จำให้แม่น! INTERCHANGE จุดเชื่อมสำคัญแห่งอนาคต

จำให้แม่น! INTERCHANGE จุดเชื่อมสำคัญแห่งอนาคต

NOTE:
– ทำเลของที่อยู่อาศัยที่น่าจับตา น่าจะเป็นทำเลที่เขยิบจากทองหล่อออกมาหน่อย คือย่าน “พระโขนง” ที่เริ่มเห็นสัญญาณขยายตัว พระโขนง คือ Interchange ย่อยๆสำหรับการเดินทางจุดต่างๆของกรุงเทพฯ ทั้งเข้าเมืองไปทางเอกมัย-ทองหล่อหรือพระราม 4 ออกนอกเมืองไปรามคำแหงหรือบางนา หรือขึ้นทางด่วนรามอินทราเพื่อหลีกหนีการจราจร เป็นทำเลที่ชาวญี่ปุ่นซึ่งเบื่อความแออัดของทองหล่อเริ่มเข้ามาจับจองมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน

ไม่ใช่แค่เส้นทางโครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะทำให้การคมนาคมสะดวกขึ้นในปัจจุบัน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือจุดเชื่อมต่อต่างๆ ระหว่างการเดินทางรถไฟของแต่ละสายหรือที่เรียกว่า Interchange ซึ่งจากแผนการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า จำนวน 10 สาย ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กำลังขยายเส้นทางจากในเมืองออกไปยังนอกเมืองหลายสาย ทำให้จะมีจุดตัดและจุดเชื่อมต่อสำคัญของการเดินทางในอนาคต มาดูกันว่าจะมี Interchange ขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่ใดบ้าง โดยเฉพาะในเขตชั้นกลางและชั้นนอก โดยไม่นับรวมจุดเชื่อมต่อในใจกลางเมืองที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

1. จุดแรก Interchange ย่านพหลโยธิน บางซื่อ สวนจตุจักร ห้าแยกลาดพร้าว

ด้วยทำเลนี้เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าถึง 7 สาย (2 สายปัจจุบัน กับ 5 สายในอนาคต) และเป็นสถานีต้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ที่สถานีบางซื่อ จุดตัดของรถไฟฟ้า 2 สาย มีอยู่แล้ว คือ รถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนอีก 5 สายในอนาคต คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่, โครงการสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ, โครงการสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) และโครงการสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งในอนาคตจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมือง

2. Interchange จุดที่ 2 คือ ย่านถนนอโศก และรัชดาภิเษกช่วงต้น ที่ปัจจุบันมีรถไฟฟ้าใต้ดินตัดกับแอร์พอร์ตลิงก์ และในอนาคตยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม (หรืออาจเป็นแยกพระราม 9) – มีนบุรี

จุดนี้จะเป็นศูนย์ธุรกิจแห่งใหม่ ที่มีทั้งอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่ที่เป็น Magnet ของศูนย์ธุรกิจใหม่แห่งนี้ อาคารซุปเปอร์ทาวเวอร์ ซึ่งทุบสถิติสูงที่สุดในอาเซียน 125 ชั้น ของกลุ่มจีแลนด์ โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ในอนาคตที่มีพื้นที่ก่อสร้างกว่า 6 ล้านตารางเมตร ซึ่งจะมีทั้งศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ศูนย์ประชุม อาคารสำนักงาน โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่
ส่วนช่วงบนจุดตัดถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าว มีรถไฟฟ้าใต้ดินตัดกับสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง อันจะเป็นจุดขนถ่ายคนเดินทางจากกรุงเทพฯ ตะวันออก ในย่านลาดพร้าว บางกะปิ เลียบทางด่วนมีนบุรี เข้าเมืองมา อีกทั้งยังมีโครงการสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งใหม่ซึ่งเป็นแหล่งรวมของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เปิดทำการแล้วจะยิ่งมีความคึกคักสูงมากขึ้น

3. Interchange จุดที่ 3 คือ ย่านเพชรเกษม บางหว้า บางแค

จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค และรถไฟฟ้าบีทีเอส ตากสิน-บางหว้า ที่จะมีส่วนต่อขยายไปยังตลิ่งชัน จุดเชื่อมต่อย่านบางหว้า ต่อเนื่องไปยังเพชรเกษม-บางแค แม้จะมีรถไฟฟ้าแค่ 2 สาย แต่เป็น 2 สายหลักที่เชื่อมคนฝั่งธนบุรีมายังแหล่งงานในใจกลางเมือง อันจะทำให้เป็นจุดเชื่อมสำคัญของคนฝั่งธนบุรี

4. Interchange จุดที่ 4 ฝั่งเหนือตอนบนของกรุงเทพฯ

คือ ทำเลจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีชมพู ปากเกร็ด-สุวินทวงศ์ กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ย่านสี่แยกหลักสี่ กับจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ย่านหลักสี่-แจ้งวัฒนะ ถึงทำเลที่นี่จะมีความสำคัญเป็นอันดับรองๆ แต่เนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านไปยังทำเลหลักของการเชื่อมต่อการเดินทางสำคัญอื่นมากกว่า เช่น สี่แยกหลักสี่ ที่การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าน่าจะไปลงยังย่านตลาดสะพานใหม่ ซึ่งเป็นใจกลางของแหล่งที่อยู่อาศัย มีศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมแหล่งจับจ่ายใช้สอย ก่อนแยกย้ายเดินทางต่อไปยังที่พักอาศัยโดยรอบสะพานใหม่ สายไหม วัชรพล กม.11 อีกทั้งที่ดินโดยรอบที่เหลือน้อยก็เป็นสถานศึกษา สถานที่ราชการต่าง ๆ ไปแล้ว ส่วนย่านแจ้งวัฒนะ-หลักสี่ ก็ทำนองเดียวกัน ที่คนส่วนใหญ่น่าจะเดินทางไปยังดอนเมือง รังสิต หรือย่านถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ดมากกว่า

5. Interchange ฝั่งตะวันออกที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ ย่านบางกะปิ ลำสาลี หัวหมาก ที่เป็นจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง กับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และจุดใกล้เคียงบริเวณ หัวหมาก รถไฟฟ้าสายสีเหลืองตัดกับแอร์พอร์ตลิงก์

เนื่องจากทำเลย่านนี้บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นทั้งย่านบางกะปิ รามคำแหง สุขาภิบาล 1,2,3 ย่านถนนศรีนครินทร์ที่มีปริมาณการเดินทางสูงมาก และมีศักยภาพในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สูง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม จึงน่าจะเป็นทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดมิเนียมกันมากแห่งหนึ่งในอนาคต รอเพียงรถไฟฟ้าสายสีเหลืองกับสายสีส้มเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูล นิตยสาร Builder Vol.34 AUGUST 2016

ค้นหาแรงบันดาลใจ ตอบโจทย์ ตรงจุด ชีวิตคนเมือง มองโลกใหม่ในอีกมิติที่คุณไม่เคยสัมผัสที่ GEN-C Urban Living Solutions
Facebook: Ananda Development
Instagram: ananda_development
Youtube: Ananda Development

Related Posts

Leave a Comment

Categories

Recent Posts

Popular Tags

Scroll to Top