3 กองทุนเบื้องต้นสำหรับคนทำงานควรมีติดพอร์ตไว้เพื่อวัยเกษียณ

ยุคนี้การออมเงินเพื่อเกษียณถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ช่วงชีวิตวัยเกษียณมีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ต่างกันกับวัยที่เรายังทำงานหาเงินเลี้ยงชีพได้ และวัยเกษียณร่างกายก็ไม่เหมือนหนุ่มสาว อาจมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินทางด้านสุขภาพที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการออมรูปแบบปกติ เช่น ฝากเงินในออมทรัพย์ อาจไม่เพียงพอใช้จ่ายในภายภาคหน้าแน่ๆ อนันดาเลยมี 3 กองทุนที่พอจะเป็นตัวเร่งการออมให้เงินเติบโตรองรับวัยเกษียณในอนาคต

กองทุนประกันสังคม

กองทุนประกันตนที่เราจ่ายเงินสมทบโดยหักจากเงินเดือนจำนวน 5% เพื่อรับสิทธิประโยชน์หากเกิดการว่างงาน คลอดบุตร เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ หรือเสียชีวิต โดยจะได้รับเงินทดแทนชราภาพเมื่อมีอายุครบ 55 ปีขึ้นไป ในกรณีที่จ่ายเงินสมทบครบสม่ำเสมอตามข้อกำหนด

  • กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตรา 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
  • กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1 เพิ่มขึ้นอีก 1.5% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน

ทั้งนี้สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมการลงทุนในกองทุนประกันสังคมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD –  Provident Fund) เป็นกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสะสมเงินเข้ากองทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ เงินของกองทุนนี้จะเป็นเงินที่ลูกจ้างหักแบ่งออมจากเงินเดือนเรียกว่า เงินสะสม และเงินที่นายจ้างช่วยจ่ายเพิ่มเข้ากองทุนอีกหนึ่งทางเรียกว่า เงินสมทบ ในส่วนของเงินสมทบถือเป็นหัวใจสำคัญของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพราะเปรียบเสมือนเราได้เงินเพิ่มพิเศษจากที่ทำงานในทุกๆ เดือน โดยเงินทั้งสองส่วนที่ออมเข้ากองทุนจะมีบริษัทจัดการกองทุนนำไปบริหารจัดการเพื่อให้เงินงอกเงยเพิ่มขึ้น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีเงินออมยามเกษียณได้อีกทาง

กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว

กองทุนรวมส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF – Super Saving Funds) เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ภาครัฐจัดตั้งขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมในระยะยาว สามารถเลือกซื้อได้ตลอดทั้งปีเและเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีคือสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาไม่เกิน 30% ของรายได้และต้องถือครองไม่น้อยกว่า 10 ปี เพื่อรับผลประโยชน์อย่างครอบคลุม

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top