วิธีป้องกัน ’เงินในบัญชี’ ให้หลุดถึงมิจฉาชีพยาก

ยุคปัจจุบันไม่ใช่แค่อินเทอร์เน็ต หรือ Spec สมาร์ทโฟนจะอัปเดทไว เพราะมิจฉาชีพก็อัปเดทกลลวงได้ไวยิ่งกว่า 5G ซะอีก ทำให้เราเห็นข่าวสารตามหน้าโซเชียล หน้าโทรทัศย์เรื่องกลโกงที่มาในรูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแก๊ง Call center , SMS , Messenger หรือ Line โดยแอบอ้างตัวเองเป็นบุคคล หรือองค์กรใหญ่ ๆ และทำให้หลายๆ คนกลายเป็นผู้เสียหายในเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

นับจากนี้เพื่อไม่ให้กลโกงของเหล่าแก๊งมิจฉาชีพง่ายขึ้น เราจึงต้องรัดกุมกับวิธีป้องกัน เงินในบัญชี ทรัพย์สินทุกรูปแบบของเราให้มากที่สุด มาลองดูกันว่าจะมีวิธีไหนบ้าง

ก่อนจะไปถึงวิธีป้องกันมารู้กลโกงรูปแบบต่างๆ ของมิจฉาชีพที่ชอบแทรกมาในชีวิตประจำวันเราโดยไม่รู้ตัว

  • แอบอ้างตัวตน: สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือเป็นองค์กรใหญ่ เพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวของคุณไปตั้งแต่บัตรประชาชน, เลขหลังบัตร, ที่อยู่ และหลอกให้โอนเงิน
  • แอปฯ กู้ออนไลน์: มักมาในรูปแบบข้อความเชิญชวนประเภท “เงินด่วน กู้ง่าย โอนไว” ซึ่งท้ายที่สุดก็จะหลอกให้ผู้เสียหายโอนค่าธรรมเนียม หรือค่าดอกงวดแรกไปให้ เมื่อได้รับเงินโอนแล้วก็จะหายตัวไป
  • ใช้สลิปปลอม: กลโกงที่ทำให้ผู้เสียหายส่วนใหญ่ที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าตกเป็นผู้เสียหายเยอะมากๆ โดยจะอ้างว่าโอนเงินแล้วแต่ไม่ได้รับของบ้าง หรือซื้อสินค้าแต่ใช้สลิปปลอมมายืนยันการจ่าย

เมื่อเรารู้แนวทางของมิจฉาชีพพวกนี้แล้ว เราก็ต้องรู้จักวิธีป้องกัน ยกระดับความรัดกุมของเงินในบัญชี และสินทรัพย์ออนไลน์ของเรา ดังนี้

  1. ตั้งสติ: ไม่ว่าจะมีใครโทร ส่งข้อความ หรือทักแชทให้เราตั้งสติ และสังเกตดูว่าใครเป็นผู้โทรหรือส่งข้อความ และเกี่ยวข้องกับเราหรือไม่?
  2. ช่างสังเกต: กรณีที่เจอข้อความเชิญชวนต่าง ๆ ให้ลองดูลิงก์ที่แนบมากับ SMS ว่าขึ้นต้นด้วย https:// และมีสัญลักษณ์กุญแจอยู่ด้านหน้าไหม ถ้าไม่มีก็ต้องระวังไว้ก่อน
  3. อย่ากรอกข้อมูลส่วนตัว หรือโพสต์ข้อมูลลงพื้นที่สาธารณะ: หนึ่งข้อที่ต้องท่องขึ้นใจว่าระดับองค์กรใหญ่ ๆ ส่วนมากไม่มีนโยบายส่งข้อความถามข้อมูลส่วนตัวของเรา เพราะฉะนั้นถ้ามี SMS มาให้กรอกข้อมูลรีบโทรไปถามที่หน่วยงานนั้นๆ หรือ Report Junk ไปได้เลย

มารัดกุมกันต่อที่ Gadget ในมือเรา จุดเริ่มต้นหรือช่องโหว่ที่ทำให้มิจฉาชีพเข้าถึงเราง่าย

  1. ไม่เชื่อม WIFI ทำธุรกรรม: การใช้ WIFI ที่บ้านหรือสัญญาณ WIFI สาธารณะมีความเสี่ยงที่ทำให้มิจฉาชีพล้วงเอาข้อมูลเราไปได้
  2. ตั้งรับแจ้งเตือนเมื่อเงินเข้า-ออก: เราควรเปิดรับการแจ้งเตือนไม่ว่าจะ SMS หรือ Email เพื่อให้เรารับรู้ทุกครั้งที่มีการโอนเงินเข้า โอนเงินออก เมื่อรู้ทันความเคลื่อนไหวก็จัดการอะไรได้เร็วขึ้น
  3. ตั้งจำกัดวงเงินการถอนต่อวัน: เป็นการจำกัดว่าวันๆ นึงเรานำเงินออกจากบัญชีได้เท่าไหร่ ตั้งค่าง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคารได้เลย (ขั้นตอนขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นแต่ละธนาคาร)
  4. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ: เพื่อจำกัดผู้อื่นที่ไม่ใช่ตัวคุณเองออกจากบัญชีออนไลน์ส่วนตัว แนะนำให้ตั้งใช้รหัสผ่าน 2 ชั้น เช่นการรับ OTP, เปลี่ยนรหัสบ่อยๆ และที่สำคัญไม่ควรเซฟรหัส หรือ 3 ตัวเลขหลังบัตรไว้ในโน๊ตที่ Sync กับโลกออนไลน์

นอกจากตัวคุณเองที่ทำตาม 7 วิธีป้องกัน ‘เงินในบัญชี’ จากมิจฉาชีพแล้ว ยังสามารถแชร์ความรู้ ข่าวสาร และวิธีการป้องกันเหล่านี้ให้คนรอบตัว และคนที่เรารักอยู่เสมอ โดยเฉพาะผู้สูงวัย เพื่อให้ทุกๆ คนรอบตัวเราได้อัปเดทข้อมูลเท่าทัน และรับมือกับแก๊งมิจฉาชีพได้

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top