คน GEN C มีหลายอาชีพ จัดการเสียภาษีอย่างไร?

เมื่อรายได้มากขึ้นหลายทาง การเสียภาษีก็ยากขึ้นตามไปด้วย ถ้าคุณไม่อยากขมวดคิ้ว วิ่งตามหาเอกสารสำคัญทุกครั้งก่อนยื่นภาษีประจำปี ขอแนะนำให้ชาว Gen C ที่มีรายได้มากกว่า 1 ทางมารวมกันตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ฟรีแลนซ์เต็มตัว, พนักงานประจำที่ขายของออนไลน์ หรือรับงานเสริม ก็ต้องไม่พลาดที่จะเตรียมตัว เตรียมเอกสาร และรายการลดหย่อน สำหรับการยื่นภาษีประจำปี

ก่อนจะไปถึงเรื่องการจัดการภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ลองมาเช็กรายได้ตัวเองก่อนว่าเข้าเกณฑ์การเสียภาษีแล้วหรือยัง? โดยคำนวนจากเงินได้สุทธิ คือ รายได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย (50% ของเงินได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) – ค่าลดหย่อน ซึ่งหากเกิน 150,000 บาทขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์การเสียรายได้ตามลำดับ เช็กอัตราการเสียภาษีแบบขั้นบันไดได้ที่ https://www.rd.go.th/59670.html

ดังนั้นหากคุณมีรายได้หลายทางอย่าลืมทำบันทึกรายได้ที่ได้รับจากทุกช่องทาง เพราะหากตกหล่น หรือยื่นภาษีไม่ครบอาจต้องมาตามจ่ายย้อยหลังได้

สำหรับพนักงานประจำ อาจจะไม่ยุ่งยากเท่าไหร่เพราะนายจ้างจะมีแจ้งการหักภาษีในสลิปเงินเดือนทุกเดือน และสิ้นปีบางบริษัทมีสรุปใบ ภ.ง.ด.91 มาให้เราไปเช็กข้อมูล หรือปรับแต่งรายการลดหย่อนเอง แต่สำหรับผู้ที่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่นๆ หลักจากได้รับค่าจ้าง (หักภาษี 3%) แล้วต้องเก็บเอกสาร ‘ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย’ หรือ ‘ใบ 50 ทวิ’ ที่ระบุวันตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของปีที่ผ่านมา ซึ่งหากไม่ได้รับจากผู้ว่าจ้างแนะนำให้ทวงถามและเช็กข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องทุกครั้ง เพราะหากตกหล่นอาจโดยภาษีเพิ่มเติมย้อนหลังได้

จำได้ไหมว่า รายได้สุทธิ ที่นำมาคำนวนเป็นอัตราภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดามาจาก > รายได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = รายได้สุทธิ
‘ค่าลดหย่อน’ ในตรงนี้เราจะได้มาจากไหนนั้น ลองมาดูกัน

  • สิทธิลดหย่อนผู้มีเงินได้ 60,000 – 120,000 บาท แล้วแต่กรณี
  • คู่สมรส 60,000 บาท
  • บุตร คนละ 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป คนละ 60,000 บาท
  • อุปการะบิดามารดาของผู้มีเงินได้ หรือของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
  • อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ
  • เบี้ยประกันชีวิตของบิดามารดาของผู้มีเงินได้ หรือของคู่สมรส
  • เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ, เบี้ยประกันแบบบำนาญ
  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนเพื่อการออม SSF
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย
  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

ขั้นตอนสุดท้ายแต่อาจไม่ท้ายสุดนั่นคือการ ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทแบบเข้าใจง่ายดังนี้

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีเงินได้มิใช่เงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภทขึ้นไป ถ้าอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ คือสำหรับคนที่มีเงินเดือน และมีรายได้อื่นด้วย
  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภท ‘เงินเดือน’ อย่างเดียวให้ยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของทั้งปี ภายในเดือน มี.ค.ของปีถัดไป ถ้าอธิบายง่ายๆ คือสำหรับพนักงานประจำในบริษัท
  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8) ต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของงวด ม.ค.-มิ.ย. ภายในเดือน ก.ย. ปีเดียวกัน หมายความว่าเป็นการเสียภาษีครึ่งปี สำหรับคนที่ไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้จากช่องทางอื่น เช่น ปันผลจากกองทุน หุ้น หรือขายทรัพย์สินที่ดินได้ เมื่อเข้าใจแล้วก็ยื่นภาษีได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายช่องทางทั้งยื่นออนไลน์ หรือผ่านผู้ให้บริการตัวแทน

 

 

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top