Products of Place | คอลเลกชั่น ‘จาน’ จาก AI ดีไซน์ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน

หากต้องนำขยะเหลือทิ้งจากท้องถิ่นของภูมิภาคต่าง ๆ มาผลิตเป็นผลงานใหม่ที่สะท้อนความยั่งยืนอย่างเช่น ‘จานมื้ออาหารค่ำ’ เพื่อน ๆ  คิดว่าหน้าตาของจานจะออกมาเป็นประมาณไหน?

ถ้ายังจินตนาการไม่ออก เพื่อน ๆ  ลองเลื่อนลงไปดูภาพจานสำหรับมื้อค่ำที่ Ananda หยิบยกมาจาก Products of Place โพรเจกต์ที่เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง SPACE10 และ oio Studio สร้างแผนที่แบบ Interactive ใช้ศักยภาพของ Ai ในการค้นหาวัสดุที่มีในท้องถิ่น โดยวิเคราะห์จากอุตสาหกรรม, การขนส่ง, วัฒนธรรม, อาหาร และพฤติกรรมของประชากรในภูมิภาคนั้น โดยนำเสนอออกมาเป็นภาพ ‘จานอาหารค่ำที่ดูสวยงามไปจนแปลกตา’ ที่ประมวลผลจากวัสดุหรือขยะเหลือใช้ในแหล่งภูมิภาคนั้น ๆ

Oaxaca (โออาซากา)

เมืองทรงเสน่ห์ทางตอนใต้ของเม็กซิโก ซึ่งภาพที่ Ai ประมวลผลมาจะเป็นจานที่ผลิตจาก เศษสิ่งทอ และ เส้นใย Henequen ซึ่งเป็นวัสดุที่พบได้ทั่วไปในเมืองOaxaca (โออาซากา) และนำมาใช้ในการผลิตสิ่งทอ เชือก และงานหัตถกรรมอื่นๆ อีกด้วย

Copenhagen (โคเปนเฮเกน)

เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์กที่มีการบริโภคเนื้อหมูจำนวนมาก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหาร Food Package มากกว่าเมืองอื่น ๆ  ซึ่ง Ai ประมวลภาพออกมาเป็นจานมื้อค่ำที่มีวัสดุนั้นเป็นส่วนประกอบ

Incheon (อินชอน)

เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเกาหลีใต้ เรียกได้ว่าเป็นเมืองแห่งการคมนาคม เพราะมีสนามบินนานาชาติอินชอน (Incheon International Airport) ตั้งอยู่ จึงไม่แปลกใจ Ai จะประมวลผลออกมาพบว่ามี Electric Waste ขยะจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และ Pine resin เรซินสนประกอบอยู่ในจานใบนี้นั่นเอง

Singapore (สิงคโปร์) แม้จะเป็นประเทศที่มีการจัดการขยะดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่จำนวนการใช้พลาสติกของกลุ่มในประเทศกลับไม่ลดลงสักเท่าไหร่ จึงทำให้ Ai ประมวลผลภาพจานมื้อค่ำจากวัสดุ Plastic waste ขยะพลาสติกนั่นเอง

Detroit (ดีทรอยต์) เป็นเมืองที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในรัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญ และมีการดำเนินโครงการรีไซเคิลยางรถยนต์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็ตรงกับผลลัพธ์ของ Ai ที่ประมวลผลจานมื้อค่ำของเมืองดีทรอยด์ว่าผลิตจาก ยางรถยนต์ ที่เป็นวัสดุเหลือใช้นั่นเอง

Kaunas (เคานัส) เป็นหนึ่งในสิบเทศมณฑลของประเทศลิทัวเนีย ที่มีประวัติศาสตร์ด้านการผลิตเซรามิก และเป็นที่ตั้งของผู้ผลิตเซรามิกตั้งอยู่ ซึ่ง Ai ก็ประมวลผลภาพของจานมื้อค่ำนี้ออกมาเป็นจานที่ผลิตจากวัสดุ Ceramic Waste อย่างสวยงาม

Hanoi (ฮานอย) ศูนย์กลางหลักในการเพาะปลูกข้าว และแปรรูปข้าว ทำให้เกิดวัสดุเหลือใช้จากข้าวค่อนข้างเยอะ เช่น ฟางข้าว ซึ่งเมื่อประมวลผลออกมาเราจะได้เห็นจานมื้อค่ำจากขยะที่เกิดจากอุตสาหกรรมข้าวนั่นเอง

Osaka (โอซาก้า) เมืองหลวงแห่งแฟชั่นที่สำคัญในญี่ปุ่น จึงเกิดวัสดุเหลือใช้จากเสื้อผ้า เช่น ผ้าเดนิม ซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย Ai ก็ประมวลภาพของจานมื้อค่ำที่เกิดจาก ผ้าเดนิม มาให้เราชมกัน

Melbourne (เมลเบิร์น) ถ้าสายกาแฟเลิฟเวอร์จะรู้กันดีกว่า เป็นเมืองที่มีการบริโภคกาแฟจำนวนมาก ส่งผลทำให้มีกากกาแฟเป็นวัสดุเหลือทิ้งมากตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อให้ Ai ประมวลผลภาพจานมื้อค่ำที่ได้จากเมือง Melbourne (เมลเบิร์น) จึงเกิดเป็นจานลวดลายจากกากกาแฟในมุมที่แปลกตาไม่เบา

Bangkok (กรุงเทพฯ) มาถึงกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยที่ Ai ประมวลผลออกมาเป็นจานมื้อค่ำที่ผลิตจาก Lotus Leaves หรือใบบัว ด้วยเหตุผลที่ว่าในกรุงเทพฯ มีวัดหลายแห่งที่มีสระบัว มีการไหว้พระด้วยดอกบัว และใบบัวมักถูกนำไปทิ้งเป็นวัสดุเหลือใช้จำนวนมากนั่นเอง

หรือถ้าเพื่อน ๆ อยากเห็นจานมื้อค่ำจานเมืองที่สนใจ ก็สามารถเข้าไปเล่นปักหมุดกันได้ที่เว็บไซต์นี้ https://productsofplace.space10.com/

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top