สำหรับห้องคอนโดแล้ว อาจไม่สามารถที่จะทำห้องพระแยกส่วนได้ชัดเจน โดยเฉพาะห้องที่ขนาดไม่ใหญ่มาก เพราะพื้นที่จำกัดจึงทำให้ต้องใช้เป็น หิ้งพระติดผนัง แทน แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยชื่นชอบรุ่นแบบเดิม ๆ ที่ดูไม่ค่อยเข้ากับดีไซน์คอนโดมากนัก ดังนั้นเราเลยขอแนะนำ 12 ไอเดีย หิ้งพระติดผนัง ของชาวคอนโดมาฝาก รับรองติดตั้งง่าย สวยเนียนไปกับการตกแต่งห้อง พร้อมเสริมความเป็นมงคลให้ชีวิตไปพร้อม ๆ กันอย่างลงตัว โดยเฉพาะใครที่อยู่คอนโดอนันดา หากคุณเป็นสายมูหรือหากชื่นชอบการสวดมนต์ไหว้พระอยู่แล้วล่ะก็ ไอเดียเหล่านี้เหมาะกับคุณอย่างยิ่งแล้ว ตามไปดูกันเลย
1.หิ้งพระแบบฝังผนัง
ลักษณะของ หิ้งพระติดผนัง จะเป็นการออกแบบที่ตัวหิ้งด้านหลังติดรวมไปกับผนังเลยนั่นเอง โดยมากจะใช้การฉาบปูนเพิ่ม เมื่อติดตั้งแล้วจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เหมือนกับเฟอร์นิเจอร์ Built in มีข้อดีคือ ช่วยทำให้ฐานมีความแข็งแรง เลือกดีไซน์ให้เป็นโทนสีเดียวกับผนังได้ เพื่อความลงตัว ถ้าคอนโดห้องไหนสามารถก่อผนังกั้นเพิ่มขึ้นมาได้ สามารถสร้างพื้นที่เว้าเข้าด้านในเพื่อเป็นฐานวางองค์พระ โดยไม่ต้องซื้อฐานเพิ่มเติม แต่เปลี่ยนให้ผนังปูนได้ทำหน้าที่เป็นฐานวางแทน แล้วจัดแต่งด้วยแสงไฟประดับเพื่อให้ดูสะดุดตา โดยเน้นเป็นหิ้งสไตล์มินิมอล ขนาดกะทัดรัด เรียบง่าย หรือถ้าอยากยื่นฐานให้ออกมาด้านนอกก็สามารถทำได้ แนะนำให้เลือกเป็น หิ้งพระแบบฉากโค้งด้านหลัง ไม่มีรั้วล้อมรอบ หรือจะเป็นแบบแผ่นไม้เดี่ยวมีลิ้นชัก เมื่อมองแล้วให้ความรู้สึกเย็นสบายตาไปอีกแบบ ใช้กับพื้นที่คอนโดทุกขนาดได้ตามต้องการ
2.หิ้งพระไม้โมเดิร์น
ใครว่าความเป็นไม้จะสร้างบรรยากาศแบบวินเทจให้ที่พักอาศัยอย่างเดียวเสียเมื่อไหร่ แม้ว่า หิ้งพระติดผนัง ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นฐานไม้ พอนึกภาพตามก็ได้ความรู้สึกที่ช่างคอนทราสต์กับคอนโดยุคใหม่เสียเหลือเกิน นั่นก็เป็นเพราะเราไม่รู้ค้นหาสไตล์ใหม่ ๆ หิ้งพระที่มาจากวัสดุไม้ในยุคนี้มีหลายแบบให้เลือก สวยงามและโมเดิร์นมากขึ้น สามารถดัดงอโครงไม้ให้ดูทันสมัย เช่น ชั้นไม้สามเหลี่ยมติดกับมุมผนังห้อง ก็ให้สไตล์เก๋ ๆ ที่ไม่เหมือนใคร หรือการใช้แผ่นไม้มาเล่นระดับเพื่อวางเป็นฐานก็ดูเก๋ไปอีกแบบ แถมไม่กินพื้นที่คอนโดอีกด้วย
ดังนั้น ถ้าใครที่อยากได้ความเป็นโมเดิร์น แนะนำให้เลือกใช้เป็น หิ้งพระติดผนัง แบบไม้สไตล์เรียบ ๆ สร้างลูกเล่นด้วยลวดลายไม้เคลือบเงา หรือจะเป็นฐานไม้ขัดสีเคลือบด้วยแลคเกอร์เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก หลีกเลี่ยงการดีไซน์ที่จับเอาศิลปะแบบดั้งเดิมมาใช้ เพราะจะทำให้ดูเป็นหิ้งพระแบบโบราณจนเกินไป เลือกใช้ไม้ที่จัดวางเป็นทรงเรขาคณิตแบบง่าย ๆ บอกเลยว่ามีให้เลือกหลากหลายจนเลือกไม่ถูกกันเลยทีเดียว
3.หิ้งพระสไตล์มินิมอล
ความเป็นมินิมอลนั้นกลมกลืนได้เป็นอย่างดีกับคนที่ชอบพักอาศัยในคอนโด เพราะความน้อยแต่มากชวนหลงใหลและมีเสน่ห์ ไม่ว่าจะจัดวางเอาไว้มุมไหนก็ช่วยให้ห้องต่าง ๆ มีความเรียบง่าย ไม่รกสายตา มองแล้วให้ความผ่อนคลาย ดังนั้นรูปแบบของ หิ้งพระติดผนัง สไตล์มินิมอลไม่ใช่เรื่องยากในการค้นหามาติดตั้ง เลือกเฟ้นหาแบบที่มีดีไซน์เรียบง่าย สีสันที่นิยมคือสีขาวหรือดำล้วน วางองค์พระสีทองอร่ามขนาดพอดี เพื่อช่วยให้ตัดกันอย่างสวยงามลงตัว จะติดตั้งแบบวางบนโต๊ะ หรือเจาะรูแขวนผนังก็ได้ตามสไตล์การแต่งห้องที่ชอบ เหมาะสำหรับชาวเมืองยุคใหม่
4.หิ้งพระไม้แบบแขวน
การแขวนหิ้งพระไม้เอาไว้กับผนังภายในห้องคอนโด ช่วยเพิ่มพื้นที่ในการใช้งาน ดูสบายตา แถมสไตล์ของหิ้งไม้ในปัจจุบัน มีหลากหลายให้เลือก ทั้งแบบธรรมดาที่เราหุ้นหูคุ้นตา ไปจนถึงแบบที่มีลูกเล่นเป็นชั้น สีไม้แบบเข้ม แบบอ่อน ไปจนถึงการออกแบบรูปทรงโค้งเว้า ให้ดูกลมกลืนไปกับผนัง ด้วยลวดลายของไม้ที่แตกต่างกันตามประเภทไม้ที่นำมาใช้ จึงทำให้เป็นเสน่ห์ที่ไม่ซ้ำใคร สามารถทำหน้าที่เป็นได้ทั้งของตกแต่ง และเป็นทั้งหิ้งพระประจำบ้านหรือคอนโดที่ดูสวยงามไปพร้อม ๆ กัน
5.หิ้งพระพร้อมมุมโต๊ะทำงาน
บางคนที่มีเฟอร์นิเจอร์เยอะ บวกรวมกับพื้นที่คอนโดจำกัดอย่างมาก การใช้งานบางอย่างก็สามารถรวมเข้าให้เป็นชิ้นเดียวกันได้ เช่นเดียวกับฐานพระและโต๊ะทำงานขนาดกะทัดรัดที่สามารถจับมาเข้ากันได้อย่างที่ไม่น่าเชื่อ แถมยังติดตั้งได้ง่าย ไม่ต้องเจาะผนังให้เสียหาย เข้ามุมในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นเหมือนกับ หิ้งพระติดผนัง เคลื่อนย้ายได้ไปพร้อมกับโต๊ะทำงานที่อยู่ด้านล่าง การเชื่อมต่อกันคือแผ่นไม้หนาเป็นฉากหลังต่อยาวขึ้นไปด้านบน มีแท่นสำหรับวางฐานพระอาจจะเป็นแบบฐานเดี่ยว หรือมีฐานคู่ด้านข้างสำหรับวงพระองค์เล็กก็ได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ และดูเก๋ไปอีกแบบ
6.หิ้งพระแขวนผนังแบบหกเหลี่ยม
เราสามารถเปลี่ยน หิ้งพระติดผนัง จากภาพจำเดิม ๆ เป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งผนังด้วยชั้นแขวนทรงหกเหลี่ยมที่สามารถตั้งพระองค์ขนาดพอเหมาะได้ แถมรูปทรงของหิ้งแบบนี้สามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันให้ดูมีลูกเล่นบนผนัง ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยการวางระดับชั้นสูงต่ำแตกต่างกันให้ดูมีมิติ อิสระในการแขวนได้หลายสไตล์ ทำให้บรรยากาศภายในห้องคอนโดดูไม่น่าเบื่อ เสริมสิริมงคลในชีวิตไปพร้อม ๆ กับงานดีไซน์คิดไม่ถึง
7.หิ้งบูชามีลิ้นชัก
หิ้งพระติดผนัง อีกหนึ่งสไตล์ที่ดูเก๋ เรียบง่าย มีกลิ่นอายความเป็นมินิมอล การติดตั้งสามารถใช้การเจาะผนัง หรือใช้แขวนด้วยตะปูก็ได้ ส่วนของฐานวางจะมีความหนาเป็นพิเศษ เพราะออกแบบฟังก์ชั่นให้ด้านในเป็นลิ้นชัก ใช้สำหรับเก็บองค์พระขนาดเล็กเอาไว้ ไม่ให้วางแล้วดูรกสายตา ส่วนฐานก็ตั้งเป็นพระประฐานองค์ใหญ่ขึ้นมาสักหน่อย ใครที่อยากลองเพิ่มสีสัน สามารถติดตั้งไฟส่องดาวน์ไลท์ ช่วยสร้างบรรยากาศให้ดูละมุนตา อบอุ่นและชวนสงบ
8.หิ้งพระเข้ามุม
ส่วนใหญ่เราคงไม่ค่อยเห็นบ้านไหนที่จับเอาหิ้งพระไปติดกับมุมผนังห้อง แต่สำหรับพื้นที่แคบ ๆ ดีไซน์ที่ชวนสะดุดตาคือการเปลี่ยนความซ้ำซากเดิม ๆ ให้ดูน่าสนใจขึ้นด้วยการเลือกใช้ หิ้งพระติดผนัง แบบเข้ามุม ลักษณะของฐานที่เป็นไอเดียได้ดีคือแบบเรียบ ๆ ไม่มีรั้วขอบด้านข้าง เข้ามุมแบบเก็บขาค้ำผนัง ถ้าห้องมีขนาดคับแคบให้เลือกเป็นโทนสีขาว เพื่อเพิ่มความปลอดโปร่ง การเข้ามุมยังสามารถวางฐานเรียงกันเป็นลำดับชั้นลงมาได้แบบไม่เปลืองพื้นที่ เพิ่มลูกเล่นด้วยการวางองค์พระขนาดใหญ่ และเล็กไล่ระดับกันลงมา ช่วยทำให้มุมห้องคอนโดโดดเด่นมากขึ้น
9.หิ้งพระโคมไฟแบบไม้สองชิ้น
เป็นความมินิมอลที่น่าสนใจ ด้วยลักษณะของแผ่นไม้ที่เอามาเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นฐานวางองค์พระ และส่วนไม้อีกชิ้นประกอบเข้าด้วยกันเพื่อติดผนัง ดึงดูดให้ไม้ดูมีมิติ ผนังไม่เรียบจนน่าเบื่อ เพิ่มความสวยงามด้วยการเปลี่ยน หิ้งพระติดผนัง ธรรมดาให้กลายเป็นโคมไฟผนังไปในตัว ติดตั้งหลอดไฟเอาไว้ตำแหน่งบนหรือล่างของฐาน ช่วยสร้างแสงสว่างในยามกลางคืนทีสวยงาม เรียบง่าย ดูไม่กินพื้นที่ เหมาะสำหรับคอนโดที่มีพื้นที่ขนาดเล็กมาก ๆ สามารถเลือกวางพระองค์เล็กได้ ทำให้ดูสมดุลและสวยงามเข้ากับลักษณะห้องได้มากขึ้น
10.หิ้งพระจากวัสดุเหล็ก
โดยปกติแล้ว เราอาจจะนึกถึง หิ้งพระติดผนัง ที่เป็นแบบไม้กันซะส่วนใหญ่ แต่ถ้าลองเปลี่ยนมาเป็นวัสดุเหล็ก ที่ดูมีเสน่ห์ไปอีกแบบ สามารถดัดงอให้เป็นโครงในแบบที่ต้องการได้ เสน่ห์ของสีเหล็ก สามารถเลือกใช้เป็นเหล็กเปลือย สีตามธรรมชาติ หรือจะเป็นเหล็กเคลือบสีที่ดูฐานดูบางแต่แข็งแกร่งก็สวยงามชวนดึงดูด เหมาะสำหรับห้องคอนโดที่อยากตกแต่งด้วยกลิ่นอายอินดัสเทรียล หรือแบบบลอฟท์ ให้กลิ่นอายที่ดูต้องมนต์ขลัง องค์พระสีเงินหรือสีทองยิ่งจะช่วยขับเสน่ห์ให้ฐานพระดูน่ามอง เคล้าไปกับสไตล์การตกแต่งห้อง ดูไม่แปลกแยกและยังช่วยเพิ่มความตระการตา ให้ห้องคอนโดดูไม่ซ้ำใคร
11.หิ้งพระโทนสีขาวกับการเล่นระดับ
เมื่อไม่ต้องการวางองค์พระแค่องค์เดียวบนหิ้ง แนะนำว่าถ้าอยู่อาศัยในคอนโด การจัดวางพระเป็นแบบโต๊ะหมู่อาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะด้วยพื้นที่ ๆ มีขนาดจำกัดมากเป็นพิเศษ ทำให้ห้องดูคับแคบและกินพื้นที่มากเกินไป เราสามารถที่จะยกระดับการดีไซน์ด้วยหิ้งพระโทนสีขาวเพื่อเพิ่มความสว่าง เป็นแผ่นไม้พ่นสีประกอบเข้าด้วยกันด้วยลูกเล่นสองชั้น สำหรับวางองค์พระขนาดใหญ่ให้อยู่ตรงกลาง ส่วนสองข้างจะมีฐานสำหรับวางองค์พระขนาดเล็กได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสวยที่สมมาตรกัน ฐานหลักยื่นออกมาด้านหน้าสักหน่อยเพื่อใช้วางของสักการะ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ ธูปเทียน เป็นต้น อาจมีขอบรั้วแบบเรียบ ๆ สองด้านเพื่อป้องกันไม่ให้องค์พระร่วงหล่นลงมา เป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากจัดวางความเป็นสิริมงคลให้ตัวเองจากองค์พระหลาย ๆ องค์
12.หิ้งพระแบบเลื่อนปิดได้
ลักษณะของชั้นวางบูชาพระแบบนี้น่าจะเหมาะสมกับคอนโดที่อาจจะใช้ห้องเป็นพื้นที่กิจกรรมอย่างอื่น เช่น เป็นห้องสตูดิโอ หรือต้องการเปลี่ยนผนังมุมที่มีองค์พระเป็นที่ถ่ายภาพ บางทีเราก็จำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ทางเลือกสำหรับจัดวางหิ้งพระที่สามารถเลื่อนเปิดปิดได้เหมือนบานหน้าต่าง บานเลื่อนไม้ที่ปิดได้และกลายเป็นมุมที่ดูสวยงาม เหมือนของตกแต่งติดผนังที่เข้ากับการถ่ายภาพในมุมนั้น ๆได้ เมื่อปิดแล้วจะมองไม่เห็นองค์พระ ดีไซน์เป็นเหมือนกล่องไม้ที่มีแผ่นไม้เลื่อนด้วยรางแบบทรงโค้งเปิดและปิดได้สะดวก เรียกได้ว่ากั้นสายตาได้ในยามที่จำเป็นจริง ๆ เมื่อต้องใช้งานมุมดังกล่าว ส่วนในวันปกติ ก็เลือกที่จะเปิดบานหน้าต่าง มองเห็นองค์พระที่สวยงาม เข้ากับฐานบูชาองค์พระที่บอกเลยว่าทันสมัย เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ที่ต้องการเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ติดตั้งแล้วไม่รู้สึกขวางหูขวางตา
จะเห็นได้ว่าไอเดีย หิ้งพระติดผนัง มีหลากหลายสไตล์ให้เลือกสำหรับชาวคอนโดที่ต้องการเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต โดยทั้ง 12 ไอเดียเหล่านี้สามารถเลือกนำไปประยุกต์ใช้ตามสไตล์การตกแต่งห้องคอนโดอนันดากันได้ รับรองไม่เปลืองพื้นที่ แถมยังดูเก๋มีเสน่ห์ เสริมดวงและบารมีไปพร้อม ๆ กับความสวยของพื้นที่ภายในห้องได้แบบไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน
ขอบคุณรูปภาพจาก: เฟซบุ๊ค Buchapatt หิ้งพระโมเดิร์น และ shelfidea.com