ปรับเบี้ยประกันสังคม ถ้าจ่าย ประกันสังคมเพิ่ม ผลตอบแทนจะเป็นอย่างไร?

ก่อนหน้านี้ ประกันสังคม มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เรื่องการปรับเพดานค่าจ้างและการคำนวณเงินสมทบ ซึ่งมีแผนการทำงานว่าตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป ประกันสังคม จะทยอยปรับเพดานค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบมาตรา 33 โดยเพิ่มขึ้นทีละขั้นตามช่วงเวลา ตามลำดับ เป้าหมายคือเพื่อให้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต เช่น เงินชดเชยรายได้ เงินบำนาญชราภาพ และเงินสงเคราะห์ต่าง ๆ นั่นเอง ซึ่งหากใครอยากทำความเข้าใจ เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ การส่งเงินสมทบในแผนดำเนินการนี้เรามีเรื่องราวมาให้อ่านคร่าว ๆ กัน

การปรับเพดานค่าจ้างคืออะไร และการทยอยปรับขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33 หมายความว่าอย่างไร? วันนี้เราจะมาอธิบายให้เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า จากข้อมูลที่เผยแพร่ในกฎกระทรวงใหม่ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกันสังคม การปรับเพดานค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบประกันสังคม จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้ 

  • ระยะที่ 1 (2569 – 2571)
    เพดานค่าจ้าง: ไม่เกิน 17,500 บาท
    – ส่งเงินสมทบสูงสุด: 875 บาท/เดือน
  • ระยะที่ 2 (2572 – 2574)
    เพดานค่าจ้าง: ไม่เกิน 20,000 บาท
    – ส่งเงินสมทบสูงสุด: 1,000 บาท/เดือน
  • ระยะที่ 3 (2575 เป็นต้นไป)
    เพดานค่าจ้าง: ไม่เกิน 23,000 บาท
    – ส่งเงินสมทบสูงสุด: 1,150 บาท/เดือน

โดยสรุปคือ

  • ปัจจุบันเพดานค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบอยู่ที่ 15,000 บาท (750 บาท/เดือน) แต่ตั้งแต่ปี 2569 จะปรับเพดานเพิ่มขึ้นเป็น 17,500 บาท, 20,000 บาท และ 23,000 บาท ในแต่ละช่วงตามลำดับ
  • สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นชัดเจน เงินชดเชยกรณเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือว่างงานเพิ่มขึ้น เช่น สูงสุด 8,750 บาท/เดือน (ปี 2569) ไปจนถึง 11,500 บาท/เดือน (ปี 2575 เป็นต้นไป)
  • เงินบำนาญชราภาพเพิ่มสูงสุดถึง 8,050 บาท/เดือน (ส่งเงินมา 25 ปี) และ 11,500 บาท/เดือน (ส่งเงินมา 35 ปี)
  • เงินสมทบจากนายจ้างและรัฐบาลเพิ่มขึ้นด้วย นายจ้างและรัฐบาลจะส่งเงินสมทบในอัตราเดียวกับลูกจ้าง

ตารางด้านล่างแสดงรายละเอียดการทยอยเพิ่มเงินสมทบ พร้อมกับการเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับในแต่ละช่วงเวลา

ซึ่งทั้งนี้แผนการปรับเพดานค่าจ้างยังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ยังไม่ได้ประกาศใช้แต่อย่างไร แต่หากมองอีกมุมหนึ่งการทยอยปรับขึ้น ประกันสังคมเพิ่ม จะช่วยให้สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนดีขึ้น และครอบคลุมความต้องการในอนาคต ทั้งในกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ว่างงาน หรือเกษียณ แม้จะต้องจ่ายเพิ่มในแต่ละเดือน แต่ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อสร้างความมั่นคงระยะยาว

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top