พาส่องกฏหมาย ‘ลดพลาสติก’รอบโลก พร้อมผลลัพธ์สุดปัง

เนื่องในวันที่ 3 กรกฎาคมของทุกปี ถูกแต่งตั้งให้เป็นวันปลอดถุงพลาสติกสากล (International Plastic Bag Free Day) เพื่อให้ทุกคนบนโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีตัวการเป็นพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single Use) โดยจากสถิติบอกว่าในหนึ่งปีประชากรโลกมีการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ประมาณ 5 แสนล้านใบต่อปี เฉลี่ย 1 คน ใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง 150 ใบต่อปี ซึ่งพลาสติกเหล่านั้นส่วนหนึ่งจะถูกนำมารีไซเคิล แต่ส่วนใหญ่มักถูกนำไปจัดการแบบผิดวิธี อาจไปจบที่บ่อฝังกลบหรือใต้ทะเลที่ใช้ระยะเวลาย่อยสลายมากกว่า 1,000 ปีเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้หลายๆ ประเทศจึงออกกฏหมายเพื่อลด เลิก การใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อช่วยกันลดภาระ บรรเทามลภาวะของโลกด้วยกัน

หลังจากการตื่นตัวเรื่อง ‘ถุงพลาสติก’ แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use) มีหลายประเทศออกกฏหมายเพื่อแบนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างจริงจัง โดยมีมากกว่า 18 ประเทศในทวีปแอฟริกา หนึ่งในนั้นคือประเทศรวันดา (Rwanda) ประเทศแรกที่พูดได้ว่าปลอดการใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งอย่างสมบูรณ์แบบ มีคำสั่งห้ามใช้ (ยกเว้นกรณีที่ต้องใช้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น โรงพยาบาล), ห้ามนำเข้า, ไม่เว้นแม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยมีโทษสูงสุดจำคุก 6 เดือน สำหรับกรณีที่มีการลักลอบนำเข้า หรือจำคุกสูงสุด 1 ปีสำหรับผู้บริหารในบริษัทที่ใช้ถุงพลาสติก

นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่นๆ หลายทวีปที่เริ่มตื่นตัวและมีกฏแบนถุงพลาสติกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • เคนย่า (Kenya) ประกาศแบนถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ทั้งจำหน่าย ผลิต หรือใช้ถุงพลาสติก มีโทษสูงสุดจำคุก 4 ปี หรือปรับ 38,000 ดอลลาร์ (ราวๆ 1,300,000 บาท)
  • บังคลาเทศ (Bangladesh) เป็นกลุ่มประเทศที่แบนถุงพลาสติกอย่างจริงจังเช่นกัน โดยมีกฏหมายห้ามผลิตและแจกถุงพลาสติกแก่ผู้บริโภค มีโทษสูงสุดปรับ 2,000 ดอลลาร์ (ราวๆ 69,700 บาท)
  • เกาหลีใต้ (South Korea) แบนถุงพลาสติก (Single Use) โดยมีกฏให้ซูเปอร์มาเก็ตมากกว่า 2,000 แห่ง งดใช้ถุงพลาสติก โดยมีโทษปรับสูงสุด 3 ล้านวอน (ราวๆ 80,800 บาท)
  • แคนนาดา (Canada) ประกาศแบนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในปี 2021 และครอบคลุมไปถึงหลอด, ช้อนส้อม, จานชาม และบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
  • อินเดีย (India) ในรัฐกรณาฏกะ ประเทศอินเดียมีการประกาศแบนถุงพลาสติกทั่วรัฐ ไม่ว่าจะร้านค้าส่ง ค้าปลีก ก็ไม่สามารถใช้หรือจำหน่ายถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งได้

สำหรับมาตรการการเก็บภาษีจากการใช้ถุงพลาสติก หรือ ภาษีพลาสติก (Plastic Tax) มีประมาณ 18 ประเทศที่ในโลกที่ใช้กฏหมายนี้เพื่อมุ่งหวังลดปริมาณถุงพลาสติกในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น

  • ไอร์แลนด์ (Ireland) มีการเก็บภาษีการใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ในราคา 22 เซ็นต์/ใบ (ราวๆ 0.16 บาท) ซึ่งหลังออกคำสั่งก็สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้สูงถึง 90%
  • โปรตุเกส (Portugal) จัดเก็บภาษีพลาสติกในอัตรา 0.30 ยูโรต่อกิโลกรัม (ราวๆ 12 บาท) สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกไปได้ 85%
  • สหราชอาณาจักร (United Kindomw) จัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากผู้ผลิตและผู้นำเข้าบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยมีหลักเกณฑ์เก็บภาษีพลาสติกที่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลน้อยกว่า 30% ในอัตรา 200 ปอนด์ต่อตัน (ราวๆ 9,000 บาท)

ในส่วนของประเทศไทยไม่ได้มีกฏหมายหรือคำสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่มีการรณรงค์ให้งดใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนความเคยชิน โดยเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 63 กระทรวงทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศขอความร่วมมือจากภาคเอกชน เช่น ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และ ร้านค้าสะดวกซื้อ งดการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเดียวทิ้งให้ลูกค้า เพื่อมุ่งหวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเตรียมผลักดันกฏหมายบังคับต่อไป

ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงในวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลา 3 ปี ประเทศไทยลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากถึง 148,699 ตัน หรือลดลง 43% ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและชื่นชมกับพฤติกรรมของคนไทยที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top