ชวนทิ้งแบบไม่เสียดาย! สำหรับคนที่แพลนจัดบ้าน ทิ้งเก่า เริ่มใหม่ เพื่อรับปี 2022 แบบบ้านสะอาด
หากไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน วันนี้เรามีเคล็ดลับจัดบ้าน ‘คนมาริ’ (KonMari) ที่จะทำให้คุณตัดสินใจทิ้งของไม่จำเป็นได้ง่ายขึ้น กับการจัดบ้านฉบับ “คนโด มาริเอะ”
…ถ้าพร้อมลุยแล้ว ไปชมกันเลยครับ
หมวดเสื้อผ้า
หมวดนี้เป็นหมดน่าปวดหัวสำหรับหลายคน เพราะเสื้อผ้าบางชุด แม้จะยังใหม่ แต่ไม่เคยหยิบมาใส่เลย จะทิ้งจึงเสียดาย แต่ให้เก็บไว้ก็รกตู้เสื้อผ้าเปล่า
ดังนั้นมาริเอะจึงแนะนำให้ “ระเบิดตู้เสื้อผ้า” ด้วยการนำเสื้อผ้าทุกตัวในบ้านมากองรวมกัน เพื่อให้เราเห็นภาพรวมของเสื้อผ้าทั้งหมดว่ามีเยอะแค่ไหน เมื่อเห็นความเยอะของเสื้อผ้า เราก็จะตัดใจเลือกที่จำเป็นได้จริงๆ
คำแนะนำของมาริเอะคือเทคนิค ‘จุดประกายความสุข’ นั่นคือเมื่อหยิบชิ้นไหนขึ้นมาแล้วมีความสุข ก็ให้เก็บชิ้นนั้นไว้ แต่หากชิ้นไหนไม่ได้รู้สึกถึงความสุขก็ให้ทิ้งไป
อีกหนึ่งเทคนิคเล็กๆ ที่ช่วยให้บ้านเป็นระเบียบคือการปรับเปลี่ยนวิธีพับจัดเก็บเสื้อผ้าให้เป็นระเบียบ อาจจะหากล่องมาคัดแยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้หยิบง่ายและเป็นระเบียบครับ
หมวดหนังสือ
ใช้เทคนิคเดียวกันกับการ ‘จุดประกายความสุข’ ด้วยการหยิบหนังสือมาทีละเล่ม จากนั้นให้ถามตัวเองว่า “เล่มไหนที่อยากนำติดตัวไปในอนาคตด้วย” ก็ให้เก็บเล่มนั้นเอาไว้
การคัดเลือกทีละเล่มโดยใช้เวลาสัมผัสให้รู้สึกถึงความสุข จะทำให้เรารู้ว่าอยากเก็บเล่มไหนไว้จริงๆ ขณะเดียวกันก็ทราบว่าเล่มไหนที่เราต้องการส่งต่อให้คนอื่นได้อ่านนั่นเอง
เพียงเท่านี้เราก็สามารถเลือกหนังสือเล่มที่ใช่ได้แล้ว โดยไม่รู้สึกเสียดาย หรือเกิดอาการรักพี่เสียดายน้องนั่นเอง
หมวดของใช้จิปาถะ
เป็นหมวดใหญ่สุดของการจัดเก็บบ้าน เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นของจุกจิกเล็กๆ น้อยๆ แต่กินพื้นที่บ้านเกือบทั้งหมด การจัดการของเกล่านี้จึงกลายเป็นเรื่องลำบาก
แน่นอนว่าเทคนิคในการคัดแยกของที่จำเป็นและไม่จำเป็นยังคงยึดหลัก “จุดประกายความสุข” เช่นเดิม แต่ที่เพิ่มเติมคือการจัดให้เป็นระเบียบมากขึ้นด้วยการนำ ‘กล่อง’ เข้ามาช่วยสร้างความเป็นระเบียบ
เช่นกล่องใสที่สามารถเห็นของภายในได้ เพื่อที่จะได้หาได้ง่าย และไม่เกิดการซื้อซ้ำ เพราะบางครั้งเราเก็บไว้จนลืม พอมองไม่เห็น หาไม่เจอ ก็เกิดการซื้อซ้ำ โดยของใน 1 กล่องควรเป็นหมวดหมู่เดียวกัน
หมวดเอกสาร
ช่วง Work from home ที่ผ่านมา หลายคนจึงจัดเก็บเอกสารไว้ในบ้านมากขึ้น การจัดการกับเอกสารเหล่านี้จึงกลายเป็นอีกหนึ่งหมวดหมู่ที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับเอกสารนั้น มาริเอะแนะนำว่าให้แบ่งกองเอกสารเป็น 3 กองด้วยกันคือ
- เอกสารดำเนินการต่างๆ เช่น บิลค่าไฟ จดหมาย ฯลฯ หากเราดำเนินการเรียบร้อย ก็สามารถทิ้งไปได้เลย
- เอกสารสำคัญ เช่น สัญญา แบบฟอร์มประกัน ฯลฯ เอกสารเหล่านี้จัดอยู่ในหมวดเอกสารสำคัญ จึงควรจัดใส่แฟ้ม เก็บใส้ลิ้นชักให้เป็นระเบียบ
- เอกสารจิปาถะ ที่เราหยิบมาดูบ่อยๆ เช่น สูตรอาหารที่เราพิมพ์ออกมา ฯลฯ แนะนำให้วางในตำแหน่งที่หยิบง่าย โดยจัดไว้ในมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน เช่น ใส่ตะกร้าวางไว้บนชั้นหนังสือ เป็นต้น
นอกจากนี้อาจมีเอกสารจากออฟฟิศที่หยิบกลับมาทำที่บ้าน เอกสารเหล่านี้เมื่อเราทำงานเรียบร้อยก็ควรนำส่งคืนไปเก็บในบริษัทครับ
หมวดเอกสาร
ช่วง Work from home ที่ผ่านมา หลายคนจึงจัดเก็บเอกสารไว้ในบ้านมากขึ้น การจัดการกับเอกสารเหล่านี้จึงกลายเป็นอีกหนึ่งหมวดหมู่ที่ไม่ควรมองข้าม
สำหรับเอกสารนั้น มาริเอะแนะนำว่าให้แบ่งกองเอกสารเป็น 3 กองด้วยกันคือ
- เอกสารดำเนินการต่างๆ เช่น บิลค่าไฟ จดหมาย ฯลฯ หากเราดำเนินการเรียบร้อย ก็สามารถทิ้งไปได้เลย
- เอกสารสำคัญ เช่น สัญญา แบบฟอร์มประกัน ฯลฯ เอกสารเหล่านี้จัดอยู่ในหมวดเอกสารสำคัญ จึงควรจัดใส่แฟ้ม เก็บใส้ลิ้นชักให้เป็นระเบียบ
- เอกสารจิปาถะ ที่เราหยิบมาดูบ่อยๆ เช่น สูตรอาหารที่เราพิมพ์ออกมา ฯลฯ แนะนำให้วางในตำแหน่งที่หยิบง่าย โดยจัดไว้ในมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน เช่น ใส่ตะกร้าวางไว้บนชั้นหนังสือ เป็นต้น
นอกจากนี้อาจมีเอกสารจากออฟฟิศที่หยิบกลับมาทำที่บ้าน เอกสารเหล่านี้เมื่อเราทำงานเรียบร้อยก็ควรนำส่งคืนไปเก็บในบริษัทครับ
หมวดของที่มีคุณค่าทางใจ
ของขวัญต่างๆ หรือของสะสมที่มีคุณค่าทางใจ เป็นหมวดที่จัดเก็บยากที่สุด ดังนั้นมาริเอะจึงแนะนำให้จัดของหมวดนี้เป็นอย่างสุดท้าย
นั่นเพราะหากเก็บเป็นหมวดแรก เราจึงรู้สึกติดขัด ยังตัดสินใจไม่ได้ เกิดอาการลังเล แต่เมื่อเราจัดเก็บหมวดอื่นๆ ตามข้างต้นอย่างชำนาญแล้ว เราจึงเกิดความเชื่อในความสามารถและการตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งช่วยให้เราตัดสินใจทิ้งได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
แน่นอนว่าเทคนิคที่ใช้ในการจัดเก็บก็ยังคงเป็นทริค ‘จุดประกายความสุข’ ที่จะช่วยคัดแยกของที่อยากเก็บกับของที่จะทิ้งเช่นเดิม