30 จุด”จอดและจร” ใกล้สถานีรถไฟฟ้า10 สาย

30 จุด”จอดและจร” ใกล้สถานีรถไฟฟ้า10 สาย

NOTE:
– ค่าบริการจอดรถยนต์ในพื้นที่จอดแล้วจรสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT 15 บาท / 2 ชม. ส่วนผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT : 40 บาท / ชม. ยกเว้นลานจอดรถสถานีเพชรบุรี และ สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : 50 บาท / ชม.
– สามารถนำรถมาจอดได้ตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น. หากจอดรถเกินเวลาที่กำหนด ต้องเสียค่าปรับรวมค่าบริการจอดรถ สำหรับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ในอัตราวันละ 1,000 บาทและ สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ในอัตราวันละ 300 บาท

เพราะปัจจุบันจุดจอดรถใกล้รถไฟฟ้านั้นหายาก ทางรัฐบาลจึงมีแนวคิด ต้องการดึงคนมาใช้บริการเพิ่มให้มากขึ้น โดยเฉพาะจุดต้นทาง-ปลายทาง จะเป็นการจูงใจให้คนปรับโหมดการเดินทางจากรถมาสู่ระบบรางและอาจจะช่วยลดปัญหาการคมนาคมบนท้องถนน ทั้งเรื่องรถติดหรืออุบัติเหตุ และนี่คือ 30 จุดจอดและจร อยู่ใกล้กับรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย

3 จุดจอดใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS

1.สถานีหมอชิต จอดได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น. ประมาณ 1,500 คัน
2.สถานีเพลินจิต อาคารเวฟเพลส ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 06.00-22.00 น. โดยไม่คิดค่าบริการ ถ้าเป็นวันธรรมดาเสียค่าที่จอดรถชั่วโมงละ 30 บาท
3.สถานีอ่อนนุช อาคารเอเชียพาร์ค สุขุมวิท 81 เปิดบริการ 06.00-24.00 น. จอดได้ประมาณ 300 คัน อัตราค่าบริการชั่วโมงแรก 15 บาท เกิน 1 ชั่วโมงคิดอัตราเหมาจ่ายรวมทั้งวัน 65 บาท หรือเหมาจ่ายรายเดือน จอดเฉพาะจันทร์-ศุกร์ เดือนละ 1,000 บาท

– จุดจอดใต้ดิน-แอร์พอร์ตลิงก์ ได้ 4 พันคัน

“รถไฟฟ้าใต้ดิน” ตลอดเส้นทางจากหัวลำโพง-บางซื่อ มีบริการที่จอดรถ 12 แห่ง เป็นอาคารจอดรถ 2 แห่ง และลานจอดรถ 10 แห่ง รวม 2,979 คัน

1. อาคารจอดรถ 9 ชั้น สถานีลาดพร้าว จอดรถได้ 2,200 คัน
2. ลานจอดรถ สถานีรัชดาภิเษก 75 คัน
3. ลานจอดรถ สถานีห้วยขวาง 73 คัน
4. ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 30 คัน (เฉพาะรายเดือน)
5. อาคารจอดรถ 3 ชั้น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 205 คัน
6. ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ปากซอยรัชดาภิเษก 6) 106 คัน (เฉพาะรายเดือน)
7. ลานจอดรถ สถานีพระราม 9 (รัชดาภิเษก ซอย 2) 50 คัน
8. ลานจอดรถ สถานีเพชรบุรี 54 คัน
9. ลานจอดรถ สถานีสุขุมวิท 33 คัน
10. ลานจอดรถ สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 79 คัน
11. ลานจอดรถฝั่งตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 42 คัน (เฉพาะรายเดือน)
12. ลานจอดรถ สถานีสามย่าน 32 คัน

แอร์พอร์ตลิงก์ มีที่จอดรถ 6 แห่ง รวม 1,290 คัน

1. สถานีพญาไท 10 คัน
2. สถานีราชปรารภ 30 คัน
3. สถานีมักกะสัน 350 คัน
4. สถานีหัวหมาก 350 คัน
5. สถานีบ้านทับช้าง 50 คัน
6. สถานีลาดกระบัง 500 คัน

14567199251456719939l

ที่จอดรถตามแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ จำนวน 7 สายทาง มีที่จอดรถได้ประมาณ 17,025 คัน

1. สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน จะเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการเดือน พ.ค.นี้ มีอาคารจอดรถ 4 แห่ง รวม 5,520 คัน ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ 1,900 คัน สถานีสามแยกบางใหญ่ 1,450 คัน สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ 1,070 คัน และสถานีนนทบุรี 1 ที่ล่าสุดกระทรวงคมนาคมปรับแบบก่อสร้างจากเดิมจอดได้ 430 คัน เป็น 1,100 คัน

2. สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค จะเปิดบริการเดือน เม.ย. 2562 มีที่สถานีหลักสอง จำนวน 2 อาคาร จอดได้ประมาณ 1,000 คัน แยกเป็นอาคาร 10 ชั้น 650 คัน และอาคาร 8 ชั้น 350 คัน

3. สายสีเขียวต่อขยาย ช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” จะเปิดบริการทั้งเส้นทางเดือน ก.พ. 2561 มีที่จอดรถ 1 แห่งที่สถานีเคหะสมุทรปราการ 1,200 คัน และ “ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” จะเปิดบริการเดือน ก.พ. 2563 มีที่จอดรถ 2 แห่ง รวม 1,755 คัน ที่สถานี กม.25 จอดได้ 1,042 คัน และอยู่ใกล้สถานีคูคต 713 คัน

4. สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถ 1 แห่ง อยู่ใต้ดินสถานีกลางบางซื่อ จอดได้ 1,700 คัน

5. สายสีชมพู-ส้ม ใช้ที่จอดมีนบุรีร่วมกัน “สีชมพู แคราย-มีนบุรี” เปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถ 1 แห่ง สถานีมีนบุรี 3,000 คัน จะใช้ร่วมกับสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ตามแผนจะเปิดบริการปี 2565 และมีที่จอดรถเพิ่มอีก 1 แห่ง จอดได้ประมาณ 1,200 คัน

6. สายสีเหลืองลาดพร้าว-สำโรง” จะเปิดบริการปี 2563 มีที่จอดรถที่สถานีศรีเอี่ยม 5,000 คัน

7. สายสีม่วงส่วนต่อขยาย จากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ เปิดปี 2565 มี 2 แห่ง รวม 3,400 คัน ที่สถานีบางปะกอก เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 1,700 คัน และสถานีราษฎร์บูรณะ เป็นอาคาร 8 ชั้น จอดได้ 800 คัน และอาคาร 10 ชั้น จอดได้ 900 คัน

ซึ่งการเก็บค่าจอดจะเป็นอัตราเดียวกับรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทุก 2 ชั่วโมงเก็บ 15 บาท ส่วนผู้ไม่ได้ใช้บริการชั่วโมงละ 40 บาท ยกเว้นลานจอดรถสถานีเพชรบุรี สุขุมวิท และศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั่วโมงละ 50 บาท หากรถไฟฟ้าสำเร็จทุกสาย น่าจะทำให้การคมนาคมบ้านเราสะดวกสบายขึ้นอย่างแน่นอนครับ

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลจาก ประชาชาติธุรกิจ

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top