รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

รถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการระบบขนส่งมวลชนรองรับการเดินทางสัญจรตามแนวตะวันตก-ตะวันออกในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลด้านทิศเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัย รวมทั้งสถานที่สำคัญหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น แหล่งงาน , สถานที่ราชการ , สถานศึกษา และ แหล่งพาณิชยกรรม

รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) แบบทางยกระดับตลอดสาย  เริ่มต้นจากสี่แยกแคราย จังหวัดนนทุบรี วิ่งไปตามแนวถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนติวานนท์  แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา ไปถึงเขตมีนบุรี ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร ตลอดสายมีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 4 สาย ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง, รถไฟฟ้าสายสีแดง , รถไฟฟ้าสายสีเขียว และ รถไฟฟ้าสายสีส้ม

ความคืบหน้าล่าสุด  ครม.ได้อนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร วงเงินราว 53.49 หมื่นล้านบาท เมื่อ มี.ค. 59 ที่ผ่านมา ขณะนี้กำลังเข้าสู่ขั้นตอนเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล โดยช่วง ก.ค.-ส.ค. 59 จะเป็นช่วงซื้อเอกสารประกวดราคา ช่วง พ.ย. 59 จะเป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารประกวดราคาและการเปิดซองข้อเสนอ หากเจรจาตกลงเรียบร้อย จะดำเนินเรื่องเสนอครม.เห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า การลงนามสัญญาและการก่อสร้างจะเริ่มต้นได้ พ.ค. 2560 และเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการในปี 2563

 

อาคารสถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู

อาคารสถานีรถฟ้าสายสีชมพูไม่เหมือนใคร เพราะใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบรถไฟฟ้าอื่น ๆ ลักษณเป็นอาคารตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งสอดคล้องกับระบบการเดินรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โดยรูปทรงอาคารสถานีถูกออกแบบลักษณะสถาปัตยกรรมไทย เป็นอาคารแบบเปิด มีหลังคาลดชั้นและมีช่องแสง เพื่อการระบายอากาศ และเพิ่มแสงสว่างในอาคาร ใช้โทนสีที่เป็นธรรมชาติ เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นมิตรแก่ผู้ใช้บริการ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ตลอดเส้นทางให้บริการของรถไฟฟ้าสายสีชมพู จากสถานีปลายทางบริเวณสี่แยกแคราย ไปถนนติวานนท์ ถนนแจ้งวัฒนะ แยกหลักสี่ ถนนรามอินทรา จนถึงทางแยกมีนบุรี และสิ้นสุดที่ทางแยกถนนรามคำแหง-ร่มเกล้า ตลอดเส้นทางนี้ มักเต็มไปด้วยสถานที่สำคัญหลากหลายประเภท อาทิเช่น

สถานที่ราชการ จะพบ 2 จุดหลัก ได้แก่ ศูนย์ราชการนนทบุรี (สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี) และศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ) เป็นต้น
สถานศึกษา จะพบได้ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมีชื่อคุ้นหูกันอย่างดี เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี (สถานีปากเกร็ด) , มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (สถานีเมืองทองธานี) , มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (สถานีราชภัฏพระนคร) เป็นต้น
โรงพยาบาล สามารถพบได้ตลอดทั้งเส้น เช่น สถาบันโรคทรวงอก (สถานีแคราย) , โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ (สถานีเมืองทอง 1), โรงพยาบาลสินแพทย์ (สถานีรามอินทรา 83) , โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (สถานีนพรัตนราชธานี ) เป็นต้น

เส้นทางเดินรถระยะทาง 34.5 กิโลเมตร เปิดบริการ 30 สถานี แบ่งตามเส้นถนนสายหลัก ดังนี้

  • ถนนติวานนท์ สถานีปลายทางคือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ผ่านสี่แยกแครายไปตามถนนติวานนท์ จะพบ 4 สถานี ได้แก่ สถานีแคราย , สถานีสนามบินน้ำ , สถานีสามัคคี และ สถานีกรมชลประทาน ก่อนจะถึงห้าแยกปากเกร็ด

  • ถนนแจ้งวัฒนะ ถัดจากห้าแยกปากเกร็ดมาตามถนนแจ้งวัฒนะ จะพบ สถานีปากเกร็ด ตัดผ่านถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ดจะพบ สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด ,สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28,และสถานีเมืองทองธานี เมื่อตัดผ่านทางพิเศษศรีรัช จะพบ สถานีศรีรัช ผ่านคลองประปา จะพบ สถานีเมืองทอง 1 , สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ , สถานีทีโอที ,สถานีหลักสี่ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) และสถานีราชภัฏพระนคร จากนั้นจะวิ่งผ่านอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (อนุสาวรีย์หลักสี่) ซึ่งเป็นจุดที่ถนนแจ้งวัฒนะตัดกับถนนพหลโยธิน เป็นที่ตั้ง สถานีวงเวียนหลักสี่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่)

  • ถนนรามอินทรา ถัดจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ (อนุสาวรีย์หลักสี่) มาตามถนนรามอินทรา จะพบกับ สถานีรามอินทรา 3 , สถานีลาดปลาเค้า ,สถานีรามอินทรา 31 และสถานีมัยลาภ เมื่อตัดผ่านทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ แล้วก็จะพบ สถานีวัชรพล , สถานีรามอินทรา 40 , สถานีคู้บอน และสถานีรามอินทรา 83 วิ่งตรงมาตัดผ่านทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 กาญจนาภิเษก จะพบ สถานีวงแหวนตะวันออก , สถานีนพรัตนราชธานี , สถานีบางชัน และสถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เมื่อวิ่งผ่านถนนสุวินทวงศ์ ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ จะพบ สถานีตลาดมีนบุรี ก่อนถึงสถานีปลายทางคือ สถานีมีนบุรี ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-มีนบุรี) และมีจุดจอดแล้วจร (Park and Ride) ในบริเวณเดียวกันพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง

    Pink-line-1

แหล่ง Life style รถไฟฟ้าสายสีชมพู

จากแผนภาพข้างต้น ต้องบอกว่าแหล่ง Life style ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ย่านรามอินทรา ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์การค้า , ศูนย์จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค , สนามกอล์ฟ , ตลาดนัดวัยรุ่น ,ร้านอาหารชื่อดัง ฯลฯ และ เพื่อความสะดวกในการค้นหาสถานที่ check in ใครอยากพักผ่อนในวันหยุดกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ลองไปเดินเล่นแต่ละสถานที่แบบลงรายละเอียดที่ตั้งเป็นรายสถานีได้ ดังนี้

  • สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย

  • สถานีปากเกร็ด โฮมโปร และ Big C แจ้งวัฒนะ

  • สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

  • สถานีศรีรัช ศูนย์แสดงสินค้า IMPACTเมืองทองธานี , แม็คโคร แจ้งวัฒนะ

  • สถานีเมืองทอง 1 The Avenue Chaengwattana

  • สถานีหลักสี่ ศูนย์การค้าไอทีสแควร์

  • สถานีรามอินทรา 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า รามอินทรา

  • สถานีวัชรพล  Plearnary Mall , ตลาดนัดเรียบด่วน รามอินทรา ซึ่งสถานีนี้สามารถเดินทางต่อไปตามถนน ประดิษฐ์มนูธรรมและถนนเกษตร-นวมินทร์ ก็จะพบร้านอาหารชื่อดัง และแหล่ง shopping อีกมากมาย เช่น The Walk เเกษตร-นวมินทร์ , ร้านอาหารวอเตอร์ไซด์ , ตลาดนัดรถไฟ เกษตร-นวมินทร์ เป็นต้น

  • สถานีวงแหวนตะวันออก  เดอะพรอมานาด , แฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา , ปัญญา อินทรา กอล์ฟ คลับ

  • สถานีนพรัตนราชธานี Amorini Mall Ramintra ซึ่งสถานีนี้สามารถเดินทางต่อไปตามถนนสวนสยาม ก็จะพบกับสวนน้ำชื่อดังของประเทศอย่างสวนสยามทะเล กรุงเทพฯ

  • สถานีตลาดมีนบุรี ตลาดมีนบุรี

    lift style -pink

ติดตามบทความอัพเดตสำหรับชาว GEN-C ได้ทุกเดือนทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog #Anandamasstransit

สมัครสมาชิกเพื่อติดตามและรับข่าวสารหรือร่วมกิจกรรมดีๆ กับเราทาง THE GEN-C Urban Living Solution Blog ได้ที่ http://bit.ly/2aEMxIJ

 

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top