รู้หรือยัง!!! เทคนิคการลดหย่อนภาษี

รู้หรือยัง!!! เทคนิคการลดหย่อนภาษี

NOTE:
• อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายังใช้โครงสร้างภาษีแบบเดิมคือ รายได้ไม่เกิน 150,000 บาทจะได้รับการยกเว้นภาษี
• การลดหย่อน คือ รายการต่างๆที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว
โปรแกรมคำนวณและวางแผนภาษี

ขึ้นชื่อว่า “ภาษี” แค่ได้ยินก็ขนลุกกันแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งภาษีนั้นเป็นหน้าที่ที่คนไทยทุกคนต้องจ่ายให้รัฐตามกฎหมาย โดยเงินที่ได้ในส่วนนี้ก็จะถูกเอาไปพัฒนาประเทศและระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้เราๆท่านๆได้ใช้กัน แต่ใช้ว่ากรมสรรพากรจะโหดเสมอไป ทั้งนี้ก้ได้มีบัญญัติไว้ในส่วนรายจ่ายต่างๆที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ วันนี้เรามีเทคนิคมาฝากชาว Gen-C กันครับ

pexels-photo-75713

1. ทำความเข้าใจกับค่าลดหย่อน
มือใหม่อาจจะงงว่าค่าลดหย่อนคืออะไร โดยค่าลดหย่อนนั้น คือ “รายการต่างๆที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว” หรือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า ถ้ารายได้เราต่อปีไม่ถึง 150,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องนำมาหักค่าใช้จ่ายออกก่อน (รัฐกำหนดที่ 40% ของรายได้รวมแต่ไม่เกิน 60,000 บาท) แล้วถ้าหากมีค่าลดหย่อนเพิ่มเติมค่อยนำมาคิดต่อหลังจากนี้

2. แล้วอะไรที่ลดหย่อนภาษีได้

กรมสรรพากรได้กำหนดรายการลดหย่อนภาษีเอาไว้มากมาย แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ มีดังนี้
• ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 30,000 บาท
• ค่าลดหย่อนคู่สมรส 30,000 บาท (เลือกได้ 2 กรณีคือ ไม่มีรายได้หรือมีรายได้แต่นำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน)
• ค่าลดหย่อนจากดอกเบี้ยเงินกู้จากการซื้อบ้าน คอนโด หรือที่อยู่อาศัยต่างๆ สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
• ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบิดา-มารดา(ของเราและคู่สมรส) คนละ 30,000 บาท (บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี)
• ค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกันชีวิต ประเภทประกันชีวิตแบบทั่วไป สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
• ค่าลดหย่อนจากเบี้ยประกันสุขภาพของบิดา-มารดา สูงสุดไม่เกิน 15,000บาท
• ค่าใช้จ่ายในช่วงท่องเที่ยวในประเทศตามที่รัฐกำหนดจ่ายตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท
• ค่าประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท
• เงินบริจาคเพื่อการศึกษา ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคแต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว
• เงินบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์ ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึงประเมินที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว
• ค่าลดหย่อนกองทุน LTF สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทหรือ 15% ของรายได้
• ค่าลดหย่อนจากเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
• ค่าลดหย่อนจากเงินสะสม กบข. สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
• ค่าลดหย่อนจากมาตรการช้อปช่วยชาติ สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

black-and-white-people-bar-men

3. เก็บออมจากการลดหย่อนภาษี

จะเห็นได้ว่าการซื้อกองทุนนั้นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆคนนิยมทำเพื่อลดหย่อนภาษี ซึ่งเราสามารถสร้างเงินออมเพิ่มเติมจากตรงจุดนี้ได้
• หากเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบระยะสั้นให้เลือกกองทุน LTF เพราะสามารถขายคืนได้ภายใน 7 ปี
• หากเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบระยะยาวให้เลือกกองทุน RMF เพราะจะขายคืนได้ก็ต่อเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น

pexels-photo-259027

4. ช่องทางในการยื่นภาษี

สามารถยื่นออนไลนได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร คลิกที่นี่ ตั้งแต่ 1 มกราคม – 8 เมษายนของทุกปี หรือสามารถนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นด้วยตัวเองได้ที่กรมสรรพากรแต่ละเขตพื้นที่ก็ได้ครับ ในกรณีที่ยื่นผ่านออนไลน์ ถ้าเอกสารครบ ไม่มีข้อน่าสงสัยอะไร การยื่นภาษีไวย่อมได้รับเช็คคืนภาษีไวตามอย่างแน่นอน

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก:
http://www.aommoney.com/taxbugnoms/taxtips/มนุษย์เงินเดือน, http://www.somchartlee.com/tax-saving/

ขอบคุณภาพประกอบจาก: www.pexels.com

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top