นอนน้อยแต่นอนนะ รู้จักกฎการนอน 90 นาที ตื่นมาไม่มีง่วง

ไม่ว่าจะนอนมากหรือนอนน้อยแต่ตื่นมาก็ยังง่วงอยู่ดี ถ้าทุกคนเคยมีอาการเหล่านี้ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับ ‘กฎการนอน 90 นาที’ เพื่อให้เราสามารถคำนวณเวลาตื่นนอนให้ไม่เพลีย หรืองัวเงีย กันครับ
 
โดยทั่วไปแล้วในระหว่างที่เรากำลังนอนหลับ สมองของเราจะยังคงทำงานอยู่เป็นรอบ รอบละ 90 นาที ซึ่งภายใน 90 นาทีก็จะประกอบไปด้วยช่วงการนอน NREM Sleep (80 นาที) และ REM Sleep (10 นาที)
 
NREM Sleep จะเป็นช่วงการนอนหลับที่ลูกตากรอกตัวไปมาอย่างช้า ๆ สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 ระยะ คือ
  • ระยะที่ 1 ช่วงเริ่มต้น ในระยะนี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง เพื่อเตรียมเข้าสู่การเริ่มหลับ หากตื่นช่วงนี้ก็จะไม่มีอาการงัวเงียตามมา
  • ระยะที่ 2 ช่วงเคลิ้มหลับ ในระยะนี้จะเป็นรอยต่อระหว่างที่เรากำลังเริ่มหลับและหลับลึก
  • ระยะที่ 3 ช่วงหลับลึก เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่ง Growth Hormone และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หากถูกปลุกให้ตื่นในช่วงนี้ จะทำให้เกิดอาการงัวเงียได้
REM Sleep จะเป็นช่วงการนอนที่ลูกตามีการกรอกไปมาอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้สมองจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่เราตื่นอยู่ จึงมักจะเกิดความฝันขึ้นในช่วงนี้
 
เมื่อรู้แบบนี้แล้วถ้าไม่อยากงัวเงียตอนตื่นนอน ก็จะต้องตั้งนาฬิกาปลุกตอนตื่นให้สอดคล้องกับกฎการนอน 90 นาทีกันด้วยนะครับ
 
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top