ทำอย่างไรในวันที่สะพานไทย-เบลเยี่ยมปิดปรับปรุงชั่วคราว

ทำอย่างไรในวันที่สะพานไทย-เบลเยี่ยมปิดปรับปรุงชั่วคราว

NOTE:
• สะพานไทย-เบลเยี่ยม แต่เดิมนั้นอยู่ที่ประเทศเบลเยี่ยม โดยมีชื่อว่า สะพาน Viaduc Leopold II
• สาเหตุที่สร้างสะพานเบลเยี่ยมขึ้นในตอนนั้นเพื่อต้อนรับงาน Expo 1958
• ประเทศเบลเยี่ยมได้บริจาคสะพานบางส่วนให้กับประเทศไทยเพื่อใช้อำนวยความสะดวกชั่วคราว เนื่องจากในสมัยนั้นการคมนาคมบริเวณช่วงนั้นและการขยายถนนพระราม 4 ยังไม่เพียงพอ
• ภายหลังได้ปรับปรุงโครงสร้างจากสะพานชั่วคราวเป็นสะพานโครงโลหะเสริมความแข็งแรงด้วยคอนกรีต

หลายๆคนคงทราบข่าวคราวของอุบัติเหตุไฟไหม้บริเวณจุดเก็บถังขยะเก่า ใต้สะพานไทย-เบลเยี่ยม สะพานเก่าแก่ที่มีมานานบริเวณถนนพระราม 4 กันใช่ไหมครับ ซึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยและบรรดากู้ภัยจะเข้ามาระงับต้นเพลิงได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นมีการส่งผลต่อตัวโครงสร้างของสะพาน ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป สะพานไทย-เบลเยี่ยมจึงต้องปิดปรับปรุงชั่วคราวเป็นจำนวน 45 วันเพื่อซ่อมแซม วันนี้เรามีแผนการปิดปรับปรุงและระบายการจราจรบริเวณนั้นมาฝากกันครับ

1.ช่วงเร่งด่วนเช้า ตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 10.00 น.
• ถนนพระราม 4 (ขาเข้า) สามารถเดินรถผ่านแยกวิทยุได้ทุกทิศทาง
• ถนนพระราม 4 (ขาออก) ห้ามตรงและเลี้ยวขวา โดยให้เลี้ยวซ้ายไปกลับรถหน้าสน.ลุมพินีแทน
• ถนนสาทร (มุ่งหน้าสู่แยกวิทยุ) สามารถเดินรถผ่านแยกวิทยุได้ทุกทิศทาง
• ถนนวิทยุ (มุ่งหน้าสู่แยกวิทยุ) สามารถตรงและเลี้ยวซ้ายได้ โดยห้ามเลี้ยวขวาไปถนนพระราม 4 ซึ่งต้องตรงไปกลับรถที่แยก YMCA แทน

2.ช่วงเร่งด่วนเย็น ตั้งแต่เวลา 15.00 น. – 20.00 น.
• ถนนพระราม 4 (ขาออก) สามารถเดินรถผ่านแยกวิทยุได้ทุกทิศทาง
• ถนนพระราม 4 (ขาเข้า) ห้ามตรงและเลี้ยวขวา โดยให้เลี้ยวซ้ายเพื่อไปกลับรถหน้าแยก YMCA แทน
• ถนนสาทร (มุ่งหน้าสู่แยกถนนวิทยุ) สามารถเดินรถผ่านแยกวิทยุได้ทุกทิศทาง
• ถนนวิทยุ (มุ่งหน้าสู่แยกวิทยุ) สามารถตรงและเลี้ยวซ้ายได้ โดยห้ามเลี้ยวขวาไปถนนพระราม 4 ซึ่งต้องตรงไปกลับรถที่แยก YMCA แทน

3. นอกช่วงเวลาเร่งด่วน ตามข้อ 1. และข้อ 2. ให้จัดระบบการจราจรตามปกติ

4. นอกจากนี้ยังมีการปรับระบบสัญญาณไฟจราจร จากเดิมที่ให้จังหวะ 6 รอบ เป็น 3 รอบ โดยจะเน้นช่วงที่มีการจราจรเร่งด่วน

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions

Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02)

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top