ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) ถือเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานทุกคนมีโอกาสเผชิญได้ ด้วยสภาพแวดล้อมทั้งเรื่องปริมาณงาน, ความกดดัน, พื้นที่ในการแสดงออก รวมไปถึงผลตอบแทนของการทำงานที่อาจสวนทางกับความมุ่งมั่นตั้งใจ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่เพื่อน ๆ รู้สึกเหนื่อยล้าทางใจ ต่อต้านการทำงาน หรือหมด Passion กับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ขอให้เพื่อน ๆ รู้ว่า ‘ภาวะหมดไฟ’ ไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอดทนเพื่อกดความรู้สึกนั้นลงไป เพียงแต่ให้เวลาตัวเองหยุดพัก ทำความเข้าใจ และรู้จักวิธีฮีลใจเพิ่มพลังบวกในวันที่หมดไฟให้ตัวเองเป็นอันดับแรก
การที่เพื่อน ๆ คนทำงานเกิดความรู้สึกหมดไฟ ส่วนหนึ่งก็มาจากการทำงานหนักแบบ Work Hard จนกินเวลาส่วนตัว เวลาความสุขของตัวเองมากเกินไป ดังนั้นหนึ่งในวิธีฮีลใจที่สำคัญคือการจัดสรรเวลา Work Life Balance ในชีวิตใหม่ เช่น
- 8 ชั่วโมง Work Smart – เริ่มทำงานตรงเวลา และใช้เวลาภายใน 8 ชั่วโมง ผลิตชิ้นงาน รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ นอกจากนี้เวลาพักเที่ยงก็ควรพักผ่อนกินข้าวให้ตรงเวลา
- 8 ชั่วโมง Relaxing – อย่ากลัวที่จะมีเวลาพักผ่อน เมื่อหมดเวลางานคุณสามารถผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ดูซีรีส์ อ่านหนังสือ ทานของที่ชอบ เสพย์คลิปตลกจากโซเชียล เป็นต้น
- 8 ชั่วโมง Sleep – ให้เวลากับการนอนเป็นสำคัญไม่แพ้ส่วนไหน เมื่อเพื่อน ๆ ให้เวลาครบทั้งการทำงาน และผ่อนคลายเต็มที่แล้ว เพื่อน ๆ ก็สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่ครบ 8 ชั่วโมง ทำให้ร่างกายสดชื่น สดใส พร้อมทำงานในทุกวัน
เมื่อมีความรู้สึกไม่สบายใจจากภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) วิธีที่ดีที่สุดคือ ‘หาที่ระบาย’ ปลดปล่อยความทุกข์ผ่านการพูดคุยกับคนที่พร้อมรับฟังปัญหา เพราะอย่างน้อย ๆ การได้เล่าเรื่องที่พบเจอจะทำให้เราไม่ต้องเป็นเดอะแบก แบกความรู้สึกไว้ทั้งหมดคนเดียว หรือนอกจากผู้คนใกล้ตัวแล้ว ยังสามารถระบายความรู้สึกกับคนแปลกหน้า เหล่าเพื่อนผู้รับฟังทางออนไลน์ เช่น
- Alljit ช่องทางระบายความในใจรูปแบบออนไลน์ ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน มีคนพร้อมรับฟังเสมอ ดูเพิ่มเติม https://www.alljitblog.com
- Blissiam เป็นอีกเส้นทางที่สามารถพูดคุย ระบายความในใจแบบไม่ต้องเผยตัวตนได้ ดูเพิ่มเติม https://www.blissiam.com
การเขียนบันทึกหรือเขียนไดอารี่ เพื่อน ๆ สามารถนำวิธีนี้ไปใช้ได้กับทุกสภาวะความเครียด ไม่จำกัดแค่ช่วง ‘หมดไฟ’ (Burnout Syndrome) เพราะถือเป็นวิธีการระบายความเครียดช่องทางหนึ่ง โดยสามารถถ่ายทอดในรูปแบบการเขียน การวาดภาพ ซึ่งหากเขียนบันทึกเป็นประจำวันละ 15 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ อาจช่วยลดภาวะความเครียดของเพื่อน ๆ ได้ แต่ทั้งนี้ก็หากความรู้สึกไม่พร้อม ก็ไม่จำเป็นต้องบังคับให้ตัวเองเขียนแต่อย่างไร
เทคนิคการเขียนบันทึกความรู้สึก:
- เลือกช่วงเวลาที่สะดวกและทำได้สม่ำเสมอ และไม่ใช่ช่วงเวลาที่ต้องรีบออกไปทำภารกิจ
- เลือกอุปกรณ์การเขียนตามสะดวก เช่น สมุดโน้ต, iPad หรือสมาร์ตโฟนใกล้ตัว
- ไม่จำกัดรูปแบบ การเขียนบันทึกระบายความรู้สึก
- ระหว่างเขียนระบายความรู้สึก อย่าลืมลองมาหาข้อดีจากเหตุการณ์ที่เจอและจดบันทึกลงไปด้วย เช่น
– สถานการณ์: เข้าประชุมสาย
– ข้อดีที่ค้นพบ: การประชุมครั้งหน้าต้องเผื่อเวลาก่อนเข้าประชุมให้มากยิ่งขึ้น
เพราะข้อดีเหล่านี้จะช่วยให้คุณบรรเทาความอึดอัดใจ และช่วยเพิ่มพลังบวกให้เพื่อน ๆ ได้ในอีกทาง
ซึ่งข้อนี้สำคัญมากเพราะในทุก ๆ วิธีฮีลใจทั้งหมด หากข้อนี้ยังไม่ปลดล็อกก็คงได้ผลลัพธ์ไม่ต่างจากเดิม เพราะเพื่อน ๆ จะยึดติดกับงาน, การประชุม และเจ้านาย ดังนั้นเราควรปล่อยวาง และหาเวลาอนุญาตให้ตัวเองมีความสุขได้ ไม่ว่าจะเป็น
- สนุกกับสื่อบันเทิง การฟังเพลง ดูซีรีส์ ดูคลิป Tiktok อ่านเรื่องเพลินๆ ให้มีความสุข
- ทานอาหารที่ดี ฟินกับอาหารอร่อย ให้รางวัลตัวเองสำหรับการทำงานตลอดสัปดาห์
- เติมพลังบวกด้วยการกอด จะกอดหมา กอดตุ๊กตา หรือกอดตัวเองจะช่วยเติมกำลังใจให้ได้
- ออกกำลังกาย เพราะสุขภาพกายที่ดี จะช่วยฟื้นฟูจิตใจให้สดชื่นขึ้นมาได้
- สัมผัสธรรมชาติ มองดูวิวต่างจังหวัด สูดกลิ่นอายของธรรมชาติเพื่อผ่อนคลาย
หรือจะเลือกช็อปปิ้งเปย์ตัวเองกับสิ่งของที่อยากได้ ก็จะทำให้เพื่อน ๆ รู้สึกมีความสุขมากขึ้นนั่นเอง