NOTE:
– เมื่อช่วงต้นปี 2560 กรมควบคุมมลพิษ สรุปสถานการณ์มลพิษประเทศไทยปี 2559 ภาพรวมดีขึ้นทั้งหมด ปริมาณขยะตกค้างลดลงจากเดิมกว่า 27 ล้านตัน กำจัดเหลือเกินครึ่งเพียง 10 ล้านตันเศษ โดยเป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร 4.20 ล้านตัน และใน 76 จังหวัด 22.84 ล้านตัน ปีทีผ่านมาคนไทยผลิตขยะเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน
ในยุคที่ผู้คนดูจะใส่ใจเรื่องรอบตัวน้อยลง หรือแม้กระทั่งใส่ใจคนรอบตัว จนลืมไปว่าสังคมเราได้ขาดสิ่งเหล่านี้ไป ความมีไมตรีจิตให้แก่กัน รวมถึงปันน้ำใจจากสิ่งง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ และนี่คือตัวอย่างโปรเจ็คต์ดีๆ ที่เราอยากจะหยิบยกมาเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญของการร่วมมือช่วยเหลือกันอีกครั้งครับ
1. ให้ผู้ป่วยนำขยะมาแลกรับการรักษาฟรี ที่อินโดนีเซีย
ปัญหาความยากจนและขยะที่มีมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรในอินโดนีเซีย ทำให้นายแพทย์ Gamal Albinsaid เล็งเห็นความสำคัญเรื่องนี้ และพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ให้ผู้ป่วย นำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น ขวดแก้ว พลาสติก หรือลังกระดาษมาที่คลินิก เพื่อมาแลกกับการรักษา และขยะพวกนี้เมื่อถูกนำไปรีไซเคิล จะสามารถสร้างรายได้ให้กับคลินิกประมาณ 10,000 รูเปียอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเงินจำนวนที่เพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาลคนไข้ขั้นพื้นฐานเป็นเวลา 2 เดือน อีกทั้งคนในชุมชนก็ยินดีเพราะพวกเขารู้สึกว่าตนเองไม่ได้เสียอะไร แค่เก็บขยะมาให้ทางคลินิกเท่านั้น
ปัจจุบันวิธีนำขยะมาแลกเป็นเงินหรือการรับบริการนี้ ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับบริษัทอื่นๆ รวมถึงหน่วยงานการศึกษาที่ผู้คนสามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับระบบที่แตกต่างกันได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาแบบยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะช่วยในการรักษาสิทธิทางด้านสุขภาพซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วยนะครับ
2. D-Rev บริษัทเพื่อผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการรักษาที่ดีขึ้น
D-Rev เป็นบริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยไม่หวังผลกำไร มีพันธกิจของบริษัทคือการทำให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า $4 ต่อวัน (ประมาณ 120 บาท) ทั่วโลกเข้าถึงการรักษาที่ดีขึ้น คนเหล่านี้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย ปากีสถาน หรือกลุ่มอัฟริกา
วิธีการทำงานของ D-rev คือ ไอเดียของผลิตภัณฑ์ต่างๆต้องมาจากผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมจริง ไม่ใช่จากไอเดียของนักประดิษฐ์ในประเทศพัฒนาแล้ว หลังจากนั้นบริษัทจะมาดูว่าไอเดียนั้นจะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า $4 จริงไหม ถ้าไม่จริง เช่น อาจจะเหมาะกับผู้มีรายได้ $10-$15 ก็จะไม่ทำ เมื่อได้ไอเดียผลิตภัณฑ์แล้ว บริษัทก็จะทำวิจัยต่อว่าราคาใดถึงจะแข่งขันได้ บริษัทมีทางที่จะหาช่องทางกระจายสินค้าหรือไม่ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นเลี้ยงตนเองได้
ปัจจุบันบริษัทมีผลิตภัณฑ์ออกมาแล้วสองตัว
1. Brilliance
เป็นอุปกรณ์ phototherapy สำหรับรักษาภาวะ neonatal jaundice โดย D-rev เปลี่ยนจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ซึ่งอายุการใช้งานสั้นต้องเปลี่ยนทุก 6 เดือนมาเป็นหลอด LED ที่ใช้งานได้หลายปี ผลการวิจัยที่มหาวิทยาลัยสอตนฟอร์ดบังชี้ว่าอุปกรณ์ของ D-rev ให้ผลการรักษาดีกว่าหรืออย่างน้อยเท่ากับการรักษาแบบเดิม ด้วยราคาเพียง 400 เหรียญสหรัฐ จากเดิมราคาในตลาด 3,000 เหรียญ
2. ReMotion Knee
เป็นเข่าเทียมสำหรับผู้ที่พิการเหนือเข่า เป็นโครงการที่พัฒนาต่อมาจากโครงการ JaiurKnee ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากแต่เดิมผู้พิการต้องใช้เข่าเทียบแบบมีแกนเดียวคล้ายๆบานประตู ทำให้ไม่สามารถเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าได้ ส่วนเข่าแบบมีหลายแกนก็ราคาแพงหลายพันเหรียญ ReMotion Knee สามารถทำราคาได้ที่ 80 เหรียญเท่านั้น สามารถทำให้คนพิการกลับมาเดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้า
3. KIDDEE PROJECT NO.1: กระเป๋าจากถุงน้ำยาล้างไต
คนไข้โรคไตระยะสุดท้ายที่ต้องทำการฟอกไตนั้น ปกติคนไข้หนึ่งคนต้องใช้น้ำยาฟอกไตจำนวน 8 ถุงต่อวัน และถ้าโรงพยาบาลแห่งนั้นมีผู้ป่วยที่ต้องฟอกไต 1,000 คน นั่นแปลว่าใน 1 ปีจะมีถุงน้ำยาต้องใช้และถูกทิ้งรวมทั้งสิ้น 2,920,000 ถุง ต่อปี
คำถามคือ คุณจะทำอะไรกับถุงจำนวนมากเหล่านั้น ? คุณจะมองผ่านไปเฉยๆ หรือ คุณจะลงมีอทำอะไรกับมัน
คิดดี project เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ที่เริ่มต้นได้อย่างน่าสนใจ โดยโครงการนี้เริ่มจากพยาบาลในหน่วยล้างไตเห็นว่า ถุงน้ำยาดังกล่าวถูกทิ้งเป็นจำนวนมากไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงนำมาทำเป็นผ้ากันเปื้อน จากนั้นคุณหมอประจำโรงพยาบาลน่าน ก็คิดว่าบางทีมันอาจจะทำอะไรได้มากกว่านั้น จึงคิดว่าน่าจะลองมาทำเป็นกระเป๋า แต่ตัวต้นแบบก็ยังไม่โดนใจซักเท่าไหร่ แล้วจากนั้นมีรุ่นน้องสถาปัตย์โดดเข้ามาร่วมวงด้วย จึงพัฒนาตัวกระเป๋าให้มีดีไซน์สวยงาม ซึ่งไม่เพียงแต่ตัวผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แต่ขั้นตอนในการดำเนินงานนั้น น่าสนใจไม่แพ้กันโดย
ขั้นตอนที่ 1. ผู้ป่วยไตวายที่ต้องฟอกไต เป็นคนล้างถุงน้ำยา นำมาตากแห้ง และนำมาขายคืนรพ. (ซึ่งถุงน้ำยาที่ใช้เป็นถุงน้ำยาสะอาด และน้ำมาล้างและตากแดดอีกครั้ง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาดแต่อย่างใด)
ขั้นตอนที่ 2. นำถุงน้ำยามาตัดเย็บเข้ากับผ้าใบกันน้ำ เพื่อแปลงโฉมเป็นกระเป๋าที่มีดีไซน์ ขนาดเหมาะเจาะในการบรรจุ laptop ขนาดต่างๆได้ ( 13′ , 15′, 17′ ) ซึ่งดีไซน์นั้นมีความสวยงามมีสไตล์เป็นอย่างมาก
ขั้นตอนที่ 3. รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย ก็จะกลับไปยัง รพ.น่าน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือ ไปยังกลุ่มฮักสิ่งแวดล้อม รพ.น่าน
ด้วยความสร้างสรรค์ + ดีไซน์ และการลงมือทำ ก็สามารถลงมือจัดการแก้ไขกับปัญหาบางอย่างได้ อาจไม่ต้องยิ่งใหญ่ระดับเปลี่ยนโลก แต่ด้วยเรื่องเล็กๆน่ารักแบบนี้แหละ ที่ทำให้โลกเราน่าอยู่ขึ้น
สำหรับใครที่อยากได้กระเป๋ามาครอบครอง และ ถือว่าได้สนับสนุนโครงการดีๆแบบนี้ ไปที่ https://www.facebook.com/Kiddeeproject.Thailand/ แล้วสั่งซื้อผ่าน fanpage ได้เลย
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: http://www.iamdr.co