NOTE:
• คนไทยใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• ช่วงเวลาที่คนไทยโพสต์ Facebook มากที่สุด คือ
อันดับ 1 10.00-12.00น
อันดับ 2 13.00-16.00น.
อันดับ 3 20.00-21.00น.
• พฤติกรรมคนใช้ Facebook ส่วนใหญ่นิยมคือ เน้นความบันเทิงเป็นที่ 1 ต่อมาคือ งานอดิเรก กิจกรรม และ เทคโนโลยี
ตั้งแต่มีโซเชียลเป็นเครื่องมือสื่อสารในมือ อะไรก็ดูจะง่ายไปเสียหมด ตั้งแต่การถ่ายรูป แชทคุย หรือใช้สำหรับเป็นเครื่องมือสื่อสารในการทำงาน แต่คุณเคยไหมอยู่ดีๆ ก็มีรูปตัวเองถูกวิพากษ์วิจารณ์ผ่านโซเชียลกลายเป็นจำเลยในโลกเน็ตเวิร์คโดยไม่รู้ตัว ทั้งๆ ที่ความผิดนั้นอาจไม่มีความหมายใหญ่โตอะไรสักนิด แต่จะหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นของคนอื่นคงยาก ฉะนั้นวันนี้ถ้าไม่อยากตกเป็นจำเลยโซเชียลโดยเฉพาะบนรถไฟฟ้า ที่มักจะต้องเผชิญกับผู้คนมากหน้าหลายตา วันนี้เรามีข้อควรปฏิบัติ 5 ประการใช้รถไฟฟ้าที่ถูกต้อง และลดปัญหาพวกชอบแอบถ่ายมาฝากกัน
1.เตรียมบัตรโดยสารให้พร้อม ก่อนเดินเข้าช่องเสียบบัตร
ไม่ใช่แค่การหยิบออกจากกระเป๋ามาถือไว้ แต่คุณต้องแน่ใจว่ายอดเงินคงเหลือในบัตรนั้นมีเพียงพอต่อการเดินทางแต่ละเที่ยวไม่ต่ำกว่า 15 บาท ควรหมั่นเช็คยอดเงินคงเหลือในบัตรทุกครั้งที่แตะบัตรโดยสารออกจากระบบ
หากคุณไม่ได้ใช้บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS ประเภทจำกัดจำนวนเที่ยวใน 30 วัน ที่จะต้องเติมเที่ยวในบัตรที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารเท่านั้น สำหรับการเติมเงินในบัตร Rabbit นอกจากที่การเติมเงินที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารแล้ว คุณสามารถเติมเงินในบัตร Rabbit ได้ที่ 1) ร้าน McDonald ทุกสาขาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2) ตู้ Kiosk AIS mpay ที่ศูนย์บริการ AIS หรือร้าน Telewiz (มีค่าธรรมเนียม) 3) จุดจำหน่ายบัตรเงินสดใน Paragon Food Hall ชั้น G ศูนย์การค้า Siam Paragon 4) จุดจำหน่ายบัตรเงินสดใน Quartier Food Hall อาคาร The Waterfall Quartier ชั้น B ศูนย์การค้า EmQuartier 5) Mini BigC สาขาในกรุงเทพและปริมณฑล
2.อย่ายืนพิงเสา เรื่องใหญ่ที่มักถูกสังคมจับตามอง
เรียกได้ว่าน่าจะเป็นภาพจำเลยที่ 1 กับการยืนพิงเสาแล้วถูกจับภาพนำมาวิพากษ์วิจารณ์ การยืนพิงเสา ทำให้ลดทอนสิทธิในการใช้ของผู้อื่น กลายมาเป็นพื้นที่จับของคนๆเดียว เพราะเสาจับ 1 สามารถช่วยลดอุบัติเหตุในกรณีที่มีการเร่งหรือเบรค รวมถึงกรณีที่มีการเบรกกระทันกันอีกด้วย
3.หลบให้คนด้านในเดินออกก่อน เมื่อเราต้องยืนตรงประตูทางออก
ถ้าหากคุณต้องเข้าสู่ขบวนรถเป็นคนสุดท้ายก่อนที่ประตูจะปิด และภายในขบวนนั้นผู้โดยสารแน่นมาก ไม่สามารถขยับเข้าสู่ด้านในได้ และคุณยังไม่ได้ลงที่สถานีต่อไปแน่ๆ เพียงแค่เปิดทางให้ผู้โดยสารด้านในเดินออกจากขบวนรถได้ โดยการเดินหลบออกมายืนรอบริเวณชานชาลาข้างๆ ประตู และเมื่อผู้โดยสารด้านในออกหมด สิทธิในการเข้าสู่ขบวนรถก่อนก็เป็นของคุณทันที ไม่ต้องรอให้ผู้โดยสารที่รออยู่บนชานชาลาเข้าสู่ขบวนรถก่อนแต่อย่างใด
4.ถ้าสะพายเป้ใบใหญ่มา วางลงหรือนำมาสะพายไว้ด้านหน้าแทน
การสะพายเป้ด้านหลังในช่วงเวลาเร่งด่วนของการขึ้นรถไฟฟ้า ยิ่งต้องเผชิญสภาวะเบียดเสียดและทำให้กินพื้นที่คนอื่นในการยืน ฉะนั้นการเบี่ยงมาไว้ด้านหน้า จะช่วยทำให้คุณเห็นพื้นที่ว่างในการวางกระเป๋าได้มากกว่า และมีความระวังในการไม่นำไปกระแทกผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือการนำกระเป๋าเป้วางลงไว้กับพื้นก่อน เมื่อถึงปลายทางของคุณค่อยหยิบขึ้นมาและเดินออกจากรถไฟฟ้า
5. ถ้ามากับเพื่อน ออกจากรถแล้วไม่ต้องหยุดยืนรอ เดินต่อไปรอยังพื้นที่โล่งบริเวณอื่น
ถ้าคุณไม่รีบเดินออกจากรถไฟฟ้า แล้วมัวแต่รอเพื่อน อาจเกิดเส้นทางสัญจรติดขัด ฉะนั้นควรจะรีบเดินออกจากระบบให้เร็วที่สุด ไม่ควรหยุดยืนรอบริเวณชานชาลา บันได เนื่องจากจะเป็นการกีดขวางทางเดินของผู้โดยสารท่านอื่นๆ ที่ต้องการออกจากระบบรถไฟฟ้า ให้พยายามเดินไปรอตรงพื้นที่โล่งหรือโทรนัดหมายจุดยืนอีกครั้งหนึ่ง
ถึงแม้ว่าการโพสต์หรือแชร์ข้อความต่างๆ จะเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล แต่หากเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ก็ควรให้เกียรติผู้อื่นทุกครั้ง แม้เขาจะเป็นเพียงแค่เพื่อนร่วมทางบนสายรถไฟฟ้าเดียวกันก็ตาม
ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development