3 แอพฯ รับมือฤดูฝน ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับน้ำฝนแบบเรียลไทม์

3 แอพฯ รับมือฤดูฝน ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับน้ำฝนแบบเรียลไทม์

NOTE:
– กรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่าเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม จะมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

เปิดฤดูกาลมาได้สวยมากสำหรับหน้าฝนปีนี้ที่พาเอาความชุ่มฉ่ำมาแบบจัดเต็ม เรียกได้ว่าคาดเดาไม่ถูกกันเลยว่าวันนี้ฝนจะตกหรือไม่ตก เพราะมีทั้งพายุ ทั้งฤดูฝนของจริงปะปนกันไป แต่ที่เห็นๆ จะเป็นปัญหาหนักอกหนักใจก็การต้องมารับมือกับน้ำท่วมทุกพื้นที่ในกทม. นี่แหละ แต่ยังไงเสียการเตรียมตัวไว้เสียแต่เนิ่นๆ ก็ดี เราเลยมีแอพฯมาเป็นตัวช่วยในการแจ้งข้อมูลแบบทันท่วงที ด้วยเทคโนโลยีเรดาร์ตรวจจับน้ำฝนแบบเรียลไทม์ เป็นการประเมินปริมาณน้ำฝนที่กำลังจะตก เพื่อใช้วางแผนก่อนเดินทาง ซักผ้า หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ

TVIS (1)

TVIS (2)

1. “TVIS” ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะให้ข้อมูลบ่งบอกเวลานี้ว่าฝนตกที่ไหน ผ่านการใช้เรดาร์ตรวจจับ สามารถเห็นภาพและเสียงทางกล้องซีซีทีวีได้มากกว่า 250 ตัวในประเทศไทย อีกทั้งยังมีฟีเจอร์รองรับในการรายงานสภาพจราจรด้วยเสียงพูด หรือแค่พูดชื่อถนนที่ต้องการทราบ ก็สามารถรายงานสภาพการจราจรได้ทันที และสามารถดูกล้อง CCTV ที่อยู่บริเวณใกล้ตัวได้ รวมถึงมี Shot Key สำหรับโทรออกไปยังสถานีวิทยุ FM99.5 เพื่อฟังข้อมูลจราจร และภาพเคลื่อนไหวเรดาร์ฝนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

NHC

2. “NHC” คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศ” ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ที่จะบ่งบอกว่าในวันที่ผ่านมามีฝนตกที่ไหนบ้าง พร้อมแสดงข้อมูลปริมาณน้ำฝนและการเตือนภัย ด้วยระบบโทรมาตรและภาพถ่ายจากดาวเทียม สามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบ iOS และ Android

THAIWATER

3. “Thai Weather” เป็นแอพฯ ที่แจ้งว่าในวันรุ่งขึ้นฝนจะตกที่ไหน สามารถดูข้อมูลสภาพอากาศปัจจุบันและล่วงหน้าได้ไกลถึง 7 วัน พร้อมแจ้งข่าวสารเตือนภัย เส้นทางพายุ รายงานแผ่นดินไหว จากเรดาร์สภาพอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียม นอกจากนี้ยังมีช่องทางเปิดให้ผู้ใช้งานในพื้นที่ต่างๆ สามารถรายงานสภาพอากาศในพื้นที่นั้นได้ด้วยตนเองให้ผู้อื่นได้รับทราบ โดยมีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจำนวน 12 หน่วยงาน พร้อมสำหรับการใช้งานในเชิงปฏิบัติได้แล้วอย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักที่หน่วยงานราชการและเริ่มเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่บนระบบ iOS และ Android

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก http://www.penthek.com , http://tvis.in.th/ , http://www.thaiwater.net

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top