสถานะของสถาบันการเงินในปัจจุบันมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปี 2540

ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง* 5 ประเภทได้แก่

  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากประจำ
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หหรือเงินฝากที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง* ได้แก่

  • เงินฝากประเภท เงินตราต่างประเทศ
  • เงินลงทุนในตราสารต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน SSF,RMF
  • เงินฝากในสหกรณ์
  • แคชเชียร์เชค ตั๋วแลกเงิน
  • เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)
  • อื่นๆ

วงเงินคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท ครอบคลุมสถาบันการเงินทั้ง 35 แห่ง

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA คุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝากทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่ฝากเงินเป็นสกุลเงินบาทกับสถาบันการเงินของไทยภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งประกอบด้วย

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง) ได้แก่

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
  • ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  • ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ธนาคารซิตี้แบงก์
  • ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  • ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  • ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  • ธนาคารดอยซ์แบงก์
  • ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  • ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  • ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)

  • บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

โดยบัญชีเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองต้องเป็นสกุลเงินบาทเท่านั้น ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากจะได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน ตามวงเงินที่กฎหมายกำหนด

สามารถตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากได้ที่ www.dpa.or.th, ศูนย์บริการข้อมูลคุ้มครองเงินฝาก โทร 1158 หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ https://www.facebook.com/dpathailand

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top