UV Index ของไทย ปล่อยเฉยไม่ได้! เช็กและรู้จักวิธีป้องกัน

เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่า…ค่า UV Index ในประเทศไทยช่วงซัมเมอร์-ฤดูร้อนมีความเข้มข้นสูงมาก ถ้าไม่นับแสงแดดในช่วงก่อน 9 โมงเช้าที่สังเคราะห์วิตามินดีได้ เรียกได้ว่าเราไม่ควรเอาผิวหนังไปกระทบกับแสงแดดในช่วงเวลาใดเลยก็ว่าได้ เพราะอาจะมีผลกระทบที่รุนแรงต่อผิวหนังของเรานั่นเอง

ซึ่งมาถึงไฮไลต์ของสิ่งที่ควรระวังช่วงหน้าร้อน ก็คือ ‘UV Index’ หรือ ดัชนีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เรียกกันง่ายๆ ว่า ความรุนแรงของแดด เป็นการวัดความเข้มข้นของรังสีอัลตราไวโอเลต สะท้อนมายังบนผิวโลกนั่นเอง และในช่วงหน้าร้อนของประเทศไทยแทบจะทุกจังหวัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก สามารถเช็กข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมอุตุนิยมวิทยา http://ozone.tmd.go.th/UV_index.htm

โดยระดับความรุนแรงของ UV Index หรือ ความรุนแรงของแสงแดง สามารถแบ่งออกเป็นได้ 5 ลำดับดังนี้

UV Index เกณฑ์ ประมาณเวลา (น.)
น้อยกว่า 2 ระดับสีเขียว ‘ความรุนแรงต่ำ’ 07.00 | 17.00
 3 – 5 ระดับสีเหลือง ‘ความรุนแรงปานกลาง’ 08.00 | 16.00
6 – 7 ระดับสีส้ม ‘ความรุนแรงสูง’ 09.00 | 15.00
8 – 10 ระดับสีแดง ‘ความรุนแรงสูงมาก’ 10.00 – 14.00
มากกว่า 11 ระดับสีม่วง ‘ความรุนแรงสูงจัด’ 12.00

ซึ่งจังหวัดที่มีค่า UV Index สูงมากถึงสูงจัด ได้แก่ กรุงเทพฯ, กาญจนบุรี, ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, สุราษฎร์ฯ, สงขลา, ภูเก็ต และตราด แต่ในความเป็นจริงช่วงหน้าร้อนของไทยตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – กันยายน แทบทุกพื้นที่มาค่า UV Index ที่อยู่ในเกณฑ์สูงจัด  จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้หลีกเลี่ยงช่วงเวลาแดดจัด หลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นเวลานาน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคผิวหนังโดยเฉียบพลันหรือโรคเรื้อรังบริเวณผิวหนัง และดวงตา ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนังไหม้เกรียม (Sunburn), โรคกระจกตาอักเสบ และ โรคมะเร็งผิวหนัง

และแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นเมืองร้อนที่มีระดับค่า UV Index หรือ ความรุนแรงของแสงแดดสูงจัด แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักวิธีป้องกัน วิธีดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงค่า UV Index ที่พุ่งสูงจัดในทุกวัน วันนี้ Ananda จะนำทริคดูแลตัวเองจากความรุนแรงของแสงแดดมาฝากเพื่อน ๆ กัน!~

  • เช็กค่า UV Index ในทุกวัน ผ่านเว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
  • ในช่วงเวลา 09.30 – 15.30 น. ควรอยู่ในที่พักอาศัย อาคารในร่ม หรือพื้นที่ที่มีกำบังแสงแดด โดยเฉพาะเด็ก ๆ และผู้ที่มีสุขภาพผิวอ่อนไหว
  • กางร่ม หรือ สวมหมวกปีกกว้าง
  • เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันยูวี เช่น เสื้อคลุมกันยูวี หรือ เสื้อผ้าที่เนื้อผ้าทอกันแน่น
  • สวมแว่นกันแดด เพื่อปกป้องดวงตา
  • ทาครีมกันแดดทุกวันทั้งใบหน้าและผิวกาย โดยเพื่อน ๆ ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไป และมีค่า PA 3+

ต่อไปนี้ถ้าเพื่อน ๆ ชาว Gen C ต้องออกไปสัมผัสแดดในช่วงเวลาที่กล่าวมา อย่าลืมเตรียมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด และทากันแดดก่อนออกจากบ้าน 30 นาทีเป็นต้นไปด้วยน๊าทุกคน

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top