30 เส้นทาง

30 เส้นทาง

Article by TERRABKK

มาแรงแซงทางโค้งกับกระแสความนิยมกิจกรรมปั่นจักรยาน ด้วยเสน่ห์ของกิจกรรมปั่นจักรยาน สามารถตอบโจทย์ชีวิต ด้านความเพลิดเพลินในการชมวิวทิวทัศน์ ความสนุกสนาน การออกกำลังกายเรียกเหงือที่ดีต่อหัวใจและกล้ามเนื้อ โดยไม่ลงน้ำหนักกับไขข้อ เป็นต้น และยังมีความเหมาะสม สามารถเป็นกิจกรรมระหว่างเพื่อนมิตรสหาย หรือกิจกรรมครอบครัวได้ด้วย เพราะการปั่นจักรยานไม่ถูกจำกัดด้วยช่วงอายุ จะเด็กเล็ก,วัยรุ่นหรือวัยกลางคน ใครก็สามารถทำกิจกรรมนี้ได้ทั้งนั้น

หากกล่าวถึงสถานที่ทำกิจกรรมปั่นจักรยาน นอกจากสวนสาธารณะหรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แล้ว ทางภาครัฐเองก็ให้การสนับสนุนในการพัฒนาเส้นทางจักรยานอย่างเป็นทางการเช่นกัน โดยอ้างอิงข้อมูลจาก สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร พบว่าทางจักรยานทั้งหมดในเขตกรุงเทพฯ ณ เดือนมิถุนายน 2558 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 30 เส้นทาง รวมระยะทางไปกลับราว 228.84 กิโลเมตร (รวมโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ) กระจายทั่วพื้นที่กรุงเทพ หากแบ่งข้อมูลออกเป็นภาพรวม 3 กลุ่มหลัก คือ กรุงเทพตอนบน , กรุงเทพตอนกลาง และกรุงเทพรอบนอก ทั้งลักษณะทางจักรยานร่วมบนทางเท้า, ทางจักรยานบนผิวถนน ,ทางจักรยานบนไหล่ทาง และทางจักรยานโดยเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้

กรุงเทพตอนบน 7 เส้นทาง

30 เส้นทาง
กรุงเทพตอนบน 7 เส้นทาง

ในพื้นที่กรุงเทพตอนบนนี้ จะมีทางจักรยานจำนวน 7 เส้นทาง ระยะทางไปกลับประมาณ 96.50 กิโลเมตร ให้บริการประชาชนในพื้นที่ย่านดอนเมือง, สายไหม, ประชาชื่น, ลาดพร้าว, จตุจักร , รามอินทรา และ รามคำแหง รายละเอียดเส้นทางมีดังนี้
• เส้นทางสุขาภิบาล 5 (สายไหม) : ระยะทาง 10.20 กิโลเมตร ต้นทางถนนออเงินสู่ปลายทางซอยพหลโยธิน 54 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางสรงประภา : ระยะทาง 4 กิโลเมตร ต้นทางซอยโรงเรียนผ่องเพ็ญวิทยาสู่ปลายทางวัดสีกัน ในลักษณะทางจักรยานโดยเฉพาะ
• เส้นทางประชาชื่น : ระยะทาง 1.30 กิโลเมตร ต้นทางซอยประชาชื่น 34 สู่ปลายทางคลองบางเขน ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางพหลโยธิน : ระยะทาง 20.40 กิโลเมตร ต้นทางสะพานข้ามคลองบางซื่อสู่ปลายทางอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางประดิษฐ์มนูธรรม : ระยะทาง 24 กิโลเมตร ต้นทางถนนพระราม 9สู่ปลายทางถนนรามอินทรา ในลักษณะทางจักรยานโดยเฉพาะ
• เส้นทางลาดพร้าว : ระยะทาง 21 กิโลเมตร ต้นทางห้าแยกลาดพร้าวสู่ปลายทางถนนแฮปปี้แลนด์สาย 1 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางรามคำแหง : ระยะทาง 15.60 กิโลเมตร ต้นทางคลองบางยี่ขันสู่ปลายทางแยกร่มเกล้า ในลักษณะร่วมบนทางเท้า

กรุงเทพตอนกลาง 14 เส้นทาง

30 เส้นทาง
กรุงเทพตอนกลาง 14 เส้นทาง

สำหรับพื้นที่กรุงเทพตอนกลาง จะมีทางจักรยานจำนวน 14 เส้นทาง ระยะทางไปกลับประมาณ 84.04 กิโลเมตร ให้บริการประชาชนในพื้นที่ย่านสาธร, พระราม 3, สุขุมวิท, ฝั่งธน รวมทั้งการท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ รายละเอียดเส้นทางมีดังนี้
• เส้นทางสาทร (เหนือ – ใต้) : ระยะทาง 2.80 กิโลเมตร ต้นทางแยกวิทยุสู่ปลายทางแยกนราธิวาสราชนครินทร์ ในลักษณะบนผิวจราจร
• เส้นทางราชดำริ: ระยะทาง 3.20 กิโลเมตร ต้นทางถนนพระรามที่ 1 สู่ปลายทางแยกถนนพระราม 4 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางนราธิวาสราชนครินทร์ : ระยะทาง 9.00 กิโลเมตร ต้นทางแยกถนนสุรวงศ์สู่ปลายทางแยกถนนพระรามที่ 3 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางดวงพิทักษ์ : ระยะทาง 1.00 กิโลเมตร ต้นทางลุมพินีสู่ปลายทางซอยสุขุมวิท 10 ในลักษณะทางจักรยานเฉพาะ
• เส้นทางเลียบคลองไผ่สิงโต : ระยะทาง 1.30 กิโลเมตร ต้นทางถนนสุขุมวิทสู่ปลายทางคลองไผ่สิงโต ในลักษณะทางจักรยานเฉพาะ
• เส้นทางเจริญนคร : ระยะทาง 8.00 กิโลเมตร ต้นทางถนนลาดหญ้าสู่ปลายทางถนนราษฎร์บูรณะ ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางราษฎร์บูรณะ : ระยะทาง 10 กิโลเมตร ต้นทางถนนเจริญนครสู่ปลายทางสุดเขตกรุงเทพมหานคร ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางกรุงธนบุรี : ระยะทาง 4.80 กิโลเมตร ต้นทางถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินสู่ปลายทางถนนเจริญนคร ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางสมเด็จพระเจ้าตากสิน : ระยะทาง 8.00 กิโลเมตร ต้นทางถนนวงเวียนใหญ่สู่ปลายทางซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 46 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช : ระยะทาง 4.40 กิโลเมตร ถนนลาดหญ้า – ถนนประชาธิปก – ถนนอินทรพิทักษ์ – ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ในลักษณะบนผิวจราจร
• เส้นทางจรัญสนิทวงศ์-รัชดาภิเษก : ระยะทาง 14.00 กิโลเมตร ต้นทางซอยจรัญสนิทวงศ์ 5 สู่ปลายทางซอยจรัญสนิทวงศ์ 65 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางพอรุณอัมรินทร์ตัดใหม่ : ระยะทาง 1.66 กิโลเมตร บริเวณใต้สะพานพระราม8 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางชมกรุงรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ระยะ1-2 : ระยะทาง 12.88 กิโลเมตร รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ในลักษณะร่วมบนทางเท้าและผิวจราจร

กรุงเทพรอบนอก 9 เส้นทาง

30 เส้นทาง
กรุงเทพรอบนอก 9 เส้นทาง

สำหรับพื้นที่กรุงเทพรอบนอก จะมีทางจักรยานจำนวน 9 เส้นทาง แบ่งออกเป็น 2 ย่าน ได้แก่ ย่านพุทธมณฑล จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางไปกลับ 33.3 กิโลเมตร และ ย่านบางขุนเทียน จำนวน 4 เส้นทาง ระยะทางไปกลับประมาณ 15 กิโลเมตร รายละเอียดเส้นทางมีดังนี้
• เส้นทางเพชรเกษม : ระยะทาง 16.00 กิโลเมตร ต้นทางแยกถนนกาญจนาภิเษกสู่ปลายทางสุดเขตกรุงเทพมหานคร ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางพุทธมณฑล สาย 2 : ระยะทาง 8.00 กิโลเมตร ต้นทางถนนบรมราชชนนีสู่ปลายทางถนนเพชรเกษม ในลักษณะ ร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางถนนพุทธมณฑล สาย 3 : ระยะทาง 1.00 กิโลเมตร ต้นทางถนนบรมราชชนนีสู่ปลายทางหมู่บ้านเทพนคร ในลักษณะทางจักรยานเฉพาะ
• เส้นทางถนนอุทยาน : ระยะทาง 3.80 กิโลเมตร ต้นทางถนนพุทธมณฑลสาย 3 สู่ปลายทางถนนพุทธมณฑลสาย 4ในลักษณะทางจักรยานเฉพาะ
• เส้นทางซอยวัดอินทราวาส : ระยะทาง 4.50 กิโลเมตร ต้นทางถนนราชพฤกษ์สู่ปลายทางถนนกาญจนาภิเษก ในลักษณะทางร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางโครงการปรับปรุงบางขุนเทียนชายทะเล ระยะ 1 : ระยะทาง 3.50 กิโลเมตร ต้นทางถนนพระรามที่ 2 สู่ปลายทางคลองสนามชัย ในลักษณะทางร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางโครงการปรับปรุงบางขุนเทียนชายทะเล ระยะ 2 : ระยะทาง 8.00 กิโลเมตร ต้นทางคลองสนามชัยสู่ปลายทาง คลองตาแพ ในลักษณะบนไหล่ทาง
• เส้นทางสะแกงาม : ระยะทาง 3.00 กิโลเมตร ต้นทางถนนบางขุนเทียนชายทะเลสู่ปลายทาง ถนนพระราม 2 ในลักษณะร่วมบนทางเท้า
• เส้นทางสะพานเลียบคลอง ค.ส.ล. จากถนนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ : ระยะทาง 0.50 กิโลเมตร ต้นทางถนนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์สู่ปลายทางสิ้นสุดโครงการ ในลักษณะบนไหล่ทาง

ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาเส้นทางจักรยานในพื้นที่กรุงเทพ จากหน่วยงาน กทม. แล้ว ก็ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น กรมทางหลวง, กรมทางหลวงชนบท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ร่วมรับหน้าที่พัฒนาเส้นทางจักรยานในพื้นที่กรุงเทพ รวมทั้งจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมปั่นจักรยานแก่คนไทยทั่วประเทศ อาทิเช่น
• โครงการเขตทางพิเศษศรีรัช ถนนงามวงศ์วาน-ถนนแจ้งวัฒนะ (กรุงเทพ)
• โครงการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (จ. สมุทรปราการ)
• โครงการถนนเชื่อมต่อราชพฤกษ์-กาญจนาภิเษก (จ.นนทบุรี)
• โครงการ มธ.ศูนย์รังสิต – เขื่อนเจ้าพระยา (จ.ปทุมธานี-ชัยนาท)
• โครงการถนนเลี่ยงเมือง (จ.เชียงใหม่)
• โครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย (จ.ระยอง-จันทบุรี)
• โครงการถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย (จ.เพชรบุรี-ประจวบคิรีขันธ์-ชุมพร)
• โครงการถนนทางหลวงชนบทสาย พท.5050 (จ.พัทลุง)

ติดตามบทความอัพเดตสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog #Anandaurbanlifestyle
สมัครสมาชิกเพื่อติดตามและรับข่าวสารหรือร่วมกิจกรรมดีๆกับเราทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog ได้ที่ http://bit.ly/2aEMxIJ

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top