เริ่มทำงานใหม่ เก็บเงิน ยังไงให้อยู่ ฉบับคนใช้เงินเยอะ

ในปัจจุบันเพื่อนๆ มีเงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency fund) อยู่ในบัญชีเท่าไหร่? หากลองสำรวจแล้วมีไม่ถึง 3 – เดือนอย่าเพิ่งท้อใจ เพราะจากผลสำรวจพบว่าคนรุ่นใหม่ หรือ Gen C จำนวนกว่า 56% ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย แต่ส่วนใหญ่มาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ดังนั้นเพื่อความมั่นคงทางการเงินเหล่าเพื่อนๆ ชาว Gen C เรามาช่วยกันวางแผนการเงินใหม่ คลายปัญหาเดือนชนเดือน และมีเงินเก็บสำรองที่เพียงพอสำหรับ 3 – 6 เดือนของรายจ่ายในแต่ละเดือน

วิธีการแรกต้อง ‘ปรับพฤติกรรม’ โดยการเริ่มจากตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายย้อนหลังของตัวเองอย่างน้อย 3 เดือนก่อนหน้า เพื่อหาช่องทางของรายรับ และหารูรั่วของรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ซึ่งจะช่วยทำให้เรารู้ว่าจะเริ่มเก็บเงินสำรองได้อย่างไร? และอีกปัญหาสำคัญคือการบริหารเงินไปพร้อมกับการใช้เงินอย่างมีความสุข สิ่งที่ต้องหยุดก่อนเป็นอันดับแรกคือเหล่า Buy Now Pay Later (ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) หรือ บัตรเครดิต ซึ่งเป็นเสมือนรูรั่วของค่าใช้จ่ายเลยก็ว่าได้ เพราะการใช้ Buy Now Pay Later (ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) ทำให้เพื่อนๆ สามารถซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ก็มีโอกาสผิดชำระหนี้สูงเป็นผลให้ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนสะสมจนไม่เพียงพอต่อการเก็บได้

สรุปทริกสำหรับการบริหารเงิน มีเงินเก็บในแต่ละเดือนคือ

  1. ทำรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน
  2. ไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มกับสิ่งของไม่จำเป็น

เทคนิคต่อมา ‘การแบ่งสัดส่วนใช้เงิน’ จะช่วยให้การบริหารเงินแต่ละเดือนทำได้ง่ายมากขึ้น เพราะมีเป้าหมายการใช้เงินอย่างชัดเจนว่าเราจะนำไปใช้จ่ายส่วนใดบ้าง มีส่วนไหนที่ต้องเก็บไว้สำรองฉุกเฉิน

ซึ่งสัดส่วนที่หลายคนใช้คือ:

  • ค่าใช้จ่ายประจำวัน 50%
  • ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 30%
  • เงินสำหรับเก็บออม 20%

สมมุติแต่ละเดือนมีรายรับ 20,000 บาท แบ่งออกเป็น ค่าใช้จ่ายประจำวัน 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 6,000 บาท และส่วนสุดท้าย เงินสำหรับเก็บออม 4,000 บาท หรือจะลดหลั่นตามความเหมาะสมได้เช่นกัน

นอกจากเทคนิคการบริหารค่าใช้จ่ายประจำวันแล้ว การหันมาลดค่าใช้จ่ายทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะช่วยทำให้เพื่อนๆ บริหารเงินได้คล่องตัวมากยิ่งขึ้น

  1. เปลี่ยนจากซื้อเสื้อผ้าราคาถูกเป็นซื้อที่คุณภาพ เพื่อยืดระยะเวลาในการใช้งานให้คุ้มค่ามากขึ้น
  2. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ เลือกที่ประหยัดพลังงานและค่าไฟในแต่ละเดือน
  3. เลิกเก็บของสะสมทางจิตใจ เป็นสาเหตุของค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น
  4. ยกเลิก Subscription หรือ ยกเลิกการเป็นสมาชิก ที่ไม่จำเป็น
  5. ใช้กฎ 48 ชั่วโมง นำของที่อยากซื้อกลับมาคิด วิเคราะห์เหตุผลว่าจำเป็นหรือไม่?

เพื่อนๆ สามารถเลือกใช้เทคนิคการบริหารการเงินที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ซึ่ง Ananda เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่มุ่งหวังเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน หรือวางแผนการเงินไว้เพื่ออนาคต

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top